ฟาร์มหมูแห่ร่วมโครงการผลิตก๊าซชีวภาพ กองทุนเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานหนุนเต็มที่

พุธ ๒๑ มิถุนายน ๒๐๐๐ ๐๙:๔๕
กรุงเทพฯ--21 มิ.ย.--ศูนย์ประชาสัมพันธ์รวมพลังหาร 2
ฟาร์มหมูขนาดใหญ่สนใจแห่เข้าร่วมโครงการผลิตก๊าซชีวภาพขนาดใหญ่ ได้ทั้งพลังงานและขจัดปัญหาสิ่งแวดล้อม กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานหนุนเต็มที่ ตั้งเป้า 40,000 ลูกบาศก์เมตร ปี 43 ใช้งบ 101 ล้านบาท
ดร.พงษ์พิสิฏฐ์ วิเศษกุล ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์พลังงานและพลังงาน ทดแทน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) เปิดเผยว่า ตามที่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้ให้การสนับสนุนหน่วยบริการก๊าซชีวภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่งเสริมระบบก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ระยะที่ 1 จำนวน 10,000 ลบ.ม. จำนวนทั้งสิ้น 6 บ่อ ได้ประสบผลสำเร็จอย่างดีทั้งด้านเทคโนโลยีและความร่วมมือของฟาร์ม รวมทั้งผลประโยชน์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในระยะที่ 2 นี้ จึงขยายโครงการเป็น 40,000 ลบ.ม. ด้วยงบประมาณ 101 ล้านบาท ซึ่งได้รับผลเกินคาด เนื่องจากได้รับความสนใจจากเจ้าของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่ถึง 12 ฟาร์มแล้ว รวมเป็นปริมาณ 33,000 ลบ.ม.
รวมทั้งหมดแล้วจะมีระบบก๊าซชีวภาพจากฟาร์มขนาดใหญ่ 50,000 ลบ.ม. ภายในปี 2543 นี้ ซึ่งจะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 9 ล้าน ลบ.ม./ปี ทดแทนการใช้ก๊าซหุงต้มได้ 4 ล้าน กก./ปี ได้ปุ๋ยอินทรีย์ 20,000 ตัน/ปี นอกจากนี้ยังแก้ปัญหาเรื่องน้ำเสียได้ถึง 98% ลดปัญหากลิ่นและแมลงวันได้ 80% และลดปริมาณก๊าซมีเทนที่ปล่อยสู่บรรยากาศได้ถึงปีละ 6,500 ตัน
"กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้สนับสนุนให้หน่วยบริการก๊าซ ชีวภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ดำเนินการส่งเสริมฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดกลางและใหญ่ ให้สามารถนำเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพไปประยุกต์ใช้กับกิจการของฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุน พร้อมทั้งให้ความรู้ความเข้าใจในการผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียในภาคเกษตรกรรม เช่น มูลหมู มูลไก่ และมูลวัว เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ โดยปัจจุบันได้ก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพไปแล้วใน18 ฟาร์ม ในหลายพื้นที่ เช่น ราชบุรี นครราชสีมา เชียงใหม่ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อุบลราชธานี" ดร.พงษ์พิสิฏฐ์ กล่าว
สำหรับฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการในระยะที่ 2 มีแล้วทั้งหมด 12 ฟาร์ม ได้แก่
1.เค.พี.เค ฟาร์ม ราชบุรี
2.ฟาร์มคณาไฮบริด นครราชสีมา
3.เอสพีเอ็มฟาร์ม ราชบุรี
4.บุญมีฟาร์ม ราชบุรี
5.เอสพีเอ็มฟาร์ม2 ราชบุรี
6.หนองบัวฟาร์ม ราชบุรี
7.กิตติวัฒน์ฟาร์ม เชียงใหม่
8.จีรศักดิ์ฟาร์ม อุบลราชธานี
9.เอสพีเอฟฟาร์ม ปราจีนบุรี
10.ธารเกษมฟาร์ม สระบุรี
11.ไร่ส้มสุกิจฟาร์ม ราชบุรี
12.โสภณเลเยอร์ฟาร์ม ฉะเชิงเทรา
ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดกลางและใหญ่ ที่มีสุกร 6,000 ตัวขึ้นไป ที่สนใจเข้าร่วมโครงการผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งกองทุนฯจะให้ความช่วยเหลือประมาณ 30% สามารถ ติดต่อขอคำปรึกษาด้านเทคโนโลยีได้ที่ หน่วยบริการก๊าซชีวภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร. (053) 948196-8 ตู้ ป.ณ.289 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50202 หรือ www.chmai.loxinfo.co.th/~bau/bau.html หรือ E-mail : [email protected]
ศูนย์ประชาสัมพันธ์รวมพลังหาร 2 โทรศัพท์ 6121555 ต่อ 201-5 โทรสาร 6121368 121/1-2 ถ.เพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 www.nepo.go.th-- จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ