กรุงเทพฯ--1 มี.ค.--พีอาร์ เน็ทเวิร์ค (PR NETWORK)
ในเทศกาลแห่งการฉลองครบรอบ 15 ปี โรงเรียนสอนดนตรีณัฐ และ ณัฐ สตูดิโอ ณัฐ ยนตรรักษ์ จัดคอนเสิร์ต PRIDE OF NAT STUDIO เพื่อเป็นการปิดการฉลอง ครบรอบ 15 ปี ของณัฐ สตูดิโอ และ โรงเรียนสอนดนตรีณัฐ ของปี 2001 นี้ และ รำลึกถึงคีตกวีโลก โชแปง โดยนำบทประพันธ์ของโชแปง คือ Preludes (บทเพลงสั้นๆซึ่งแต่ละบทจะมีคีตลักษณ์ หรืออารมณ์ของเพลงที่แตกต่างกันไปอย่างชัดเจน โดยแต่ละบทจะมีลักษณะและเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัว) ทั้ง24 บท ซึ่งแต่ละบทจะสะท้อนถึงอารมณ์ของผู้ประพันธ์ที่แตกต่างกันออกไปถึง 24 อารมณ์ Preludes บทที่ 1 กับบทที่ 2 และบทต่อๆมา จะมีความแตกต่างของทำนองค่อนข้างมาก กล่าวคือ จะได้ยินทำนองตอนต้น ตอนกลาง และ ตอนจบซึ่งแต่ละบทแต่ละตอนล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้เกิดความรู้สึกว่าบทเพลงชุดนี้ มีการดำเนินเรื่องราวเหมือนกับการเล่าเรื่องที่ชวนให้คนฟังติดตาม โดยทำนองตอนต้นในบทที่ 1 ให้ความรู้สึกถึงอารมณ์แปรปรวน ปั่นป่วน เหมือนคลื่นทะเลยักษ์ที่โหมกระหน่ำ และมีลมกรรโชกแรง แต่ขณะที่บทที่ 2 ให้ความรู้สึกถึงอารมณ์ที่ค่อยๆสงบลงลงอย่างช้าๆ และให้ความรู้สึกที่อ่อนหวานและลึกซึ้งฯลฯบทประพันธ์เหล่านี้แสดงออกถึงความเป็นอัจริยะของโชแปงได้เป็นอย่างดี ส่วนช่วงท้ายของคอนเสิร์ตเป็นการบรรเลงเปียโน 4 มือ ด้วยบทเพลงที่ทุกท่านคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
เฟรดเดอริค โชแปง เป็นนักประพันธ์เพลงและนักเปียโนชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1810 ณ เมืองเซลาโซวา โวลา ซึ่งอยู่ใกล้กับกรุงวอร์ซอร์เมืองหลวงของประเทศโปแลนด์ โชแปงเริ่มเรียนเปียโนกับอดาลเบิร์ต ซิวนี่ ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ด้วยความสามารถพิเศษทางด้านดนตรีที่ได้ปรากฏออกมาให้เห็นตั้งแต่วัยเยาว์ บิดาของโชแปงจึงส่งไปเรียนดนตรีกับโจเซฟ เอลสเนอร์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยดนตรีแห่งกรุงวอร์ซอร์ ต่อมาโชแปงก็ได้เข้ามาศึกษา ณ วิทยาลัยแห่งนี้ แม้ว่าจะเป็นชาวโปแลนด์โดยกำเนิด แต่โชแปงได้ใช้เวลาเกือบตลอดทั้งชีวิตอยู่ในปารีส และได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1849 ด้วยโรควัณโรค เมื่ออายุได้เพียง 39 ปี
ตลอดระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส โชแปงได้ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวทางการเมืองในโปแลนด์เสมอ นอกจากนี้ผลงานต่างๆของโชแปงมักมีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับประเทศบ้านเกิด ระยะเริ่มแรกของการประพันธ์เพลง โชแปงนำระบบเสียง จังหวะ และวรรคตอนของประโยคเพลงของโปแลนด์มาใช้ในการประพันธ์เพลง ทำให้บทเพลงของโชแปง มีความแตกต่างจากบทเพลงของนักประพันธ์เพลงคนอื่นๆ นั่นคือเป็นบทเพลงที่มีเอกลักษณ์ของตนเองอย่างโดดเด่น แม้ในระยะเริ่มแรกของการประพันธ์เพลงก็ตาม
ผลงานของโชแปงแทบทั้งหมดเป็นบทประพันธ์สำหรับเปียโน เนื่องจากดนตรีของโชแปงเป็นดนตรีที่แสดงออกถึงความรู้สึกโรแมนติก เต็มไปด้วยความสวยงาม และผ่านกลั่นกรองให้เป็นผลงานคุณภาพทั้งสิ้น ผลงานของโชแปงประกอบด้วย เปียโน คอนแชร์โต้ 2 บท ซึ่งโชแปงประพันธ์ขึ้นเพื่อใช้ในการแสดงคอนเสิร์ตของตนเอง และ เปียโน โซนาต้า 3 บท ซึ่งทั้ง คอนแชร์โต้ และ โซนาต้า จัดเป็นบทประพันธ์ขนาดใหญ่ของโชแปง นอกจากนี้โชแปงยังได้ประพันธ์ Preludes (บทเพลงสั้นๆซึ่งแต่ละบทจะมีเอกลักษณ์ หรืออารมณ์ของเพลงที่แตกต่างกันไปอย่างชัดเจน โดยไม่ซ้ำกันเลย) Ballades (เพลงที่มีเรื่องราว โดยมากจะเป็นเปียโน แต่โชแปงเคยบอกเล่าไว้ว่า ตนเพียงแต่ใช้เรื่องราวเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจเท่านั้น) นอกจากนี้โชแปงยังได้ประพันธ์ Waltzes, Scherzos,Impromptus (บทเพลงซึ่งให้ความรู้สึกคล้ายการบรรเลงสดโดยไม่มีการเตรียมล่วงหน้า) รวมทั้ง Etude ( แบบฝึกหัดเพื่อพัฒนาเทคนิคการเล่นเปียโนให้มีเอกลักษณ์ มีความน่าสนใจเฉพาะตัว และยังมีความไพเราะ นอกเหนือจากเทคนิคอันซับซ้อน ) เพื่อเป็นบทประพันธ์ที่ใช้แสดงเทคนิคต่างๆของการบรรเลงเปียโนที่มีคุณค่า
คอนเสิร์ต PRIDE OF NAT STUDIO ฉลอง 15 ปี ณัฐ สตูดิโอ และ รำลึกคีตกวีโลก โชแปง ผ่านบทประพันธ์ Preludes ทั้ง24 บท จะเป็นการแสดงศักยภาพและฝีมือของศิลปินรุ่นใหม่ คือคณะครูทั้ง12 คน ของโรงเรียนสอนดนตรีณัฐ ซึ่งได้สะสมประสบการณ์ตั้งแต่เป็นนักเรียนที่นี่ และยังมีปณิธานที่จะส่งต่อความรู้ของเขาไปยังคนรุ่นต่อไป เนื่องจากการเป็นครูเปียโนนั้น คงจะยากพอๆกับเป็นครูศิลปะแขนงอื่นๆ คือจะทำอย่างไรให้ศิษย์ประกอบไปด้วยเทคนิคที่มีพื้นฐานหยั่งรากลึกมั่นคง และยังสามารถจับแก่นสารของอารมณ์ในแต่ละบทเพลง ให้ได้สไตล์ของคีตกวีนั้นๆ อย่างไพเราะด้วย ศิลปินในวัยสดใสทั้ง 12 คนนี้ ท่านอาจจะเคยเห็นเขาเมื่อเขายังเป็นเด็กนักเรียน อาจจะเคยเห็นเขาสอน อาจจะเคยเห็นเขาโค้ชนักเรียนแข่ง อาจะเคยได้ยินนักเรียนเขาเล่น แต่ในคืนวันวันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2544 นี้เขาจะเป็นผู้แสดง และโรงเรียนภูมิใจยิ่งที่มีพวกเขาเหล่านี้ อัสยุช จำรูญ , ชัญพงศ์ ทองสว่าง, จรัญ ภูมิวนาดอน , จริงใจ ทองบริสุทธิ์, กรองทอง แย้มสะอาด, มนชยา มิตรไพบูลย์, นรีเนตร กุณฑลสุรกานต์, พีรพงศ์ สุวรรณ, เพียงพิมพ์ ทองสว่าง, พงศ์พูน พิบูลย์เกษตรกิจ, พูนวิไล พิริยะพงษ์รัตน์, และวันชนะ สมภักดี เป็นครูอยู่ในครอบครัวอันอบอุ่นของณัฐ สตูดิโอ
เชิญพบกับฝีมือการบรรเลงเปียโนโดยฝีมือของศิลปินรุ่นใหม่ทั้ง 12 คน ที่จะมาร่วมถ่ายทอด ความโรแมนติคและความไพเราะอันยากจะบรรยายจากบทประพันธ์ของ โชแปง ในคอนเสิร์ต PRIDE OF NAT STUDIO ซึ่งจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2544 เวลา 19.30 น ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย บัตรราคา 300 บาท สนใจจองบัตรได้ที่ โรงเรียนสอนดนตรีณัฐ และ ณัฐ สตูดิโอ โทร 541-8664,54138667
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
บจก. พีอาร์ เน็ทเวิร์ค (PR NETWORK)
เกษราภรณ์ อึ่งสกุล 01 344-9149 ,นัดดา ขัตวงษ์
โทร/ โทรสาร 611-7611 /611 -6351--จบ--
-อน-
- ๒๓ พ.ย. สถาบันดนตรี "เมโลดี้พลัส" ฉลองครบรอบปีที่ 19 จัดงาน "Unplugged Concert" เปิดเวทีโชว์ทักษะทางดนตรีให้นักเรียนได้ฉายแสงส่งท้ายปี
- พ.ย. ๒๕๖๗ สถาบันดนตรี "เมโลดี้พลัส" ฉลองก้าวสู่ปีที่ 19 อย่างยิ่งใหญ่ จัดงาน M Fest3 โชว์การ Featuring ครั้งแรกของนักเรียนร่วมกับศิลปินดัง Getsunova
- พ.ย. ๒๕๖๗ ECF จับมือ KPN Academy โรงเรียนสอนดนตรี KPN Music แบรนด์ดังเก่าแก่กว่า 20 ปี แตกไลน์ธุรกิจ สร้างการเติบโต