ผอ.ผังเมืองนำทีมพบรองผู้ว่าฯ สหัส เสนอโครงการศึกษาจัดตั้งศูนย์ชุมชนลาดกระบัง

จันทร์ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๐๐๐ ๑๑:๐๕
กรุงเทพฯ--27 พ.ย.--กทม.
ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 23 พ.ย.43 ที่ผ่านมา นายนิคม ไวยรัชพานิช ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักผังเมือง นำเจ้าหน้าที่จากสถานทูตญี่ปุ่น และผู้เชี่ยวชาญ JICA จำนวน 3 คน เข้าพบนายสหัส บัณฑิตกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อรายงานโครงการพัฒนาศูนย์ชุมชนชานเมืองที่ลาดกระบัง
นายนิคมฯ กล่าวถึงโครงการนี้ว่า คณะที่ปรึกษา JICA ได้เลือกพื้นที่ลาดกระบังเป็นโครงการนำร่องในการสร้างเป็นศูนย์ชุมชนหรือ Sub Center จากข้อเสนอแนะแผนพัฒนาชุมชนชานเมืองทั้งหมด 11 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ส่วนขยายบางปะอิน ศูนย์บางไทร ศูนย์ลาดหลุมแก้ว ศูนย์ธัญบุรี ศูนย์บางบัวทอง ศูนย์ลำลูกกา ศูนย์ตลิ่งชัน ศูนย์มีนบุรีส่วนขยาย ศูนย์บางขุนเทียน ศูนย์บางพลีส่วนขยาย และศูนย์ลาดกระบัง ซึ่งศูนย์แห่งนี้มีพื้นที่รวมประมาณ 13 ตร.กม. โดยมีพื้นที่ศูนย์กลางชุมชนประมาณ 2.5 ตร.กม. ทั้งนี้ที่เลือกศูนย์ชุมชนลาดกระบังเป็นโครงการนำร่อง เนื่องจากได้พิจารณาถึงที่ตั้งพื้นที่แห่งนี้มีศักยภาพที่จะพัฒนาได้สูงในอนาคต เพราะอยู่ฝั่งตะวันออกของกทม. ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูง และมีศักยภาพสูงในการจัดให้มีบริการระบบขนส่งมวลชน หรือระบบรถไฟชานเมืองได้สะดวก มีโครงข่ายถนนวงแหวนรอบนอก และทางหลวงสายกรุงเทพฯ | ชลบุรี (มอร์เตอร์เวย์) รวมทั้งอยู่ใกล้สนามบินหนองงูเห่า (สนามบินสุวรรณภูมิ)
ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กล่าวต่อว่า เพื่อให้โครงการศูนย์ชุมชนเขตลาดกระบังดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็วและประสบความสำเร็จนั้น ทางสำนักผังเมืองจึงได้ประสานไปยังสถานทูตญี่ปุ่นเพื่อหารือร่วมกันเกี่ยวกับการขอรับความช่วยเหลือทางเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญ JICA ในหลายเรื่อง เริ่มตั้งแต่การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาศูนย์ชุมชนลาดกระบัง การพัฒนาระบบการบริหารและรูปแบบสถาบัน กลไกในการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนการพัฒนา และเรื่องของเงินทุนในการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จในระยะเวลาประมาณ 18 เดือน
หากโครงการประสบความสำเร็จ และมีผลในทางปฏิบัติ จะเกิดประโยชน์ต่อกรุงเทพมหานครเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการทำให้กทม.เป็นศูนย์กลางทางวิทยาการในภูมิภาคอาเซียน ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนเมือง ทำให้กทม.เป็นเมืองที่น่าอยู่ รวมทั้งช่วยลดเวลาในการเดินทางในกทม.โดยการพัฒนาระบบคมนาคมรูปแบบต่าง ๆ อีกด้วย นายนิคมฯ กล่าว
ด้านนายสหัส บัณฑิตกุล รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวถึงโครงการนี้ว่า หากประสบความสำเร็จและเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจะเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะพื้นที่โครงการอยู่ใกล้กับสนามบินหนองงูเห่า หากในอนาคตสนามบินก่อสร้างเสร็จ มีการเปิดใช้ แต่พื้นที่ใกล้เคียงไม่มีการพัฒนาเพื่อรองรับความเจริญ ปัญหาต่าง ๆ จะตามมาอย่างแน่นอน ตนจึงเห็นด้วยกับโครงการในลักษณะเช่นนี้ และจะได้นำข้อมูลทั้งหมดเสนอผู้ว่าฯกทม.ต่อไป--จบ--
-นศ-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ