ILCT: ปัญหาข้อกฎหมายของการทำ Caching และ Mirroring บนเว็บไซท์ (2)

จันทร์ ๐๓ ธันวาคม ๒๐๐๑ ๑๐:๓๕
กรุงเทพฯ--3 ธ.ค.--ที่ปรึกษากฎหมายสากล
โดยไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ
บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด
[email protected]
อาทิตย์ที่แล้วผมได้ค้างท่านผู้อ่านไว้หลายเรื่องครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาการทำ Mirrroring Caching และ การใช้โปรแกรม Java และ Active X ในการเขียนเว็บไซท์ วันนี้เราจะเริ่มกันที่เรื่องการทำ Mirrroring กันครับ
ดังที่กล่าวในครั้งที่แล้วว่าการทำ Mirroring วัตถุประสงค์ก็เพื่อช่วยปัญหาในเรื่องการดาวน์โหลดให้รวดเร็วยิ่งขึ้นโดยการทำซ้ำข้อมูลของผู้ใช้บริการหรือข้อมูลที่แนบมากับอีเมลล์ (ในกรณีที่เป็นเว็บไซท์ที่ให้บริการรับส่งอีเมลล์ให้แก่ลูกค้าของตน เช่น yahoo.com hotmail.com ) หรือบางกรณีอาจเป็นการทำซ้ำงานลิขสิทธิ์ผู้อื่นเช่นการเปิดเว็บไซท์ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมคอมพิวเตอร์เช่น กรณีเว็บไซท์ www.download.com ที่มีการให้บริการดาวน์โหลดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท freeware เป็นต้น ปัญหาคือ การกระทำดังกล่าวผิดกฎหมายไทยหรือไม่
ก่อนอื่นท่านต้องแยกแยะก่อนครับว่าข้อมูลที่นำมาทำซ้ำหรือทำ Mirroring นั้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอะไร หากเป็นข้อมูลที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ก็ต้องนำกฎหมายลิขสิทธิ์มาพิจารณา คือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หากเป็นข้อมูลส่วนบุคคลก็ต้องดูกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ปัจจุบันร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ระหว่างการร่างโดยเนคเทค ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซท์ www. nitc.go.th) หากเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความลับทางการค้าก็อาจต้องพิจารณากฎหมายอาญาหรือกฎหมายความลับทางการค้า (ร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภา)
ในส่วนของกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น ข้อพิจารณาประการแรกคือ งานลิขสิทธิ์ดังกล่าวที่นำมาทำซ้ำโดยการทำ Mirroring นั้น เว็บไซท์ที่เผยแพร่เป็นเจ้าของหรือได้รับอนุญาตให้ทำซ้ำงานดังกล่าวหรือไม่ ในกรณีที่ได้รับอนุญาตคงไม่มีปัญหาที่ต้องหยิบยกมาพิจารณา กรณีที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่คือ ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์โดยชัดแจ้ง เช่น กรณีของเว็บไซท์ www.yahoo.com และ www.hotmail.com เนื่องจากประเด็นนี้ยังไม่มีคำพิพากษาฎีกา ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า การทำ Mirroring ดังกล่าวของ yahoo.com และ hotmail.com เป็นกรณีการให้บริการรับส่งอีเมลล์แก่ผู้ใช้บริการของตนซึ่งไม่มีการกระทำอันเป็นการแสวงหากำไรและการกระทำดังกล่าวไม่น่าจะกระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์ นอกจากนี้การกระทำการดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมดเกิดจากผู้ใช้บริการแต่ละราย โดยเว็บเซิพเวอร์ของ yahoo.com และ hotmail.com กระทำตามคำสั่งดังกล่าวโดยไม่ได้มีการกัก เก็บ ข้อมูลหรือรับรู้ถึงการทำซ้ำดังกล่าว การทำซ้ำดังกล่าวกระทำโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ดังนั้น การทำ Mirroring จึง เป็นเพียงบริการเสริมที่ช่วยให้การดาวน์โหลดข้อมูลรวดเร็วขึ้นเท่านั้น จึงไม่น่าจะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทย (ความเห็นดังกล่าวนี้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์สากลในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายลิขสิทธิ์ของอเมริกา (The Digital Millenium Copyright Act 1998) กฎหมายลิขสิทธิ์ของอังกฤษ (The Copyright, Design and Patent Act 1988) และกฎหมายของสหภาพยุโรป (The Directive 2001/29/EC regarding the harmonization of certain aspect of Copyright and related rights in the information society) อย่างไรก็ตามดังที่กล่าวในครั้งที่แล้วว่าเนื่องจากการทำ Mirroring นั้นเกิดขึ้นทั่วโลกเนื่องจากใช้คอมพิวเตอร์เซิพเวอร์แบบเครือข่าย (network) ซึ่ง กฎหมายลิขสิทธิ์ของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ดังนั้นผู้ประกอบการเว็บไซท์โดยทั่วไปจึงมักมีการระบุข้อกำหนดและเงื่อนไข (Terms& Condition) ในการใช้บริการเพื่อให้ลูกค้าของตนรับทราบเพื่อแก้ไขปัญหานี้และยกเว้นความรับผิดของตน ท่านผู้อ่านหลายท่านคงจำได้ว่าทุกครั้งเมื่อท่านสมัครสมาชิก hotmail.com หรือ yahoo.com จะมีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขการใช้บริการยาวเหยียด นั่นแหละครับเพื่อใช้แก้ปัญหานี้
อย่างไรก็ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขดังกล่าวโดยปกติจะถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาใช้บริการระหว่างท่านกับเว็บไซท์แต่ละราย ดังนั้นเงื่อนไขดังกล่าวนี้โดยหลักกฎหมายจึงต้องให้ท่านรับทราบก่อนใช้บริการ แต่ในความเป็นจริงน้อยมากที่ผู้ใช้บริการจะอ่านเงื่อนไขทั้งหมดก่อนใช้บริการ เพื่อป้องกันข้อโต้แย้งของผู้ใช้บริการในภายหลังเมื่อเกิดปัญหาจึงมักมีการกำหนดเงื่อนไขของการใช้บริการในรูบแบบของสัญญาที่เรียกว่า "Click Wrap Agreement" ซึ่งท่านต้องกดปุ่ม O.K. หรือยอมรับเท่านั้น Click Wrap Agreement เป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะการให้บริการดาวน์โหลดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรม window Acrobat reader ACD ฯลฯ ซึ่งท่านผู้อ่านคงจำได้ว่าท่านต้องกดปุ่ม ยอมรับอย่างเดียวเท่านั้นถึงจะติดตั้ง(install) โปรแกรมดังกล่าวได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ของท่าน อย่างไรก็ตามเงื่อนไขดังกล่าวหากเป็นการยกเว้นความรับผิดที่เกินสมควร เงื่อนไขดังกล่าวก็อาจไม่มีผลบังคับใช้หรือใช้ได้บางส่วนเพราะขัดต่อกฎหมายคือ พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม ของไทยครับ
ในส่วนของปัญหาเรื่อง Caching นั้นต้องอธิบายกันยืดยาวครับซึ่งต้องวิเคราะห์ คดีที่เกี่ยวข้องเช่น กรณี Napster หรือ Google.com ด้วย ดังนั้นขอยกยอดไปครั้งหน้าครับ--จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO