สสวท.ร่วมประชุมด้านการศึกษาวิทย์ระดับชาติของอเมริกา

พุธ ๒๑ มีนาคม ๒๐๐๑ ๑๑:๓๔
กรุงเทพฯ--21 มี.ค.--สสวท.
สสวท. ร่วมประชุมการด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ระดับชาติของสหรัฐอเมริกา 49th National Convention ซึ่งจัดโดยสมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือ National Science Teachers Association (NSTA) ของประเทศดังกล่าว เพื่อหาแนวทางมาพัฒนาสื่อและกิจกรรมการสอนตาม พ.ร.บ.การศึกษาฉบับใหม่
ดร. นงนุช ชาญปริยาวาทีวงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แจ้งว่า นางนันทิยา บุญเคลือบ และนายพงษ์เทพ บุญศรีวิโรจน์ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สสวท. และคณะจะเดินทางไปร่วมประชุมวิชาการด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ระดับชาติของสหรัฐอเมริกา "49th National Convention" ระหว่างวันที่ 22-25 มีนาคม 2544 ณ เมืองเซนต์หลุยส์ มลรัฐมิสซูรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดโดยสมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งชาติหรือ National Science Teachers Association (NSTA) ของประเทศดังกล่าว
ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆ นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของ สสวท.ที่กำลังอยู่ในช่วงการปรับปรุงและพัฒนาสื่อ หนังสือเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542--จบ--
-นห-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ