กรุงเทพฯ--2 ก.ค.--ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้
ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย ได้จัดอันดับผู้จัดจำหน่ายตราสารหนี้ (Lead Underwriter) และ นายทะเบียนตราสารหนี้
(Registrar) ของตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชนที่ขึ้นทะเบียนในศูนย์ซื้อขายฯในรอบหกเดือนแรกของปี 2544 โดยใช้เกณฑ์วงเงิน
ที่ได้รับการจัดสรรจริง ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสถาบันการเงินที่เป็นผู้จัดจำหน่ายและนายทะเบียน โดยเผยแพร่เป็นรายไตรมาส
เริ่มตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา
ผู้จัดจำหน่ายตราสารหนี้ (Lead Underwriter) 5 อันดับแรกของตราสารหนี้ที่เป็นพันธบัตรรัฐวิสาหกิจและหุ้นกู้เอกชนที่มาจดทะเบียนจำนวน
ทั้งสิ้น 24 รายการ คิดเป็นจำนวนเงิน 58,048.80 ล้านบาทในช่วงหกเดือนแรก โดยอันดับหนึ่ง คือ ธนาคาร สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด จำกัด
จำนวน 6 รายการ คิดเป็นจำนวนเงิน 9,440 ล้านบาท อันดับสอง ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) จำนวน 5 รายการ
คิดเป็นจำนวนเงิน 8,950 ล้านบาท อันดับสาม ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด(มหาชน) จำนวน 5 รายการ คิดเป็นจำนวนเงิน
8,258.8 ล้านบาท อันดับสี่ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด(มหาชน) จำนวน 5 รายการ คิดเป็นจำนวนเงิน 6,800 ล้านบาท
และอันดับห้า ธนาคาร ออมสิน จำนวน 5 รายการ คิดเป็นจำนวนเงิน 5,850 ล้านบาท
สำหรับผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ที่ประมูลพันธบัตรรัฐวิสาหกิจได้ 5 อันดับแรกในช่วงหกเดือนแรกของปีนี้ ได้แก่
1.ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สัดส่วน 21.28%
2. ธนาคารออมสิน สัดส่วน 18.31%
3. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด จำกัด สัดส่วน 15.46%
4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) สัดส่วน 13.02% และ
5. ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด(มหาชน) สัดส่วน 9.39%
และผู้จัดจำหน่ายตราสารหนี้ที่เป็นหุ้นกู้เอกชน 5 อันดับแรกในช่วงเดียวกันนี้ ได้แก่
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) สัดส่วน 21.88%
2. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด จำกัด สัดส่วน 11.94%
3. ธนาคารดอยซ์แบงก์ เอจี สัดส่วน 11.67%
4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) สัดส่วน 10.88% และ
5. บล ซิตี้คอร์ป(ประเทศไทย) จำกัด สัดส่วน 8.62%
ในด้านการทำหน้าที่เป็นนายทะเบียน (Registrars) ของตราสารหนี้ทั้งสิ้นที่ขึ้นทะเบียนกับศูนย์ซื้อขายฯในช่วงหกเดือนแรก
ของปี 2544 นั้น ส่วนใหญ่เป็นธนาคารแห่งประเทศไทยโดยคิดเป็นจำนวนเงิน 400,309.28 ล้านบาท เนื่องจาก ธปท. ทำหน้าที่เป็น
นายทะเบียนตราสารหนี้ภาครัฐทั้งหมด ที่เหลือเป็นนายทะเบียนตราสารหนี้ที่เป็นภาคเอกชน โดยมีสัดส่วนเรียงตามลำดับดังนี้
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) สัดส่วน 36.19% ธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด(มหาชน) สัดส่วน 34.04%
3. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สัดส่วน 25.81% และ ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) สัดส่วน 3.97 %
ทั้งนี้ ตราสารหนี้ใหม่ที่ขึ้นทะเบียนกับศูนย์ซื้อขายฯในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2544 มีจำนวนทั้งสิ้น 451,432.13 ล้านบาท โดยแยก
เป็นพันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ จำนวน 169,460.48 ล้านบาท พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ จำนวน 31,948.80 ล้านบาท
ตั๋วเงินคลังและตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 198,900 ล้านบาท และหุ้นกู้ภาคเอกชน จำนวน 51,122.85 ล้านบาท
โดย ณ วันที่ 29 มิ.ย. 2544 มูลค่าคงค้างของตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนในศูนย์ซื้อขายฯมีจำนวน 1,420,384.080 ล้านบาท
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดของผลการจัดอันดับได้ที่ www.thaibdc.or.th ในหัวข้อ Top Underwriter & Registrar
หรือติดต่อ ฝ่ายตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย โทร. 252-3336 ต่อ 320-323
ตารางผลการจัดอันดับผู้จัดจำหน่ายตราสารหนี้ (Lead Underwriter) และ
นายทะเบียนตราสารหนี้ (Registrar) 5 อันดับแรกประจำครึ่งปีแรกของปี 2544
ของ ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย
ผู้จัดจำหน่ายตราสารหนี้(Lead Underwriter)
ตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน
ลำดับที่ ชื่อ จำนวนเงิน(ล้านบาท) จำนวนตราสารหนี้ สัดส่วน(%)
1 ธนาคาร สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด จำกัด 9,440.00 6 13.55
2 ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) 8,950.00 5 12.85
3 ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด(มหาชน) 8,258.80 5 11.86
4 ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด(มหาชน) 6,800.00 5 9.76
5 ธนาคาร ออมสิน 5,850.00 5 8.4
นายทะเบียนตราสารหนี้(Registrar)
ตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน
ลำดับที่ ชื่อ จำนวนเงิน(ล้านบาท) จำนวนตราสารหนี้ สัดส่วน(%)
1 ธนาคารแห่งประเทศไทย 183,459.28 36 78.21
2 ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) 18,500.00 2 7.89
3 ธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด(มหาชน) 17,400.00 6 7.42
4 บรรษัท เงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 13,192.85 5 5.62
5 ธนาคาร ทหารไทย จำกัด(มหาชน) 2,030.00 5 0.87
หมายเหตุ ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนของพันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ, พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน, ตั๋วเงินคลังและตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้--จบ--
-สส-