กรุงเทพน--22 พ.ย.--สสวท.
นางนันทิยา บุญเคลือบ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยว่าตามที่ สสวท. ได้ส่งนักวิชาการไปฝึกอบรม Asia Regional GLOBE International Training Workshop ที่ประเทศเนปาล เพื่อเตรียมเป็นวิทยากรสำหรับอบรมครูตามโครงการ GLOBE โปรแกรมนั้น ทำให้ผู้ประสานงานโครงการ GLOBE ของประเทศต่างๆ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ตลอดจนทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคน เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมในโครงการ GLOBE บรรลุเป้าหมายของโครงการ การประชุมดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมในโครงการ GLOBE การประชุมดังกล่าว ได้เพิ่มพูนความรู้ที่จะต้องใช้อบรมครูเกี่ยวกับเรื่องอากาศ น้ำ ดิน สิ่งปกคลุมดินและกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียน รวมทั้งเทคนิควิธีการใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลและวิเคราะห์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของข้อมูล คลอดจนการใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะในการอ่านข้อมูลจากโปรแกรม
สำหรับประเทศไทยได้วางกลยุทธ์ที่จะช่วยให้การดำเนินงานโครงการ GLOBE ให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การคัดเลือกโรงเรียน จะเน้นกลุ่มโรงเรียนที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และจะพิจารณาโรงเรียนที่อยุ่ที่อยุ่ในพื้นที่ควบคุมมลพิษเป็นพิเศษ มีการจัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรมเป็นภาษาไทยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ จัดทำเว็บไซต์โครงการ GLOBE ของไทย จัดเตรียมให้ความรู้แก่ผู้ที่จะเป็นวิทยากรให้ากรอบรมครูในโครงการ ซึ่งจะดำเนินการรุ่นแรกในเดือนธันวาคม 2543 และจัดประชุมปฏิบัติการฝึกอบรมครู โดยให้ความสำคัญกับสถานที่ฝึกปฏิบัติการภาคสนาท ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์ สสวท.จะเสนอและผลักดันแนวความคิดหลักของโครงการ GLOBE ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรของโรงเรียน โรงเรียนในโครงการ GLOBE จะได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษจากโครงการ School Net ซึ่งโรงเรียนอาจจะหาวิธีขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานท้องถิ่นได้ เนื่องจากการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับการพัฒนาท้องถิ่นโดยตรง
ความท้าทายของโครงการนี้ก็คือ หน่วยงานต่างๆ สามารถนำข้อมูลสิ่งแวดล้อมของนักเรียนไปใช้แก้ปญหาสิ่งแวดล้อมในชีวิตได้ จะเป็นการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้กับสังคม สสวท. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานดำเนินงาน จะจัดเวทีประชุมครู เพื่อให้ครูและนักเรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเพิ่มพูนความรู้กับนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนโครงการยั่งยืน ทั้งนี้โรงเรียนควรสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับชุมชนในท้องถิ่น เพื่อความร่วมมือกันแก้ปัญหาส่งแวดล้อม และปลูกจิตสำนึกของชุมชนในท้องถิ่นให้ตระหนักถึงปัญหาและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้วย
การอบรม Asia Regional GLOBE International Training Workshop นี้มีผู้แทนจากประเทศต่างๆ ในเอเซีย 8 ประเทศ ได้แก่ เนปาล อินเดีย บังคลาเทศ นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ ปากีสถาน และไทย เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 93 คน
อนึ่ง GLOBE (Global Learning and Observation to Benefit the Environment) เป็นโครงการสิ่งแวดล้อมระหว่างชาติที่ก่อตั้งขึ้น โดยความริเริ่มของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายอัลกอร์ และด้วยความร่วมมือขององค์กรแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาหลายองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้เยาวชนและครูในระดับโรงเรียน ตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลายอขงนานานประเทศได้ตระหนักถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน มีส่วนร่วมทำวิจัยสิ่งแวดล้อมกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำทั่วโลก โดยลงมือปฏิบัติกิจกรรมภาคสนาม เก็บอินเตอร์เน็ต ที่สามารถติดต่อสื่อสารกันระหว่างนักเรียนของประเทศต่างๆ ที่อยู่ในโครงการ
ปัจจุบันมีโรงเรียนกว่า 8,000 แห่งจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกเข้าร่วมโครงการประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวดังเป็นทางการเป็นประเทศที่ 85 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2542 ซึ่งดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจโครงการ GLOBE Program โดยมี สสวท. เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ประสานงาน--จบ--
-อน-