ชี้โครงการระยะยาวสร้าง "นักวิทยาศาสตร์" เพื่อรองรับอนาคตชาติ ต้องจัดระบบการศึกษาฟูมฟักต่อเนื่องตั้งแต่เล็กจนจบปริญญา

จันทร์ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๑ ๑๐:๕๑
กรุงเทพฯ--26 ก.พ.--สสวท.
นายพิศาล สร้อยธุหร่ำ รองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์ว่าเป็นปัญหารีบด่วนต้องแก้ไขอย่างจริงจัง ปัจจุบันทราบกันดีว่าประชากรไทย 10,000 คน มีนักวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์เพียง 2 คนเท่านั้น ถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับญี่ปุ่นมีประมาณ 80 คน ออสเตรเลีย 40 คน เกาหลี 40 คน และสิงคโปร์ 30 คน ซึ่งถ้าจะให้ก้าวหน้าทัดเทียมประเทศอื่นๆ ได้ภายใน 20 ปีข้างหน้าเราจำเป็นต้องเพิ่มการสร้างนักวิทยาศาสตร์อย่างเร่งด่วนจำนวนมาก
การสร้างนักวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์เพื่อรองรับอนาคตชาติ ต้องให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาเด็กที่มีความสามารถพิเศาตั้งแต่เล็กๆ ต่อเนื่องถึงประถมต้นไปจนอุดมศึกษาเฉพาะอย่างยิ่งเตรียม"อาชีพ" ไว้รองรับหลังสำเร็จการศึกษา ซึ่งต้องทำอย่างเป็น "ระบบ" เพื่อสร้างศักยภาพและส่งเสริม"ค่านิยม" การเป็นนักวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย
"ในส่วนของเด็กเล็กนั้น มีทั้งกลุ่มที่สังเกตเห็นความสามารถพิเศษตั้งแต่เล็ก กับกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษทว่ายังไม่แสดงให้ปรากฏ กลุ่มหลังนี้เราต้องให้คำแนะนำผู้ปกครองให้ทำกิจกรรมกระตุ้นให้เด็กแสดงความสามารถออกมา ซึ่งจะสามารถให้การส่งเสริมได้ถูกต้อง โดยต้องเตรียมระบบการศึกษารองรับอย่างเหมาะสม เริ่มจากระดับประถมต้น โรงเรียนและครูควรจัดกิจกรรมต่างๆ หนุนและกระตุ้นให้เด็กกลุ่มหลังแสดงความสามารถออกมาได้อย่างอิสระ พอถึงประถมปลายควรมีกิจกรรมที่หลากหลาย และจัดกิจกรรมค่ายเป็นตัวสนับสนุนหลักสูตร
ส่วนระดับมัธยมต้น-ปลาย ต้องจัดให้มีกิจกรรมมากขึ้น เข้มข้นขึ้น สอดรับกับวัยที่เรียนรู้ได้รวดเร็ว หากเด็กที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์มีจำนวนมากต้องจัดห้องเรียนพิเศษเป็นการสนับสนุนอย่างได้ผล ตลอดจนให้ศึกษาในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ่งขณะนี้ในประเทศไทยเกิดมีขึ้นแล้วเป็นตัวอย่างคือโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ขั้นต่อมาหลังจบมัธยมควรให้สิทธิ์เด็กเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้โดยไม่ต้องสอบ แบบเดียวกับโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ (พสวท.) ซึ่ง สสวท. ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2527 ณ ปัจจุบันสามารถผลิตนักวิทยาศาสตร์ปริญญาตรี โท เอก เป็นกำลังสำคัญในหน่วยงานวิจัยหลายแห่งได้แล้วประมาณ 200 คน ในสาขาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา คอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ และธรณีวิทยา--จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version