กรุงเทพฯ--29 พ.ค.--ตลท.
นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์
ประจำเดือนพฤษภาคม 2543 มีรายละเอียดดังนี้
1) ขยายเวลาการลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนประเภทหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และ หน่วยลงทุน
คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์อนุมัติให้ขยายระยะเวลาการลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนประเภทหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ
และหน่วยลงทุน จากกำหนดเดิมออกไปอีก 1 ปี คือ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 ถึง 30 มิถุนายน 2544 เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายแก่บริษัท
จดทะเบียนในปัจจุบันซึ่งเพิ่งเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจ และส่งเสริมนโยบายการเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีรายละเอียด
การลดหย่อนค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
ปรับค่าธรรมเนียมการยื่นขอรับหลักทรัพย์ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปีของหลักทรัพย์หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ ลดลงจากเดิม
ในอัตราร้อยละ 30 ลดค่าธรรมเนียมสูงสุดจาก 6 ล้านบาท เหลือ 4 ล้านบาท ปรับค่าธรรมเนียมรายปีของหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุน ลดลงจาก
เดิมในอัตราร้อยละ 5 และให้ค่าลดหย่อน เพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษอีกร้อยละ 7-15 ของอัตราค่าธรรมเนียมรายปีเดิม แก่บริษัทจดทะเบียนที่จัดตั้ง
คณะกรรมการตรวจสอบแล้วเสร็จ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบกำกับดูแลกิจการที่ดี (ดูรายละเอียดในเอกสารแนบ)
2) แก้ไขข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทสมาชิก คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์อนุมัติการแก้ไขข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์
ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทสมาชิก ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงานของบริษัทสมาชิก ดังนี้
2.1) ยกเลิกข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการ
ระหว่างสมาชิกและลูกค้า โดยเห็นควรให้สมาชิกใช้มาตรฐานการปฎิบัติงานด้านธุรกิจหลักทรัพย์ที่มีอยู่ในปัจจุบันมาปรับใช้กับลูกค้าในกรณีการซื้อขาย
หลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์จะมีแนวทางให้สมาชิกทราบถึงประเด็นที่ควรคำนึงถึงและลักษณะของความเสี่ยงต่าง ๆ ที่
อาจเกิดขึ้น ซึ่งสมาชิกสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบในการกำหนดแนวทางปฎิบัติงานที่เหมาะสมกับลูกค้าของตนได้
2.2) แก้ไขข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ เรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทมาร์จิ้น ให้ครอบคลุมเฉพาะ
เรื่องอัตรามาร์จิ้นที่ต้องดำรงไว้ (Maintenance Margin), การคำนวณและการดำเนินการเรียกให้ลูกค้าวางหลักประกันเพิ่มเติม (Margin Call),
อัตรา การคำนวณ และการดำเนินการเรื่องการบังคับขาย บังคับซื้อ (Forced Sale/Forced Buy) และระเบียบการจัดส่งรายงานให้ตลาดหลักทรัพย์
ส่วน หลักเกณฑ์อื่น ๆ เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทมาร์จิ้น ให้สมาชิกปฎิบัติตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ซึ่งจะทำให้สมาชิก
มีแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินงาน
2.3) ยกเลิกข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ที่กำหนดให้บริษัทสมาชิกต้องขอความเห็นชอบจากตลาดหลักทรัพย์ ในกรณีที่จะมีผู้ถือหุ้นรายใด
รายหนึ่งถือหุ้นในบริษัทเกินกว่าร้อยละ 25 ของทุนชำระแล้วและมีส่วนร่วมในการบริหาร เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของทางการในการเปิดเสรีการ
ทำธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ แต่ทั้งนี้บริษัทสมาชิกยังคงต้องปฎิบัติตามประกาศของกระทรวงการคลัง ที่กำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ที่จะ
มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เกินกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งหมด ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงานคณะ
กรรมการ ก.ล.ต.
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์จะนำรายละเอียดการแก้ไขข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ตามข้อ 2.1) และ 2.2) ไปรับฟังความคิดเห็นจากบริษัท
สมาชิกก่อนประกาศใช้ ส่วนการยกเลิกข้อบังคับตามข้อ 2.3) ตลาดหลักทรัพย์จะเสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
3) อนุมัติโครงการพัฒนาระบบรับส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ทางอินเทอร์เน็ตเพื่อให้บริการแก่บริษัทสมาชิก (Internet Trading
Platform)
คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์อนุมัติให้ตลาดหลักทรัพย์จัดทำโครงการพัฒนาระบบรับส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ทางอินเทอร์เน็ต (Internet
Trading Platform) เพื่อให้บริการแก่บริษัทสมาชิกที่สนใจดำเนินธุรกิจด้านอินเทอร์เน็ต เทรดดิ้ง โครงการดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงและ
ค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนของสมาชิกแต่ละรายในการพัฒนาระบบเพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยตนเอง โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกทุก
รายที่สนใจมาร่วมใช้บริการได้โดยทัดเทียมกัน ผ่านเครือข่ายกลางที่ตลาดหลักทรัพย์พัฒนาขึ้นซึ่งมีเสถียรภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพสูง
อันจะช่วยลดต้นทุนแก่ธุรกิจหลักทรัพย์ในภาพรวม
ทั้งนี้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ได้อนุมัติให้ตลาดหลักทรัพย์จัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ เพื่อดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวในลักษณะ
Service Company ที่แยกเป็นอิสระ เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน โดยมีบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความชำนาญและประสบการณ์
เป็นผู้ร่วมทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างทันท่วงที
ในภาวะที่เทคโนโลยีสื่อสารมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว บริษัทใหม่ดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะพัฒนาต่อไปเป็นศูนย์กลางให้บริการด้านเทคโนโลยีสาร
สนเทศสำหรับธุรกิจหลักทรัพย์ ด้วยระดับราคาและบริการที่ได้มาตรฐาน มีระบบงานที่มีเสถียรภาพและความปลอดภัยสูง โดยในเบื้องต้นจะให้
บริการด้านอินเทอร์เน็ต เทรดดิ้ง และจะขยายขอบเขตงานให้ครอบคลุมงานบริการส่วนหลัง (Back Office) ของสมาชิกเป็นลำดับต่อไป
นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมให้ตลาดทุนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ยังเห็นชอบ
สนับสนุนให้มีการศึกษา วิจัย และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดทุน การลงทุนในหลักทรัพย์อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้อง
ในการกำหนดนโยบาย และ เป็นประโยชน์แก่ผู้ลงทุนในการตัดสินใจลงทุนบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง โดยให้ตลาดหลักทรัพย์ประสานงาน
กับหน่วยงานต่าง ๆ ในตลาดทุนไทยเพื่อจัดให้มีกิจกรรมดังกล่าวต่อไป
เอกสารแนบ
อัตราค่าธรรมเนียมในการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนประเภทหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หน่วยลงทุน มีผลตั้งแต่บัดนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2544
=============================================================================================================================
ประเภทค่าธรรมเนียม หุ้นสามัญ และ หุ้นบุริมสิทธิ หน่วยลงทุน
อัตราเดิม อัตราลดหย่อน อัตราเดิม อัตราลดหย่อน
=============================================================================================================================
1) ค่าธรรมเนียมยื่นคำขอ 150,000 105,000 60,000 60,000
2) ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 0.06% ของทุนชำระแล้ว (0.06% ของทุนชำระแล้ว)X 0.7 0.05% ของมูลค่า 0.05% ของมูลค่า
ต่ำสุด = 100,000 ต่ำสุด = 70,000 ต่ำสุด 100,000 ต่ำสุด 100,000
สูงสุด = 6,000,000 สูงสุด = 4,000,000 สูงสุด 500,000 สูงสุด 500,000
3) ค่าธรรมเนียมรายปี ** 60,000 + 0.05% ของ (60,000+0.05% ของทุนชำระแล้ว) 60,000 + 0.02 %ของมูลค่า (60,000 + 0.02%ของมูลค่า)
ทุนชำระแล้ว X 0.7** X 0.95
ต่ำสุด = 100,000 ต่ำสุด = 70,000 ต่ำสุด = 100,000 ต่ำสุด 95,000
สูงสุด = 6,000,000 สูงสุด = 4,000,000 สูงสุด = 500,000 สูงสุด 475,000
==============================================================================================================================
หมายเหตุ **สำหรับบริษัทจดทะเบียนที่จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ตลาดหลักทรัพย์จะให้ค่าลดหย่อนเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษอีกในอัตราร้อยละ 7-15 ของอัตรา
ค่าธรรมเนียมรายปีเดิม
==============================================================================================================================