กรุงเทพฯ--19 ก.ย.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
"ที.เอ็น. อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์" (TNIS) ซิสเต็มส์ อินทิเกรเตอร์ชั้นนำในเมืองไทย ในเครือไทยสงวนวานิช คว้าชัยในโครงการติดตั้งระบบบัญชีการเงินและบริหารทรัพยากร หรือ FARMS: Financial Accounting and Resource Management System มูลค่า 184 ล้านบาท ให้กับองค์การโทรศัพท์แ ห่งประเทศไทย (ทศท.) เพื่อปรับปรุงระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อรองรับการแข่งขันในยุคเปิดเสรีทางด้านโทรคมนาคม
นายสุธรรม มลิลา ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) กล่าวในพิธีลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างระบบบัญชีการเงินและบริหารทรัพยากร หรือ FARMS: Financial Accounting and Resource Management System) มูลค่า 184 ล้านบาท ร่วมกับ บริษัท ที.เอ็น. อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์ จำกัด หรือ TNIS ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ว่า องค์การโทรศัพท์ฯ ได้ริเริ่มโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อที่จะปรับปรุงระบบบัญชีการเงิน ระบบจัดซื้อ จัดหา ระบบพัสดุ ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงานทรัพยากรบุคคลและระบบบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อพัฒนาเป็นระบบบัญชีการเงินและการบริหารทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับเป้าหมายการแปรรูปองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นบริษัทมหาชนในอนาคต โดยติดตั้งซอฟต์แวร์ SAP R/3 พร้อมปรับเปลี่ยนระบบงานและข้อมูลเดิมสู่ระบบงานใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ระบบ FARMS ประกอบด้วยระบบงานย่อย 11 ระบบ คือ ระบบบัญชีแยกประเภท (General Ledger) ระบบบัญชีลูกหนี้ (Accounts Receivable) ระบบเจ้าหนี้และการจ่ายเงิน (Accounts Payable) ระบบบริหารการคลัง (Cash Management) ระบบปันส่วนต้นทุน (Reallocation) ระบบจัดทำงบประมาณ (Budget Build) ระบบควบคุมงบประมาณ (Budget Control) ระบบสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) ระบบต้นทุนงาน (Project Costing) ระบบบริหารพัสดุ (Materials Management) และ ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management)
"ระบบ FARMS มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทศท. ในการเตรียมความพร้อมเพื่อปรับเปลี่ยนการบริหารงานองค์กรจาก "รัฐวิสาหกิจ" เป็น "บริษัท จำกัด" การมีระบบการเงินและบริหารทรัพยากรที่ดีจะช่วยเสริมศักยภาพให้ ทศท. มีความพร้อมสูงสุดในการแข่งขันทั้งตลาดภายในประเทศและในระดับสากล" นายสุธรรม กล่าวพร้อมกับเสริมว่า
การลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างครั้งนี้ ได้ผ่านการพิจารณาและเลือกสรรมาอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากบริษัทที่ได้รับเลือก คือ ที.เอ็น. อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์ มีความเชี่ยวชาญและผ่านประสบการณ์ด้านการติดตั้งระบบดังกล่าวมาเป็นอย่างดี รวมทั้งเคยพัฒนาและวางระบบรับชำระเงิน (ECR: Electronic Cash Register) ให้กับ ทศท.มาก่อน นอกจากนี้ SAP R/3 ยังนับเป็นซอฟต์แวร์ระบบบัญชีการเงินที่ได้มาตรฐานและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลก
ก่อนหน้านี้ ที.เอ็น. อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์ เคยผ่านการพัฒนาและวางระบบ SAP R/3 ให้กับองค์กรและหน่วยงานรัฐบาลหลายแห่ง ได้แก่ ระบบ FIS (Financial Information System) ของธนาคารออมสิน และระบบ FMIS (Financial Management Information System) ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
เกี่ยวกับ ที.เอ็น. อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์
บริษัท ที.เอ็น อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์ จำกัด (TNIS) ก่อตั้งเมื่อปี 2532 ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 140 ล้านบาทภายใต้ชื่อ ที.เอ็น นิกซ์ดอร์ฟ คอมพิวเตอร์ ประเทศไทย จำกัด บริษัทในเครือไทยสงวนวานิช ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง นิกซ์ดอร์ฟ คอมพิวเตอร์ เอจี (ในอดีต ใช้ชื่อว่า ซีเมนส์ นิกซ์ดอร์ฟ และปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็น วินคอร์ นิกซ์ดอร์ฟ) และ ที.เอ็น คอร์ปอร์เรท จำกัด ในเดือนตุลาคม 2540 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น ที.เอ็น อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์
เนื่องจากปรับปรุงโครงสร้างบริษัทเพื่อเป็นผู้นำในด้าน ซิสเท็มส์ อินทิเกรชั่น และให้บริการในตลาดเมืองไทย บริษัทมีสถานะเป็นบริษัทของคนไทยโดยสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม 2543
ธุรกิจหลักของบริษัทคือ ซิสเท็มส์ อินทิเกรชั่น ประกอบด้วย การให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านไอที พัฒนาและจัดทำซอฟต์แวร์ ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า จัดทำระบบฮาร์ดแวร์ การดำเนินการ ตลอดจนการฝึกอบรม และให้บริการแก่ ผู้ผลิตต่างๆ หากต้องการรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมของบริษัทฯ กรุณาแวะไปที่ http://www.tnis.com
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
จงจินต จิตร์แจ้ง หรือ สาธิดา ศรีธัญญาธรณ์
บริษัท อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
โทร. 252-9871-7
อีเมล์ [email protected] จบ--
-อน-
- ม.ค. ๒๕๖๘ กลุ่มทรู จัดแคมเปญ “Together Forever” เอาใจคู่รัก รับวันวาเลนไทน์ ชวนคู่หวานเปิดเบอร์ใหม่เสริมดวงความรัก จากทรูมูฟ เอช พร้อมรับฟรี บัตรภาพยนตร์True 4DX มูลค่า 1,200 บาท
- ม.ค. ๒๕๖๘ ภาพข่าว: กรมการค้าภายในเยี่ยมชมกิจการ “ร้านติดดาว” โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตร้านค้าปลีกของกลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์
- ม.ค. ๒๕๖๘ ประเทศไทยจัดงานประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ใช้ Live Streaming ถ่ายทอดสดการประชุมเป็นครั้งแรกแก่บุคลากรทางการแพทย์