คอมแพค เปิดตัวต้นแบบเทคโนโลยี PCI - X

พุธ ๑๓ ธันวาคม ๒๐๐๐ ๑๔:๓๗
กรุงเทพฯ--13 ธ.ค.--ซีดีเน็ตไทยแลนด์
คอมแพค เปิดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นแบบ ที่ใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบใหม่ "PCI - X" ซึ่งทางคอมแพค และ เฮชพี ร่วมกันพัฒนาขึ้น
หลักการของเทคโนโลยีดังกล่าว คือการขยายช่องทางเดินข้อมูลของระบบบัสแบบ PCI ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ให้กว้างขึ้นถึงสองเท่า โดยทางคอมแพค และ ฮิวเลตต์ - แพคการ์ด (เฮชพี) ได้เปิดตัวเทคโนโลยี PCI - X นี้ เป็นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายนปี 2541 และได้รับการรับรองจากยักษ์ใหญ่แห่งวงการคอมพิวเตอร์อย่างอินเทลว่า จะให้การสนับสนุนเทคโนโลยีนี้อย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการพัฒนาระบบ PCI - X นั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้า ในตอนแรกนั้นทางคอมแพคคาดว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้เทคโนโลยีนี้ จะสามารถออกสู่ตลาดได้ในราว ๆ ช่วงปี ค.ศ 1999 แต่จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้เสร็จสมบูรณ์ได้
สำหรับกำหนดการล่าสุด ทางคอมแพค และ เฮชพี คาดว่าจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยี PCI - X นี้ จนเสร็จสมบูรณ์ได้ภายในช่วงต้นปีหน้านี้อย่างแน่นอน
นอกจากนั้น ระบบ PCI - X จะสามารถทำความเร็วได้ที่ราว ๆ 100 เมกะเฮิรตซ์ เท่านั้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ทั้งสองบริษัทยืนยันว่ามันจะทำความเร็วได้ถึง 133 เมกะเฮิรตซ์--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ