กรุงเทพฯ--25 ม.ค.--สสวท.
สสวท. ร่วมกับองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ดำเนินโครงการวิจัย PISA (Program for International student Assessment) เพื่อวัดความสำเร็จของการจัดการศึกษาภาคบังคับและเปรียบเทียบผลที่ได้กับนานาชาติ โดยมีประเทศเข้าร่วมประเมินผล 32 ประเทศทั่วโลก
นายธงชัย ชิวปรีชา ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการอสนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยว่า ประเทศไทยร่วมกับองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-opration and Development) เข้าร่วมโครงการ PISA ตั้งแต่ปี 2543 มีคณะกรรมการวิจัยและประเมินผลนักเรียนระดับนานาชาติ ขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา และสสวท.เป็นหน่วงงานรับผิดชอบ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ความสามารถของนักเรียนอายุ 15 ปี ทุกๆ 3 ปี ในด้าน "การอ่าน" (Reading Literaoy) "คณิตศาสตร์" (Mathematical) และ "วิทยาศาสตร์" (Scientific Literaoy) โดยจะวัดความสามารถทั้ง 3 ด้านไปพร้อมกัน แต่จะเน้นหนักในด้านใดด้านหนึ่งด้วย กล่าวคือ ระยะแรกปี พ.ศ.2543-2545 เน้นด้านการอ่าน ระยะที่ 2 ปี พ.ศ.2546-2548 เน้นด้านคณิตศาสตร์ และระยะที่ 3 ปี พ.ศ.2549-52551 เน้นด้านวิทยาศาสตร์
โครงการ PISA มีประเทศเข้าร่วมประเมินผล 32 ประเทศทั่วโลก ประกอบด้วย ประเทศสมาชิก OECD 26 ประเทศ และประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก 6 ประเทศ ในทวปเอเชียมีประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เข้าร่วมโครงการในฐานะของสมาชิก และมีประเทศจีน ลัดเวีย รัสเซียและไทยซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกร่วมประเมินด้วย
ขณะนี้ กำลังดำเนินการการวิจัยระยะแรก (ปี พ.ศ.2543-2545) อยู่ในระหว่างการเก็บข้อมูลภาคสนามจากนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 5,000 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง หลักจากนั้นจะวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ซึ่งผลการประเมินระยะแรกจะเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2545--จบ--
-อน-
- ๒๓ ธ.ค. KOICA ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกรมประมง จัดบรรยายพิเศษด้านการจัดการทรัพยากรประมง
- ธ.ค. ๒๕๖๗ รัฐบาลเกาหลีใต้ ร่วมกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ เตรียมตั้งศูนย์วิจัยจีโนมิกส์การเกษตรระดับโลกที่มหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์
- ธ.ค. ๔๘๐๐ การประชุมการแพทย์แผนโบราณขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้เปิดฉากแล้ว