กรมควบคุมโรคติดต่อเตือนโรคปอดบวมในเด็กอาจรักษายากขึ้นเพราะเป็นเชื้อที่ดื้อยา

พุธ ๒๖ กรกฎาคม ๒๐๐๐ ๑๑:๐๗
กรุงเทพฯ--26 ก.ค.--กรมควบคุมโรคติดต่อ
แพทย์เตือนโรคปอดบวมในเด็กอาจรักษายากขึ้น เนื่องจากเป็นเชื้อที่ดื้อ ยาปฏิชีวนะตัวพื้นฐานคือ เพนนิซิลลิน และโคทรัยมอกซาโซน ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานของประชาชนเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดเล็กน้อย โดยอัตราการดื้อยา เพิ่มขึ้นจากเดิมกว่าร้อยละ 10 เหตุเพราะการใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ
น.พ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการกองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อแบคทีเรียต้นเหตุของโรคปอดบวม ว่า ปัจจุบันโรคปอดบวม ซึ่งเป็นสาเหตุ การตายของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มากเป็นอันดับ 1 ของสาเหตุการตายทั้งหมด โดยช่วงที่เด็กป่วยกันมาก มักเกิดในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งการป่วยเป็นโรคปอดบวมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกิดแทรกซ้อนมาจากการ ป่วยเป็นไข้หวัดก่อน
น.พ.ภาสกร กล่าวต่อว่า โดยทั่วไปเด็กจะเป็นหวัดได้ปีละ 6-8 ครั้ง เชื้อที่เป็นเหตุของไข้หวัดในเด็กกว่าร้อยละ 90 เกิดจากเชื้อไวรัส มีส่วนน้อยที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาการป่วยจะหายเองได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่ผู้ปกครองมักจะเกิดความวิตกกังวลเกรงว่าลูกจะเป็นมาก จึงนิยมซื้อยาปฏิชีวนะพื้นฐานที่รักษา โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจมากินเพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบ ที่นิยม ได้แก่ ยาเพนนิซิลลิน (Penicilin) และโคทรัยม็อกซาโซน (Cotrimoxazole) ปัจจุบันพบว่ามีอยู่ประมาณร้อยละ 47 สูงกว่าเป้าหมายที่กระทรวง สาธารณสุขกำหนด โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลเอกชน ยังพบว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะ สูงมาก อีกทั้งในท้องตลาดยังมียาแก้ไอที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะอยู่ ขณะที่ผลของการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสม จะทำให้เกิดปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยามากขึ้น โดยเฉพาะการดื้อยาเพนนิซิลลิน และโคทรัยม็อกซาโซน
“จากการติดตามสถานการณ์ดื้อยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 6 แห่ง ทั่วประเทศ ทุก 3 ปี ล่าสุดพบว่าอัตราการดื้อยา 2 ตัวนี้ ปรากฏเพิ่มขึ้นชัดเจนมาก โดยเฉพาะเชื้อสเต็บโตคอคคัสนิวโมเนีย ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียต้นเหตุของโรคปอดบวม มีการดื้อต่อยาโคทรัยม็อกซาโซนจากร้อยละ 36 ในปี 2537 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 56 ใน พ.ศ. 2540 และดื้อต่อยาเพนนิซิลินจากร้อยละ 72 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 86 ในปีเดียวกัน การดื้อยาของเชื้อตัวนี้จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเพราะจะทำให้แพทย์ต้องใช้ยาปฏิชีวนะสูงขึ้น และแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนวันหนึ่งจะไม่มียาใช้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยอีกจำนวนมากต้องเสียชีวิตในที่สุด”
น.พ.ภาสกร กล่าวด้วยว่า ขอให้ผู้ปกครองเด็กระมัดระวังในการใช้ยา แพทย์ผู้รักษาควรคำนึง ถึงปัญหาเหล่านี้ ควรใช้ยาปฏิชีวนะให้เหมาะสม และไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะในโรคหวัดอย่างพร่ำเพรื่อ โดยขาดการวิเคราะห์ที่เหมาะสม การป้องกันโรคหวัดที่ดีที่สุดก็คือการพักผ่อนที่ดี รับประทานอาหารที่มีคุณค่า และการออกกำลังกาย สามารถทำได้กับทุกเพศทุกวัย หากร่างกายเราแข็งแรงจะมีภูมิต้านทานโรคไม่ให้ติดเชื้อได้ง่าย--จบ--
-นศ-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version