กรุงเทพฯ--12 ธ.ค.--กระทรวงสาธารสุข
น.พ.ประกิต รอดประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา คณะแพทย์สาสตร์ ศิริราชพยาบาล เผยว่าคนที่เป็นโรคอ้วนจะมีอัตราการตายและเจ็บป่วยด้วยแทรกซ้อนร้ายแรงได้มากกว่าและเร็วกว่าคนปกติ โดยในเพศชายที่มีน้ำหนักตัวเกินปกติ 20% จะมีอัตราการตายมากและเร็วกว่าคนปกติ 20% จากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันและ โรคอัมพาตและหากผู้นั้นมีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 40% ก็มีอัตราการตายเพิ่มขึ้นถึง 55% เนื่องจากมีโอกาส เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้ถึง 70% และเสี่ยงเป็นโรคอัมพาตถึง 75%
ด้านนางนิตยา มหาผล โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในอดีตความอ้วนไม่ถือว่าเป็นโรคภัยไข้เจ็บถือว่า เป็นภาวะที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป เป็นผลมาจากการกินอาหารมาก ออกกำลังกายน้อย ทำให้เกิดการสะสมของพลังงาน ส่วนเกินที่ได้จากอาหารไว้ในรูปของไขมัน แต่ปัจจุบันวงการแพทย์ถือว่าความอ้วนเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง เรียกว่า โรคอ้วนซึ่งต้องเร่งแก้ไข เนื่องจากความอ้วนเป็นตัวการพกพาโรคอื่น ๆ มาด้วยเช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ทำให้หลายคนที่อ้วนหรือคิดว่าอ้วนหันมาลดความอ้วนด้วยวิธีต่าง ๆ ซึ่งจาก การสำรวจสภาวะสุขภาพทุก 5 ปีของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ล่าสุดพบว่า ในกลุ่มเด็กอายุ 6-12 ปี เป็นโรคอ้วน ประมาณ 9% คนในวัย 13-59 ปีมีการออกกำลังกายโดยเฉลี่ย 53% ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายในทุกพื้นที่ ดังนั้นการ ที่ประชาชนขาดการออกกำลังกายจึงมีส่วนทำให้เกิดความอ้วนง่ายขึ้น--จบ--
-สส-