นักฟิสิกส์หนุ่มไฟแรง….. “รัตติกร ยิ้มนิรัญ” ผู้มุ่งมั่นสร้างงานวิจัยที่เอื้อประโยชน์แก่ท้องถิ่น

ศุกร์ ๑๗ สิงหาคม ๒๐๐๑ ๑๑:๐๗
กรุงเทพฯ--17 ส.ค.--สสวท.
“ผมอยากทำงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อท้องถิ่น และช่วยพัฒนาท้องถิ่นให้ดีขึ้น” เป็นคำพูดของ รัตติกร ยิ้มนิรัญ ด๊อกเตอร์หนุ่มวัย 32 ปี ชาวจังหวัดชัยภูมิ ที่เพิ่งบินลัดฟ้ากลับมาจากอเมริกาหลังจากเรียนจบปริญญาเอกหมาด ๆ เมื่อต้นเดือน สิงหาคม 2544 ที่ผ่านมา
รัตติกร ยิ้มนิรัญ จบชั้น ม. ปลายจากโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จบปริญญาตรีด้านฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จบปริญญาโทด้านเดียวกันจากจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจบปริญญาเอกด้านวัสดุศาสตร์ (Materials Science and Engineering) วิชาเอก Ceramic Sciences จากมหาวิทยาลัยเพ็นซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และเพิ่งเข้าทำงานเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จุดแรกเริ่มของความสนใจวิทยาศาสตร์เกิดจากการอ่านนิตยสาร “มิติที่ 4” เมื่อครั้งที่เรียนชั้น ม. ต้นที่จังหวัดชัยภูมิ ทำให้เกิดความใฝ่ฝันอยากเป็นนักสำรวจอวกาศ และคิดว่าถ้าจะทำอย่างนั้นได้ต้องเป็นนักฟิสิกส์ พอได้รับทุน พสวท. จึงตั้งเป้าจะเรียนฟิสิกส์มาโดยตลอด ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาตั้งแต่ชั้น ม. ปลายจนถึงปริญญาเอก รัตติกรมีผลการเรียนที่โดดเด่นและได้รับรางวัลกว่าสิบรางวัลทั้งจาก องค์กรในประเทศไทยและต่างประเทศ
เมื่อครั้งที่เรียนปริญญาเอกที่อเมริกา รัตติกรมีผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการถึง 15 ฉบับ และมีโอกาสไปแสดงผลงานวิจัยนับครั้งไม่ถ้วน ครั้งที่ภูมิใจที่สุด คือ งานประชุมประจำปีของสมาคมเซรามิคอเมริกา (American Ceramic Socirty Annual Meeting) ในโอกาสครบรอบ 100 ปีของสมาคมดังกล่าวในปี ค.ศ. 1998 ซึ่งมีผู้คนหลายพันคนจากทั่วโลกเข้าร่วมการประชุม
ในงานนี้ผลงานของเขาได้รับรางวัล “Best Graduate Student Poster Award ” คัดเลือกจากโปสเตอร์ที่แสดงในงานประมาณ 300 ผลงานจากทั่วโลก ให้คะแนนทั้งด้านเนื้อหา วิธีการนำเสนอ และการตอบคำถามของเจ้าของผลงาน
รัตติกรเล่าถึงประสบการณ์ครั้งนั้นว่า “รางวัล Best Graduate Student Poster Award ถือเป็นความสำเร็จสูงสุดอย่างหนึ่งของนักเรียนที่อเมริกา สมาคมประกาศรางวัลในงานเลี้ยงตอนกลางคืน โดยประกาศให้ผู้ได้รับรางวัลยืนขึ้น แล้วคนสี่พันที่คนร่วมงานเลี้ยงก็ปรบมือให้ ซึ่งล้วนแต่เป็นโปรเฟสเซอร์ที่มีชื่อเสียงด้านเซรามิคจากทั่วโลกทั้งนั้น ก็รู้สึกดีใจและตื่นเต้นมาก”
แรงบันดาลใจจากอาจารย์ที่ปรึกษา โปรเฟสเซอร์โรเบิร์ต นิวแมน ก็มีส่วนทำให้รัตติกรเกิดความคิดที่จะพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น เขากล่าวว่า “ประทับใจในตัวอาจารย์ตรงที่เป็นนักวิทยาศาสตร์และ
เป็นวิศวกรที่มากด้วยความสามารถ เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำวิจัย เป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ที่ดีและเป็นมนุษย์ที่ดี และคิดอยู่เสมอว่าทำอย่างไรโลกถึงจะดีขึ้น อาจารย์กล่าวอยู่เสมอว่า ถ้าเราต้องการจะให้ คนอื่นเป็นอย่างไรหรือทำอะไร เราควรจะทำตัวอย่างนั้นให้เขาเห็นก่อน” ซึ่งรัตติกรนำมาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตและเป็นแนวทางในการทำงาน และมีความมุ่งมั่นว่าเมื่อเป็นอาจารย์ที่ มช. แล้ว เขาต้องการจะทำงานวิจัยที่น่าสนใจและสามารถพัฒนาท้องถิ่นให้ดีขึ้น
“เมืองไทยไม่ได้ต้องการงานวิจัยที่ไฮเทคมาก แต่ต้องการงานวิจัยที่ตอบสนองต่อปัญหาของท้องถิ่นและปัญหาของประเทศอย่างแท้จริง เป็นงานวิจัยที่อยู่ในทิศทางเดียวกันและไปสู่เป้าหมาย เดียวกันในภาพรวมของทั้งประเทศ ไม่ใช่ว่าอยากทำอะไรก็ทำแล้วนำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้ ไม่ต้องคิดว่าทำอย่างไรประเทศไทยถึงจะอยู่แถวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ แต่ควรจะคิดว่าทำอย่างไรประเทศไทยถึงจะอยู่รอดได้ด้วยตัวเอง ผลิตอะไรที่เป็นของตัวเอง ซึ่งต้องเริ่มจากงานวิจัยที่ดีในระดับหนึ่งแล้วค่อยแตกยอดออกไป”
ประสบการณ์การเป็นผู้ช่วยสอนในระยะเวลา 4-5 ปีที่เรียนปริญญาเอก ทำให้รัตติกรมีโอกาสได้ฝึกทักษะและได้เทคนิคการสอนมาไม่ใช่น้อย สิ่งหนึ่งที่รัตติกรตั้งใจจะทำเมื่อสอนที่ มช. คือ ฝึกให้ นักศึกษาได้แสดงผลงาน มีความกล้าในการนำเสนอ กล้าซักถามและลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง จะช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้และเข้าใจได้ดีกว่า
ซึ่งน่ายินดีว่าเมืองไทยจะมีนักฟิสิกส์หนุ่มไฟแรงมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเยาวชนของชาติ และคิดค้นงานวิจัยที่จะช่วยพัฒนาท้องถิ่นได้อีกแรง เป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของสถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในการสร้างนักวิทยาศาสตร์ที่มีอุดมการณ์แก่สังคมไทย--จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version