Dell'Oro ชี้นอร์เทล เน็ทเวิร์คส์ยังเป็นผู้นำด้านอีเธอร์เน็ต สวิตชิ่ง

อังคาร ๒๒ พฤษภาคม ๒๐๐๑ ๑๔:๓๕
ข้อมูลประกอบการสัมภาษณ์
เรื่อง "แก้วิกฤตเศรษฐกิจไทย…สู่การเร่งส่งออก"
โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรายการกรองสถานการณ์ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 11
วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม 2544
ข้อ 2. ขอย้อนไปที่สภาพเศรษฐกิจของประเทศขณะนี้ เป็นอย่างไร มีส่วนใดที่น่าห่วงบ้าง
แนวคำตอบ
ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่องจากปลายปีที่แล้ว ตามการหดตัวของการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงมากจากที่ขยายตัว ร้อยละ 4.8 ในปีก่อน คาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 3.2 ในปีนี้ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย เศรษฐกิจจะมีอัตราการขยายตัวเพียงร้อยละ 1.5 และ 0.6 เท่านั้น
จากสภาพการชะลอตัวดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ปรับลดประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปีนี้จากร้อยละ 4.0 - 4.5 เป็นร้อยละ 3.5 - 4.0 เมื่อเดือนมีนาคม และขณะนี้ได้มีการทบทวนสถานการณ์เศรษฐกิจใหม่ ซึ่งคาดว่าอาจจะมีการปรับลดประมาณการอีกครั้งในเร็
สิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้ มี 2 ประเด็นใหญ่ ๆ คือ 1. การลดลงของการส่งออก 2. ความล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
ประการแรก การลดลงของการส่งออก ซึ่งในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.8 มีมูลค่า 16,567 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หากการส่งออกไม่สามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ก็จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย เนื่องจากประมาณ 55% ของ GDP มาจากการส่งออก
ประเด็นที่สอง ความล่าช้าของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2544 ซึ่งขณะนี้มีการเบิกจ่ายไปเพียง 49 % เท่านั้น ซึ่งความล่าช้าดังกล่าวจะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศโดยตรง
ข้อ 3. ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจบ้านเราขณะนี้ ส่งผลกระทบมากแค่ไหน อย่างไร
แนวคำตอบ
ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจบ้านเราขณะนี้เกิดจากปัจจัยภายนอกเป็นสำคัญ นั่นคือ เศรษฐกิจชะลอตัวไปทั่วโลกทั้งสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และประเทศในภูมิภาคเอเซีย และการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงเพราะเราเริ่มจะฟื้นจากวิกฤตที่เกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อน และยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจก็ยังมิได้ส่งผลกระทบอะไรมากนัก เพราะ แม้ว่าการส่งออกจะลดลงจนส่งผลต่อเนื่องถึงการลงทุนและการใช้จ่ายของภาคเอกชนชะลอลงบ้าง แต่รายได้จากการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ดีและช่วยให้ดุลบัญชีเกินสะพัดยังคงเกินดุล ในส่วนของระดับราคาสินค้านั้น แม้ราคาน้ำมันจะสูงขึ้นก็มิได้ทำให้ราคาสินค้าขยับขึ้นมากนัก เพราะการแข่งขันในระดับบริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ยังมีอยู่สูง จึงทำให้ราคาสินค้ายังคงทรงตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ และรัฐบาลยังดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ในหลายด้าน เช่น การชดเชยราคาน้ำมันให้กับผู้ผลิตในสาขาเกษตร ประมง และขนส่ง ให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยปรับลดราคาน้ำมันขายปลีกลง เพื่อฉุดให้ราคาน้ำมันในตลาดไม่สูงขึ้นเร็วนัก และสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน เช่น เอธานอล และไบโอดีเซล เป็นต้น
ข้อ 4. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญมีอะไรบ้าง กำหนดไว้อย่างไรทั้งระยะสั้นและระยะยาว
แนวคำตอบ
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาล มีดังนี้
มาตรการระยะสั้น
1. การเร่งรัดการส่งออก โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ส่งออกหาตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ส่งเสริมการส่งออกธุรกิจบริการที่ไทยมีศักยภาพ เช่น ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจด้านความงามและสุขภาพ เป็นต้น รวมทั้งเจรจากับประเทศคู่ค้าเพื่อขยายการค้าและขจัดปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่ทำให้การส่งออกล่าช้า
2. ปรับการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายปี 2544 ไปสู่โครงการที่จะสร้างรายได้แก่ประชาชนมากขึ้น ได้แก่ การพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แห่งละ 1 ล้านบาท โครงการรักษาพยาบาล 30 บาท ต่อครั้ง เป็นต้น
3. เพิ่มการขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2545 จาก 2.7% ของ GDP เป็น 5% หรือจาก 150,000 ล้านบาท เป็น 200,000 ล้านบาท
4. การออกพันธบัตร (People Bond) มูลค่า 50,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินมาบรรเทาปัญหาการว่างงาน
5. การจัดตั้งกองทุนร่วม Matching Fund ระหว่างรัฐบาล 25% และเอกชนต่างประเทศ 75% เพื่อทำหน้าที่ลงทุนในตลาดหุ้น และลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพ
6. เลื่อนการเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ออกไปอีก 2 ปี (ถึง 30 กันยายน 2546) เพื่อให้ประชาชนมีอำนาจซื้อและมีการใช้จ่ายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
7. เร่งรัดการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (TAMC) เพื่อเร่งการประนอมหนี้และฟื้นฟูกิจการธุรกิจต่าง ๆ ให้มีศักยภาพกลับมาสร้างผลผลิตในระบบเศรษฐกิจต่อไป
8. ปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตในสินค้าสุราและยาสูบ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้า และเป็นการเพิ่มรายได้ของรัฐ
มาตรการระยะยาว
1. ดำเนินโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อเร่งหารายได้เข้าประเทศ ซึ่งมีการดำเนินภายใน 2 มาตรการหลัก คือ
- มาตรการเร่งด่วนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่ การป้องกันและแก้ไขปัญหาแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม การอำนวยความสะดวกในการเข้าเมือง การส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนชนบท การแก้ไขปัญหาตลาดท่องเที่ยวจีน การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาการให้บริการ และกิจกรรมการท่องเที่ยว เป็นต้น
- มาตรการด้านการตลาดท่องเที่ยว เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การจัด Road Show การส่งเสริมไทยเที่ยวไทย
2. ดำเนินนโยบายรณรงค์ให้ใช้สินค้าไทย เพื่อลดการนำเข้าสินค้าจากต่าง
ประเทศและส่งเสริมให้เกิดรายได้ภายในประเทศ
3. มาตรการสนับสนุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยมาตรการ ดังนี้\ - ให้ผู้ซื้ออาคารหรือซื้อที่ดินเพื่อสร้างอาคาร นำเงินดาวน์หรือเงินค่าซื้อ
ทรัพย์สินดังกล่าวมาหักเป็นค่าลดหย่อนในการเสียภาษีได้
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กำหนดจะให้สินเชื่อในวงเงิน 100% ของราคาประเมินหรือตามราคาซื้อขาย สำหรับข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
4. สนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs ด้วยการขยายการให้สินเชื่อและค้ำประกัน
สินเชื่อใหักับ SME รวมทั้งเร่งจัดตั้งกองทุนเพื่อร่วมลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขยาดย่อม
5. เร่งปรับโครงสร้างการผลิตทั้งด้านอุตสาหกรรมและการเกษตร เพื่อให้ภาคเศรษฐกิจจริงฟื้นตัวขึ้น
ข้อ 9. ถ้าเศรษฐกิจของโลกยังชะลอตัวลงอีก เราจะมีมาตรการอะไรที่จะเสริมอย่างเร่งด่วนไหม
แนวคำตอบ
รัฐบาลได้ตระหนักและทราบอยู่แล้วว่าในปีนี้เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงกว่าปีที่แล้วมาก การจะพึ่งการส่งออกอย่างเดียวในการฟื้นเศรษฐกิจคงจะทำได้ลำบาก รัฐบาลจึงได้เร่งดำเนินมาตรการในหลาย ๆ ด้าน เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อย่างเช่น การเร่งการใช้จ่ายของภาครัฐ การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การพักหนี้เกษตรกร การจัดตั้ง TAMC เพื่อแก้ปัญหา NPL การแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ และการส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งหากมาตรการดังกล่าวสามารถดำเนินไปได้ตามแผนที่วางไว้ ก็คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างพอเพียง
ข้อ 13. อยากให้สรุปซักนิดว่า ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน และภาคราชการ จะต้องเดินหน้าไปอย่างไร ด้วยวิธีไหน ต้องร่วมมือกันอย่างไร เพื่อที่เราจะได้พ้นจากสภาพวิกฤตเช่นนี้
แนวคำตอบ
ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวไปทั่วโลก การที่จะพึ่งพาการส่งออกอย่างเดียวเพื่อหารายได้เข้าประเทศคงจะทำได้ไม่เต็มที่นัก ดังนั้น คนไทยทุกคนต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายในการช่วยให้ประเทศชาติผ่านพ้นจากวิกฤตและพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้โดยเร็ว
ภาคราชการ จะต้องเร่งการใช้จ่ายงบประมาณที่จะมีผลก่อให้เกิดรายได้ในประเทศและลดการนำเข้า โดยรัฐบาลมีนโยบายให้หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจลดการนำเข้า ลดการใช้ที่ปรึกษาจากต่างประเทศในโครงการต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ
ภาคธุรกิจ ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและให้ความสำคัญกับตลาดภายในประเทศมากขึ้น สร้างระบบการเชื่อมโยงการผลิตภายในประเทศและระบบเครือข่ายด้านการตลาดที่เข้มแข็ง รวมทั้งมีการประสานงานที่ดีกับภาครัฐ
ในส่วนของภาคประชาชน คนไทยต้องหันมาใช้สินค้าไทย ลดการใช้สินค้าฟุ่มเฟือย เพื่อลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และเป็นการเสริมสร้างระบบการผลิตการค้าภายในประเทศให้ขยายตัวและเข้มแข็งมากขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version