คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ นำร่องสู่ภาคใต้ เปิดภาคเรียนแรกปีการศึกษา 2544

ศุกร์ ๐๙ มีนาคม ๒๐๐๑ ๑๐:๓๙
กรุงเทพฯ--9 มี.ค.--กทม.
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนองนโยบายมหาวิทยาลัย ขยายการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาไปสู่ภูมิภาค เปิดสอนหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาบัณฑิต ในสาขาสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ สาขาสังคมสงเคราะห์ ทางการศึกษา และสาขาสังคมสงเคราะห์ในกระบวนการยุติธรรม ที่จังหวัดนราธิวาส ในปีการศึกษา 2544
รองศาสตราจารย์ ดร.นริศ ชัยสูตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยความคืบหน้าของ โครงการขยายโอกาสทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยว่า ตามที่มหาวิทยาลัยมีนโยบายจะขยายวิทยาเขตไปยังจังหวัดนราธิวาส ซึ่งปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้รับการจัดสรรพื้นที่จากจังหวัดนราธิวาส จำนวน 2 แปลง คือ
แปลงที่ 1 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศใต้ 10 กิโลเมตร
แปลงที่ 2 ตั้งอยู่ที่ตำบลนานาค อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เนื้อที่ประมาณ 3,300 ไร่ ห่างจากอำเภอเมือง ประมาณ 48 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ประมาณ 17 กิโลเมตร
มหาวิทยาลัยเห็นว่า เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณที่ไม่ได้รับการจัดสรร หากขยายการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ไปในระยะแรกจะประสบปัญหาอย่างมาก จึงเห็นควรจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทก่อน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้วางแผนจะ เปิดสอนหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต ของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปีการศึกษา 2544 เพื่อเป็นโครงการนำร่องนำไปสู่ ระดับปริญญาตรีต่อไป
รองศาสตราจารย์ นงลักษณ์ เอมประดิษฐ์ คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ได้ตอบรับนโยบายของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการเตรียมการไปเปิดโครงการพิเศษ ระดับปริญญาโท หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต ในสาขาสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ สาขาสังคมสงเคราะห์ทางการศึกษา และสาขาสังคมสงเคราะห์ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งนอกจากเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาไปยังภูมิภาคแล้ว ยังเปิดโอกาสให้บุคคล ที่สนใจ หรือผู้ที่ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ ได้เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติงาน อันจะทำให้มีโลกทัศน์ที่กว้างขวางมากขึ้น และยังสามารถนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับไปพัฒนาศักยภาพ การบริหารงาน ด้านสังคมสงเคราะห์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมโดยรวม การบริหาร โครงการหลักสูตรดังกล่าวจะเป็นลักษณะโครงการพิเศษ โดยศึกษาตลอดหลักสูตร 54 หน่วยกิต ซึ่งจะใช้หลักสูตรเดียวกับที่เปิดสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ทุกประการ และคาดว่าจะเปิดรับนักศึกษาเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2544 จำนวน 75 คน (จากการสำรวจมีผู้ประสงค์จะเข้าศึกษาจำนวนเกือบ 250 คน) โดยคาดว่าจะเปิดการเรียนการสอนในเดือนเมษายน 2544 ซึ่งจะใช้สถานที่ที่โรงแรมปริ๊นเซส จังหวัดนราธิวาส จัดการเรียนการสอนและดำเนินงาน ส่วนด้านความพร้อมของอาจารย์ผู้สอน นอกจากจะเป็นอาจารย์จากทั้ง 3 สาขาแล้ว ทางคณะฯ จะเชิญอาจารย์พิเศษซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จากทั้งในกรุงเทพมหานคร และ ในพื้นที่เข้ามาร่วมบรรยายด้วย โดยประยุกต์องค์ความรู้ให้สอดคล้องกับภูมิปัญญา ท้องถิ่น คณะฯ จึงคิดว่ามีความพร้อมที่จะเป็นคณะแรกนำร่องไปสู่จังหวัดนราธิวาส--จบ--
-นห-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ