กรมธนารักษ์มอบพื้นที่ให้กทม. สร้างสวนสาธารณะเพิ่มปอดแห่งใหม่แก่ประชาชน

ศุกร์ ๒๑ กรกฎาคม ๒๐๐๐ ๐๙:๕๙
กรุงเทพฯ--21 ก.ค.--กทม.
เมื่อวานนี้ (20 ก.ค. 43) เวลา 13.30 น. บริเวณซอยจรัญสนิทวงศ์ 72 ดร.พิจิตต รัตตกุล รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพ-มหานคร เป็นประธานในพิธีรับมอบพื้นที่ราชพัสดุจาก นายมานิต วิทยาเต็ม อธิบดีกรมธนารักษ์ จากนั้นได้ปลูกต้นไม้บนเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 72 ตารางวา (572 ตารางวา) บริเวณซอยซอยจรัญสนิทวงศ์ 72 ซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดสร้างสวนสาธารณะสำหรับประชาชนในเขตบางพลัด และใกล้เคียงได้พักผ่อนหย่อนใจ รวมทั้งออกกำลังกาย พร้อมกันนี้ทั้ง 2 หน่วยงานได้ประกาศเจตนารมย์ร่วมกันตั้งชื่อสวนแห่งนี้ว่า “สวนธนารักษ์” ด้วย
ดร.พิจิตต กล่าวว่า เป็นที่น่ายินดีที่เขตบางพลัดได้รับความกรุณาจากกรมธนารักษ์มอบที่ดินของกรมธนารักษ์ให้กทม. สร้างเป็นสวนสาธารณะ ซึ่งหากคิดเป็นจำนวนเงินนั้นมีค่ามาก เนื่องจากเป็นเจตนารมย์ที่ต้องการให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีสถานที่ไว้พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย ซึ่งการจัดสร้างสวนสาธารณะในเมืองเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อันจะมีผลทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โอกาสนี้ตนขอเชิญชวนประชาชนได้ออกมาใช้สวนสาธารณะดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุด และขอความร่วมมือทุกท่านช่วยกันดูแลสวนสาธารณะแห่งนี้ด้วย--จบ--
-นศ-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ