กรุงเทพฯ--25 มิ.ย.--โตโยต้า มอร์เตอร์ ประเทศไทย
อัตราการเติบโตรถยนต์นั่งมิถุนายนแรงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ถึง 37.1%
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กรรมการบริหารบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานยอดจำหน่ายรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 พุ่งแรงด้วยยอดจำหน่ายรวม 140,018 คัน เพิ่มขึ้น 14.5 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว โดยการเติบโตเกิดขึ้นในทุกตลาด แบ่งออกเป็น ตลาดรถยนต์นั่ง 46,714 คัน เพิ่มขึ้น 16.1 % รถบรรทุกขนาด 1 ตัน 81,497 คัน เพิ่มขึ้น 17.2 % และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 93,304 คัน เพิ่มขึ้น 13.6 %
ส่วนทางด้านยอดจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมิถุนายน มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ด้วยตัวเลขยอดขายรวม 27,115 คัน และอัตราการเจริญเติบโต 16.0 % แบ่งเป็นตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง 9,511 คัน เติบโต 37.1 % รถกระบะขนาด 1 ตัน 15,517 คัน เติบโต 10.1 % และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 17,604 คัน เติบโต 7.1 % เมื่อเทียบกับยอดขายของช่วงเดียวกันในปีที่แล้วประเด็นสำคัญ
1. ตัวเลขยอดขายรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 มีอัตราการเจริญเติบโตเป็นที่น่าพอใจ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการตัดสินใจจองรถของลูกค้าในช่วงงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 22 ในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทรถยนต์ต่างทยอยส่งมอบรถให้กับลูกค้าในไตรมาสนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัวเลขการขายสะสมใน 2 ไตรมาสแรกของปีปิดยอดด้วยตัวเลขสูงถึง 140,018 คัน เทียบกับปริมาณการขายในช่วงไตรมาสแรกของปีซึ่งปิดตัวเลขที่ 61,495 คัน ไตรมาสที่ 2 มีปริมาณการขายมากกว่าถึง 78,523 คัน หรือ 78.0%
2. ในเดือนมิถุนายนตัวเลขการจำหน่ายรถยนต์นั่งเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องลบสถิติอัตราการขยายตัวในรอบ 12 เดือน ด้วยอัตราการเจริญเติบโตถึง 37.1% ซึ่งสูงกว่าอัตราการขยายตัวของ รถกระบะขนาด 1 ตัน ที่ขยายตัวขึ้นด้วยอัตรา 10.1 % ซึ่งมีแนวโน้มของตลาดเช่นเดียวกับในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา น่าจะเป็นผลมาจากการส่งมอบรถยนต์ โคโรลล่า อัลติส ให้กับลูกค้า ส่งผลให้โตโยต้ากลับมาครองตำแหน่งผู้นำตลาดรถยนต์นั่งได้เป็นครั้งแรกในปีนี้ เช่นเดียวกับตัวเลขการขายในตลาดรวมที่โตโยต้าสามารถรักษาตำแหน่งผู้นำตลาดได้เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันอีกด้วย
3. การแข่งขันกันอย่างรุนแรงด้วยแคมเปญส่งเสริมการขายของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ก็มีผลอย่างมากเช่นเดียวกันในการกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญแจกทอง ดอกเบี้ยเช่า-ซื้อราคาพิเศษ การจับรางวัลชิงโชค หรือแคมเปญอื่น ๆ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้อรถยนต์ตามความต้องการ ด้วยเงื่อนไขในการซื้อที่คุ้มค่าสูงสุด
4. ในช่วงไตรมาสที่ 3 บริษัทรถยนต์น่าจะมีการแข่งขันกันสูงในด้านของการบริการหลังการจำหน่าย เช่น การตรวจเช็คสภาพรถรับฤดูฝนมากกว่าแคมเปญส่งเสริมการขายเพื่อเพิ่มยอดขาย
1.1 ตัวเลขจำหน่ายตลาดรถยนต์รวม จำนวน 27,115 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว
โดยมีอัตราการเจริญเติบโต 16.0 %
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,904 คัน เพิ่มขึ้น 22.5 % ส่วนแบ่งการตลาด 29.1 %
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,813 คัน เพิ่มขึ้น 21.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 25.1 %
อันดับที่ 3 นิสสัน 3,674 คัน เพิ่มขึ้น 58.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 13.5 %
1.2 ตลาดรถยนต์นั่ง จำนวน 9,511 คัน เพิ่มขึ้น 37.1 %
อันดับที่ 1 โตโยต้า 3,932 คัน เพิ่มขึ้น 64.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 41.3 %
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 2,718 คัน เพิ่มขึ้น 50.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 28.6 %
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,053 คัน เพิ่มขึ้น 15.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 11.1 %
1.3 ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน จำนวน 15,517 คัน เพิ่มขึ้น 10.1 %
อันดับที่ 1 อีซูซุ 6,459 คัน เพิ่มขึ้น 23.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 41.6 %
อันดับที่ 2 โตโยต้า 3,469 คัน ลดลง 2.3 % ส่วนแบ่งการตลาด 22.4 %
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,495 คัน เพิ่มขึ้น 162.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 16.1 %
1.4 ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ จำนวน 17,604 คัน เพิ่มขึ้น 7.1 %
อันดับที่ 1 อีซูซุ 6,808 คัน เพิ่มขึ้น 21.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 38.7 %
อันดับที่ 2 โตโยต้า 3,972 คัน ลดลง 2.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 22.6 %
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,621 คัน เพิ่มขึ้น 85.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 14.9 %
2) สรุปยอดการจำหน่ายรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 (มกราคม-มิถุนายน)
2.1 ตัวเลขจำหน่ายตลาดรถยนต์รวม จำนวน 140,018 คัน เพิ่มขึ้น 14.5 %
อันดับที่ 1 โตโยต้า 36,586 คัน เพิ่มขึ้น 2.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 26.1 %
อันดับที่ 2 อีซูซุ 34,096 คัน เพิ่มขึ้น 28.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 24.4 %
อันดับที่ 3 นิสสัน 18,599 คัน เพิ่มขึ้น 36.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 13.3 %
2.2 ตลาดรถยนต์นั่ง จำนวน 46,714 คัน เพิ่มขึ้น 16.1 %
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 15,804 คัน เพิ่มขึ้น 35.3 % ส่วนแบ่งการตลาด 33.8 %
อันดับที่ 2 โตโยต้า 15,191 คัน เพิ่มขึ้น 1.3 % ส่วนแบ่งการตลาด 32.5 %
อันดับที่ 3 นิสสัน 5,654 คัน เพิ่มขึ้น 2.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 12.1 %
2.3 ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน จำนวน 81,497 คัน เพิ่มขึ้น 17.2 %
อันดับที่ 1 อีซูซุ 32,097 คัน เพิ่มขึ้น 30.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 39.4 %
อันดับที่ 2 โตโยต้า 18,871 คัน เพิ่มขึ้น 3.5 % ส่วนแบ่งการตลาด 23.2 %
อันดับที่ 3 นิสสัน 11,001 คัน เพิ่มขึ้น 83.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 13.5 %
2.4 ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ จำนวน 93,304 คัน เพิ่มขึ้น 13.6 %
อันดับที่ 1 อีซูซุ 34,057 คัน เพิ่มขึ้น 28.3 % ส่วนแบ่งการตลาด 36.5 %
อันดับที่ 2 โตโยต้า 21,395 คัน เพิ่มขึ้น 3.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 22.9 %
อันดับที่ 3 นิสสัน 12,945 คัน เพิ่มขึ้น 59.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 13.9 %--จบ-- -อน-