กรุงเทพฯ--27 ต.ค.--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.ดร.เอกชัย ลีลารัศมี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการพัฒนาระบบโทรทัศน์ที่สามารถซ่อนคำบรรยายภาษไทย — อังกฤษ โดยรับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า โทรทัศน์ในประเทศไทยเป็นระบบ PAL ซึ่งยังไม่มีการพัฒนาเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีวงจรถอดรหัสคำบรรยายภาพไทยและอังกฤษในระบบ PAL จึงได้พัฒนาระบบโทรทัศน์ที่ซ่อนคำบรรยายภาพขึ้นมา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้พิการทางหู หรือคนปกติที่ต้องการฝึกฝนภาษาจากการชมรายการและผู้สูงอายุที่ได้ยินไม่ชัด โดยนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาพัฒนาระบบวิดีทัศน์ 3 ชิ้น ได้แก่ เครื่องเข้ารหัสคำบรรยายภาพ เครื่องถอดรหัสคำบรรยายภาพภาษาไทย —อังกฤษ และแผงทีวีไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ถอดรหัสคำบรรยายภาพ โดยมีหลักการทำงานคือ เครื่องเข้ารหัสจะใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์รับข้อมูลคำบรรยายภาพที่สร้างขึ้นจากซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แล้วแทรกข้อมูลนั้นลงในสัญญาวิดีทัศน์ ส่วนเครื่องถอดรหัสจะติดตั้งอยู่กับเครื่องรับโทรทัศน์ธรรมดา เพื่อทำให้สามารถแสดงคำบรรยายภาพที่ซ่อนมาได้ โดยภายในเครื่องจะใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ชนิด 8 บิด ทำงานร่วมกับวงจรกำเนิดรูปแบบอักขระที่ออกแบบเป็นพิเศษ ให้สามารถแสดงอักขระทั้งไทยและอังกฤษด้วยความละเอียดชนิด 32 x 16 จุด ส่วนทีวีไมโครคอนโทรลเลอร์นั้น ถูกพัฒนาขึ้นมาบนเกตเอะเรย์โดยรวม วงจรถอดรหัสอยู่ภายในจึงสามารถนำไปสร้างต้นแบบโทรทัศน์ที่สามารถแสดงคำบรรยายภาพไทย — อังกฤษได้เอง--จบ--
-สส-
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: ฉลอง 50 ปี SG 10