กทม.เผยผลการระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำแผนพัฒนากทม. ฉบับที่ 6 ครั้งที่ 2

พฤหัส ๑๙ กรกฎาคม ๒๐๐๑ ๑๐:๐๔
กรุงเทพฯ--19 ก.ค.--กทม.
เมื่อวันที่ 17 ก.ค.44 เวลา 17.00 น. ที่อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง นายมุดตาฝ้า หมันงะ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานปิดการสัมมนาระดมความคิดเห็น เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์กรอบการพัฒนากรุงเทพมหานคร แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2545-2549) ครั้งที่ 2 โดยมี ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยข้าราชการกรุงเทพมหานครระดับปฏิบัติที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนฯ ส.ก.,ส.ข.และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ ประชาชน กว่า 1,000 คน
รองผู้ว่าราชการการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์กรอบการพัฒนากรุงเทพมหานคร แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2545-2549) ครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งตามขั้นตอนการจัดทำแผนกำหนดให้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่าย รวม 5 ครั้ง โดยผลสรุปที่ได้ทั้งหมดจะนำไปพิจารณาจัดทำแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2545-2549) เพื่อทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองน่าอยู่ สำหรับการจัดทำแผนพัฒนากรุงเทพมหานครฯจะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะประชาชนเป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่กับปัญหา จึงสามารถบอกได้ว่าปัญหาอะไรที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
นางณฐนนท กล่าวว่า การระดมความคิดเห็นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การจัดทำแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 6 มีความสมบูรณ์ เพราะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้ตรงจุดมากที่สุดตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการให้เกิดการระดมความคิดเห็นในการจัดทำแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร โดยเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนากทม.ให้มากที่สุด สำหรับปัญหาหลัก ๆ ที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ระดมความคิดเห็นในวันนี้ เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาการจราจรและขนส่ง ปัญหาสาธารณูปโภค ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว ฯลฯ สำหรับผลการระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้จะนำไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการสัมมนาครั้งที่ 3 ซึ่งจะมีการสัมมนาในต้นเดือนส.ค. 44 โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 500 คน เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ต่อไป และผลที่ได้จากการสัมมนาระดมความคิดเห็นทั้ง 5 ครั้ง จะนำเข้าสู่การประชุมในระดับผู้บริหารของกทม.และคณะกรรมการพัฒนากรุงเทพมหานครซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐ และภาคเอกชน ก่อนที่จะมีการประกาศออกมาเป็นแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2545-2549) ในเดือนตุลาคม 2544 ต่อไป
นายพงษ์ศักดิ์ เสมสันต์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กทม. เปิดเผยว่า ผลสรุปจากการระดมคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่ได้มีความคิดเห็นตรงกันในหลายเรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประจำวัน ได้แก่ เรื่องสาธารณูปโภค ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่ สาธารณะประโยชน์ เช่น ต้นไม้ ยังมีกิ่งไม้ระเสาไฟฟ้า สวนสาธารณะ ควรมีการจัดระเบียบให้น่าเข้าไปใช้บริการและพักผ่อนหย่อนใจ หาบเร่-แผงลอยตามบาทวิถี ไม่ควรตั้งวางเกะกะกีดขวางทางเท้า เป็นต้น ทั้งนี้ประชาชนในชุมชนได้แสดงความต้องการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวด้วยตนเอง เนื่องจากเป็นผู้สัมผัสและได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาต่าง ๆ ส่วนในเรื่องการให้บริการของกรุงเทพมหานครนั้น เห็นว่าบริการของสำนักงานเขต โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข ฯลฯ ควรมีการให้การบริการที่รวดเร็ว มีการจัดเก็บเอกสารและแบบฟอร์มต่าง ๆ อย่างเป็นระบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับเรื่องที่ประชาชนมีความชื่นชมต่อกทม. ได้แก่ เรื่อง ONE STOP SERVICE ซึ่งประชาชนเห็นว่าทุกสำนักงานเขตควรจะมีการพัฒนาโดยนำระบบการให้บริการแบบ ONE STOP SERVICE มาใช้ เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการประชาชน--จบ--
-นห-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ