กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--กระทรวงสาธารณสุข
สงขลา/ นายแพทย์ปราชญ์ บุญยวงศ์วิโรจน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ ธาลัสซีเมียแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ที่โรงแรมเจบี หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ว่า ในปัจจุบันคนไทยประมาณ18-24 ล้านคน มียีนผิดปกติที่เรียกว่า เป็นพาหะของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ในแต่ละปีจึงมีเด็กเกิดใหม่ที่ป่วยเป็นโรคนี้ปีละประมาณ 12,000 ราย และจากข้อมูลของสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยที่ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินโครงการป้องกันและ ควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในเขตภาคเหนือ โดยเก็บข้อมูลจากโรงพยาบาลแม่และเด็ก โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 11 แห่ง พบหญิงมีครรภ์ที่มียีนผิดปกติเป็นพาหะของโรคคิดเป็น ร้อยละ 29 ของจำนวนที่ตรวจทั้งหมด และเมื่อทำการตรวจทารกในครรภ์ก่อนที่จะคลอดออกมา พบว่าทารกในครรภ์เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง จำนวน 91 ราย และพ่อแม่เด็กได้ตัดสินใจที่จะสิ้นสุดการตั้งครรภ์ทุกราย ทั้งนี้หากไม่มีการตรวจวินิจฉัยเช่นนี้ เด็กทั้ง 91 ราย ที่จะคลอดออกมานั้น จะต้องใช้งบประมาณในการรักษาพยาบาลประมาณ 10 ล้านบาท จึงเห็นได้ว่าการดำเนินงานดังกล่าว สามารถลดจำนวนทารกเกิดใหม่ที่เป็นโรค และลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้ทางหนึ่งด้วย--จบ--
-อน-
- เม.ย. ๒๕๖๘ กทม.ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขจัดโครงการ “รณรงค์รักษ์กรุงเทพ” เสริมสร้างพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม
- เม.ย. ๒๕๖๘ สธ.ห่วงใยปัญหาสุขภาพหากสถานการณ์การสู้รบในเขมรยังยืดเยื้อ
- ๑๗ เม.ย. 'เดชอิศม์' ระดมทันตแพทย์ มอบฟันเทียม 45,000 รายทั่วประเทศ เป็นของขวัญวันผู้สูงอายุ
- ๑๗ เม.ย. กรมอนามัย ย้ำ น้ำประปาที่ผ่านกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัย
- ๑๗ เม.ย. 'ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี