กรุงเทพฯ--12 ต.ค--มพช.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) หนีปัญหาความซ้ำซ้อนเรื่องเงินช่วยเหลือประชาชนกับรัฐบาลปรับวงเงินให้สินเชื่อในโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนเมืองและชนบท ภายใต้มาตรการเสริมสร้างการพัฒนาชนบทและชุมเมืองและชนบท ภายใต้มาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.) จากเดิม 400 ล้าน ลงเหลือ 200 ล้านบาท
นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติวงเงิน 500 ล้านบาท เพื่อให้ พอช. ดำเนินงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนเมืองและชนบท ภายใต้มาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.) โดยแยกออกเป็น 2 ส่วนคือ การสนับสนุนการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน จำนวน 100 ล้านบาทและอีก 400 ล้านบาทเป็นสินเชื่อพัฒนา
"รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนที่จะช่วยเหลือชุมชนและท้องถิ่น ด้วยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน (หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท) และธนาคารประชาชน ให้ชาวชุมชนสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ผลกระทบจากนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล คาดว่าจะส่งผลให้การขอใช้สินเชื่อจากกองทุนสินเชื่อเพื่อการพัฒนาน้อยลง ดังนั้น พอช.จึงได้ขอปรับปรุงแผนการใช้จ่ายตามโครงการฯ โดยลดสัดส่วนของเงินสินเชื่อเพื่อการพัฒนาจากเดิม 400 ล้านบาท ลงเหลือ 200 ล้านบาท" ผู้อำนวยการพอช.กล่าว
การปรับปรุงแผนการใช้จ่ายครั้งนี้ พอช.จะให้ความสำคัญในกระบวนการสนับสนุนด้านความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการกองทุนให้เกิดความยั่งยืน การเสริมความรู้ความสามารถของผู้นำในการบริหารจัดการเงินได้อย่างเท่าทัน
สำหรับรายละเอียดของการปรับปรุงแผนการใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนแรก กิจกรรมที่องค์กรชุมชน/เครือข่าย/ประชาคมท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของกลไกจังหวัดและท้องถิ่น จากเดิมที่ตั้งไว้ 60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 210 ล้านบาท
ส่วนที่สอง กิจกรรมที่สถาบัน และหรือกลไกความร่วมมือหลายฝ่ายเป็นผู้ดำเนินการ เดิมตั้งไว้ 20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านบาท และจัดงบเพิ่มขึ้น 20 ล้านบาท เพื่อรองรับการเตรียมความพร้อมแก่องค์กรชุมชน/หมู่บ้าน ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และส่วนที่สาม กิจกรรมสนับสนุนลริหารจัดการโครงการ เดิมตั้งไว้ 20 ล้านบาท ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีรายละเอียดกิจกรรมที่พร้อมดำเนินการได้ตามแผน
"จำนวนเงิน 300 ล้านบาท เพื่อใช้ในการสนับสนุนการพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนทั้งภาคชนบทและเมือง รวมทั้งประชาสังคม จำนวน 700 เครือข่าย ได้สนับสนุนไปแล้วจำนวน 21.9 ล้านบาท 2,262 เครือข่าย" นางสมสุขกล่าว
ด้านกองทุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาจากเดิมที่ตั้งไว้ 400 ล้านบาท ได้ปรับลดลงเหลือ 200 ล้านบาทให้กับ 50 เครือข่ายทั่วประเทศ เนื่องจากประเมินแนวโน้มความต้องการสินเชื่อ จากข้อมูลของภาคต่างๆ ว่าเครือข่ายทั่วประเทศ เนื่องจากประเมินแนวโน้มความต้องการสินเชื่อ จากข้อมูลของภาคต่างๆ ว่าเครือข่ายมีแผนที่จะใช้สินเชื่อภาคละประมาณ 40 ล้านบาท ได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 9 ล้านบาทให้กับ 8 เครือข่าย
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ มพช.
โทร. 0-2279-7937, 0-2616-2270-1--จบ--
-นห-
- พ.ย. ๒๕๖๗ 8 SE ร่วมนำเสนอแผนธุรกิจใน SET Social Impact GYM 2023: Pitching Day
- พ.ย. ๒๕๖๗ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับพันธมิตร เปิดโครงการ SET Social Impact GYM 2023
- พ.ย. ๒๕๖๗ มูลนิธิทีทีบี และ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ ด้านการ "พัฒนาขบวนองค์กรชุมชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและภาคตะวันออก"