กรุงเทพฯ--21 ธ.ค.--ตลท.
นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการ
ตลาดหลักทรัพย์ เดือน ธันวาคม 2543 ดังนี้
1. อนุมัติหลักเกณฑ์การซื้อขายหลักทรัพย์ประเภท NVDR
ตามที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2543 มีมติอนุมัติให้ตลาดหลักทรัพย์จัดตั้งบริษัทย่อย คือ
บริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการออกตราสารประเภทใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย
(Non-Voting Depository Receipt : NVDR) สำหรับเป็นทางเลือกในการลงทุนของผู้ลงทุนโดยเฉพาะผู้ลงทุนต่างประเทศ และ
คณะกรรมการ ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2543 ได้ให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การรับและเพิกถอน NVDR การเปิดเผย
ข้อมูลของบริษัทผู้ออก NVDR และการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดตามที่ตลาดหลักทรัพย์นำเสนอนั้น
เพื่อให้การซื้อขายหลักทรัพย์ประเภท NVDR เป็นไปอย่างเหมาะสมและสะดวกในทางปฏิบัติ และเป็นธรรมต่อผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์มีมติเห็นชอบในหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภท NVDR การกำหนดสัดส่วนการถือครองและการรายงาน
ดังนี้
1. อนุญาตให้ผู้ลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ประเภท NVDR ได้
2. หลักเกณฑ์และขั้นตอนการซื้อขาย NVDR จะเหมือนกับการซื้อขายหลักทรัพย์อื่นทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ โดยไม่มีข้อจำกัดในการ
ซื้อขายทั้งบนกระดานหลักและการซื้อขายรายใหญ่ ทั้งนี้ ในการส่งคำสั่งซื้อขาย NVDR ให้ระบุเพิ่มเติมว่าเป็นการสั่งซื้อ/ขาย NVDR ของหลักทรัพย์ใด
3. เพื่อป้องกันปัญหาการครอบงำกิจการที่อาจเกิดขึ้นจากการมีบุคคลเข้ามาซื้อ NVDR ในหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง จึงให้กำหนด
ไว้ในหนังสือชี้ชวนซึ่งจะถือเป็นสัญญาระหว่างผู้ถือ NVDR กับบริษัทผู้ออก NVDR ดังนี้
3.1. ให้ผู้ถือ NVDR รายงานการถือครองหลักทรัพย์ต่อบริษัทผู้ออก NVDR ในกรณีมีการได้มาหรือจำหน่ายหุ้นรวมกับ NVDR
ทุก ๆ ร้อยละ 5 ของจำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการและให้สิทธิบริษัทผู้ออก NVDR รายงานต่อสาธารณชนโดยนำส่งข้อมูลให้
สำนักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ หากผู้ถือ NVDR ไม่รายงานข้อมูลดังกล่าว บริษัทผู้ออก NVDR สามารถปรับผู้ถือ NVDR ในอัตราเดียวกับบทกำหนดโทษ
ที่กำหนดไว้ในกรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรา 246 ของพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3.2. กำหนดสัดส่วนการถือครองของผู้ลงทุนแต่ละราย (Single Investor Limit) โดยผู้ลงทุนรายใดรายหนึ่งจะ
สามารถถือครองหุ้นรวมกับ NVDR ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหลักทรัพย์อ้างอิงที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการ ทั้งนี้ หากผู้ลงทุนถือ
NVDR เกินกว่าจำนวนที่กำหนด บริษัทผู้ออก NVDR มีสิทธิจะบังคับซื้อคืน NVDR ส่วนที่เกินได้
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์จะเร่งดำเนินการเพื่อให้ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ออก NVDR ทันที่ที่การแก้ไขประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ผู้ลงทุนใน NVDR ได้รับผลตอบแทนเช่นเดียวกับการลงทุนในหลักทรัพย์อื่นๆ ในตลาดหลักทรัพย์ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และคาดว่าจะ
เริ่มมีการออกและซื้อขายหลักทรัพย์ประเภท NVDR ประมาณไตรมาสแรกของปี 2544
2. ปรับปรุงโครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจดทะเบียน : ค่าธรรมเนียมในการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและการ
เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ได้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นการชั่วคราว เป็นเวลา 2 ปี คือ ตั้งแต่วันที่ 1
กรกฎาคม 2542 -30 มิถุนายน 2544 และบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ลดอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบริการการเป็น
นายทะเบียนหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เพื่อแบ่งเบาภาระของบริษัทจดทะเบียนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ดังนี้
- ลดค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับหลักทรัพย์จดทะเบียนประเภทหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ ของบริษัทจดทะเบียน
และบริษัทที่ยื่นคำขอ ในอัตราร้อยละ 30 และลดค่าธรรมเนียมขั้นสูงจากไม่เกิน 6 ล้านบาท เหลือไม่เกิน 4 ล้านบาท โดยมีส่วนลดพิเศษเป็น
การเพิ่มเติมให้แก่บริษัทจดทะเบียนที่ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) แล้วอีกร้อยละ 7-15 ตามขนาดของทุนชำระแล้ว และ
ยกเว้นไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมรับหุ้นเพิ่มทุน
- ลดค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับหน่วยลงทุน ในอัตราร้อยละ 5
- ลดค่าธรรมเนียมและค่าบริการการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ในอัตราร้อยละ 20
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันจะเริ่มฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้น แต่วิกฤตเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ
บริษัทจดทะเบียน และมีบริษัทจดทะเบียนบางแห่งยังอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ดังนั้น เพื่อให้ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการเป็นบริษัท
จดทะเบียน อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจและบริการของตลาดหลักทรัพย์และบริษัทย่อย ตลอดจนไม่เป็นภาระแก่บริษัท
จดทะเบียนจนเกินไป คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์จึงมีมติให้ปรับปรุงโครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมการเป็นหลักทรัพย์ จดทะเบียน และ
อัตราค่าธรรมเนียมการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ดังนี้
อัตราค่าธรรมเนียมการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1)
1) ค่าธรรมเนียมยื่นคำขอและค่าธรรมเนียมแรกเข้า
ค่าธรรมเนียมยื่นคำขอ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า
เดิม : 150,000 บาท 0.06% ของทุนชำระแล้ว โดยมีขั้นต่ำ 100,000 บาท ขั้นสูง 6 ล้านบาท
ใหม่ : 50,000 บาท 0.05% ของทุนชำระแล้ว โดยมีขั้นต่ำ 100,000 บาท ขั้นสูง 3 ล้านบาท
2) ค่าธรรมเนียมรายปี
เดิม : 60,000 บาท + 0.05% ของทุนชำระแล้ว โดยมีขั้นต่ำ 100,000 บาท ขั้นสูง 6 ล้านบาท
ใหม่ : 0.035% - 0.01% ของทุนชำระแล้ว(อัตราถดถอย) โดยมีขั้นต่ำ 50,000 บาท ขั้นสูง 3 ล้านบาท
อัตราค่าธรรมเนียมการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 2)
เดิม : อัตรา 400-520 บาท ของทุนจดทะเบียนทุก 1 ล้านบาท (อัตราถดถอย) โดยมีขั้นสูง 9 ล้านบาท
ใหม่ : อัตรา 260-480 บาท ของทุนจดทะเบียนทุก 1 ล้านบาท (อัตราถดถอย) โดยมีขั้นสูง 7 ล้านบาท
การใช้โครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมใหม่ดังกล่าว จะมีผลให้ค่าใช้จ่ายของบริษัทจดทะเบียนในส่วนของค่าธรรมเนียมราย
ปีลดลงจากอัตราเดิมเฉลี่ยถึงร้อยละ 50 และค่าธรรมเนียมการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ลดลงจากอัตราเดิมเฉลี่ยร้อยละ 16 นอกจากนี้
การใช้อัตราค่าธรรมเนียมแบบถดถอย (Regressive Rate) จะช่วยลดภาระของบริษัทจดทะเบียนในระยะยาว โดยบริษัทจดทะเบียนที่มี
การระดมทุนเพิ่มขึ้น ก็จะมีภาระค่าธรรมเนียมในอัตราที่ลดลง
ทั้งนี้ โครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมในการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนดังกล่าว จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป
สำหรับการยกเลิกการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการรับหุ้นเพิ่มทุน และโครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ จะมีผล
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
3. ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่เรียกเก็บจากบริษัทสมาชิก
คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์มีมติให้ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมที่ตลาดหลักทรัพย์เรียกเก็บจากบริษัทสมาชิก ในส่วนที่เป็นค่าธรรมเนียม
การซื้อขายหลักทรัพย์ (Trading Fee) เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของบริษัทสมาชิกภายใต้สภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ยังซบเซาอย่างต่อ
เนื่องในปัจจุบัน ดังนี้
ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (Trading fee)
================================================================================================
มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ อัตราค่าธรรมเนียม ส่วนลด (Incentive)
เฉลี่ยต่อวันทำการ * การซื้อขายหลักทรัพย์
================================================================================================
ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท 0.005% ของมูลค่าการซื้อขาย บริษัทสมาชิกที่มีมูลค่าการซื้อขายต่อเดือนตั้งแต่ 13,500
ไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท 0.004% ของมูลค่าการซื้อขาย ล้านบาทขึ้นไป จะได้รับส่วนลดค่าธรรมเนียม 20%
ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท 0.003% ของมูลค่าการซื้อขาย
================================================================================================
หมายเหตุ : * เป็นมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันทำการประจำเดือนนั้นๆ
ทั้งนี้ โครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าว ให้มีผลใช้เป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
ฝ่ายสารนิเทศ
โทร 229-2046 หรือ 229-2040 ถึง 2043
โทรสาร 359-1005-6
เอกสารแนบ 1
ค่าธรรมเนียมการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
(หน่วย : บาท)
=====================================================================================================
หลักทรัพย์ อัตราเดิม อัตราใหม่
=====================================================================================================
หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ
- ค่าธรรมเนียมยื่นคำขอ 150,000 50,000
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
- ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 0.06% ของทุนชำระแล้ว 0.05% ของทุนชำระแล้ว
ขั้นต่ำ 100,000 ขั้นต่ำ 100,000
ขั้นสูง 6,000,000 ขั้นสูง 3,000,000
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
- ค่าธรรมเนียมรายปี 60,000+0.05% ของทุนชำระแล้ว ผันแปรตามทุนชำระแล้วแบบถดถอย
ขั้นต่ำ 100,000 (Regressive rate) ดังนี้
ขั้นสูง 6,000,000 ทุนชำระแล้ว (ลบ.) = x อัตรา
x