เชิญตรวจสอบบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อเตรียมเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.

ศุกร์ ๑๖ มิถุนายน ๒๐๐๐ ๑๐:๐๒
กรุงเทพฯ--16 มิ.ย.--กทม.
นายกริชพงศ์ วัชรศิริธรรม ผู้อำนวยการกองปกครองและทะเบียน กทม. เปิดเผยว่า การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 23 ก.ค.43 นั้น เป็นการเลือกตั้งซึ่งยังคงใช้กฎหมายเก่า จึงมีข้อแตกต่างจากการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาซึ่งใช้กฎหมายใหม่บางประการคือ บัตรเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะไม่มีช่องทำเครื่องหมายสำหรับผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเหมือนบัตรเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ฉะนั้นหากผู้เลือกตั้งผู้ใดรับบัตรเลือกตั้งเพื่อลงคะแนนแล้วไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้คืนบัตรเลือกตั้งแก่กรรมการตรวจคะแนน เพื่อกรรมการตรวจคะแนนจะได้บันทึกการไม่ลงคะแนนนั้นไว้ในบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง และผู้เลือกตั้งผู้นั้นจะใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งนั้นอีกไม่ได้ นอกจากนี้การไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้เลือกตั้งไม่จำเป็นต้องพิมพ์ลายนิ้วมือลงในบัตรเลือกตั้ง เช่นการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาด้วย
สำหรับหลักฐานที่ผู้เลือกตั้งต้องใช้ในการแสดงตนต่อกรรมการตรวจคะแนนในวันเลือกตั้งคือ บัตรประจำตัวประชาชน สำหรับผู้เลือกตั้งซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย ให้ใช้หลักฐานดังต่อไปนี้
1. บัตรประจำตัวข้าราชการ ข้าราชการบำเหน็จบำนาญ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดเมืองพัทยา รองปลัดเมืองพัทยา พนักงานเมืองพัทยา พนักงานเทศบาล หรือพนักงานสุขาภิบาล
2. บัตรประจำตัวสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเมืองพัทยา สมาชิกสภาเทศบาล หรือกรรมการสุขาภิบาล
3. บัตรประจำตัวทหารกองประจำการ
4. บัตรประจำตัวลูกจ้างในสังกัดกระทรวงกลาโหม
5. บัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
6. บัตรประจำตัวกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล หรือสารวัตรกำนัน
7. บัตรประจำตัวกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือกรมการอิสลามประจำจังหวัด หรือ
8. หลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ซึ่งสามารถแสดงได้ว่า
ผู้เลือกตั้งเป็นบุคคลที่มีชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในกรณีที่ผู้เลือกตั้งนั้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย และไม่อาจมีบัตรตามข้อ 1-7
ทั้งนี้ผู้เลือกตั้งสามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุแล้วมาเป็นหลักฐานในการลงคะแนนได้ แต่สำหรับผู้ที่ใช้บัตรเหลืองเป็นหลักฐาน จะต้องเป็นบัตรเหลืองที่ยังไม่หมดอายุเท่านั้น สำหรับผู้ที่ยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรสูญหาย ขอให้ไปทำบัตรที่ฝ่ายทะเบียนของสำนักงานเขตที่มีชื่ออยู่ ประชาชนที่ไม่สะดวกที่จะทำบัตรฯ ในวันธรรมดา สำนักงานเขตต่าง ๆ เปิดบริการทำบัตรประจำตัวประชาชนทุกวันเสาร์อีกด้วย--จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ