กรุงเทพมหานครจะจัดอบรมให้ประชาชนใช้แก๊สหุงต้มอย่างถูกวิธี

จันทร์ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๑ ๑๐:๔๕
กรุงเทพฯ--12 ก.พ.--กทม.
ที่ศาลาว่ากรุงเทพมหานคร น.พ.ปิยเมธิ ยอดเณร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมพิจารณาแนวทางที่ทำให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้แก็สหุ้งต้ม โดยมี น.พ.กฤษณ์ หิรัญรัศ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม.นายสมบรูณ์ อานิกวงศ์ชัย ผู้ตรวจราชการ 10 นายธงชัย สัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองอนามัยสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วยกองบังคับการตำรวจดับเพลิง กองบัญชาการตำรวจนครบาล , กรมโยธาธิการ ,การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย, บริษัทเวิลด์แก็ส (ประเทศไทย) จำกัด,บริษัท ยูนิคแก็ส จำกัด,บริษัท อุตสาหกรรมแก็สสยาม จำกัด, บริษัทอุตสาหกรรมแก็สยูเนียน จำกัด และผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุม
รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีความเห็นพ้องกันว่า ควรให้ความรู้ความเข้าใจต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยจากการใช้แก็สหุงต้มแก่ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องกับการใช้แก็สหุ้งต้ม โดยประมาณกลางเดือนมีนาคม ศกนี้จะจัดให้มีการอบรมแก่ประชาชนผู้ที่ใช้แก็ส ผู้ประกอบการค้าแก็ส ผู้ทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารบนโต๊ะอาหารบนบาทวิถี แต่ก่อนจัดอบรมดังกล่าว คือ ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ศกนี้ กทม.ร่วมกับกรมโยธาธิการ , บริษัทค้าแก็ส, กองบังคับการตำรวจดับเพลิง จะจัดอบรมวิทยากรของกรุงเทพมหานครก่อนซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม 2 คน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนอีก 1 คน จากทั้ง 50 สำนักงานเขตและผู้เกี่ยวข้องรวมประมาณ 200 คน เพื่อจะได้นำความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้แก็สอย่างถูกวิธี การป้องกันและระงับเหตุเมื่อเกิดอุบัติภัยจากการใช้แก็ส ฯลฯ ไปถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชนอีกต่อหนึ่ง อย่างไรก็ดี มาตรการต่างๆที่ราชการออกกฎหมายไปนั้นก็เพราะความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ส่วนการจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีที่ใช้แก็สหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงนั้น ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า หากสถานที่ดังกล่าวเป็นที่เปิดโล่งก็อาจจะอนุโลมให้ใช้ได้หรือหากจำเป็นจริงๆ ก็จะให้เปลี่ยนไปใช้เตาชนิดอื่น สำหรับการประกอบอาหารในร้านหรือห้องอาหาร ต้องตั้งวางถังแก็สและเตาให้ห่างกัน 2 เมตรตามที่กฎหมายกำหนดไว้
รองปลัดกทม.กล่าวอีกว่าสำหรับแก็สปิกนิค ที่ประชาชนใช้กันอยู่ตามบ้านเรือนหรือใช้ปรุงอาหารเป็นประจำวันนั้น เป็นการใช้ผิดประเภท เพราะทางบริษัทผู้ประกอบการแจ้งว่าแก็สประเภทนี้เป็นการใช้ชั่วครั้งชั่วคราว หรือเป็นการผลิตมาเพื่อให้แสงสว่าง ส่วนร้านจำหน่ายสุกี้นั้น กทม.ได้ออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครบังคับแก่สถานประกอบการดังกล่าวไว้ด้วย โดยกทม. แนะนำให้ผู้ประกอบการใช้เตาแบบไฟฟ้า ส่วนบางรายที่ใช้แก็สก็ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้--จบ--
-นศ-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม