สพช. หนุนสร้างแล้วก๊าซบ่อเล็กเกิน 1,000 บ่อ ชี้เหมาะกับฟาร์มสุกรขนาดเล็ก

ศุกร์ ๑๙ ตุลาคม ๒๐๐๑ ๑๔:๑๖
กรุงเทพฯ--19 ต.ค.--สพช.
สพช. หนุนเกษตรกรรายย่อย สร้างก๊าซขี้หมูบ่อเล็กเกิน 1,000 บ่อ แล้ว ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูกระจายทั่วประเทศ ได้ก๊าซเทียบเท่า 83,000 ถัง/ปี
ดร.พงษ์พิสิฏฐ์ วิเศษกุล ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) เปิดเผยว่า จากการที่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้ให้การสนับสนุนการจัดสร้างบ่อก๊าซชีวภาพขนาดเล็กให้กับเกษตรรายย่อยทั่วประเทศ โดยการสนับสนุนผ่านกรมส่งเสริมการเกษตร ในการให้คำปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง และจัดอบรมการก่อสร้างบ่อหมักก๊าซแก่ช่างในพื้นที่ได้ช่างที่ชำนาญในการสร้างบ่อก๊าซกว่า 90 คน นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างจากเงินกองทุนฯ เป็นการช่วยเหลือให้เกษตรกรประมาณร้อยละ 45 ของเงินลงทุน ส่วนอีกร้อยละ 55 เป็นส่วนที่เกษตกรเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งเกษตรกรสามารถขอกู้ได้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ได้
สำหรับระบบก๊าซชีวภาพขนาดเล็กที่ส่งเสริมเป็นแบบโดมคงที่ (Fixed Dome) ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนฝังอยู่ใต้ดิน เป็นบ่อหมักที่มีขนาดระหว่าง 12-100 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) โดยราคาของระบบมีตั้งแต่ 27,000 - 160,000 บาท เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่มีสุกรตั้งแต่ 25-200 ตัว เมื่อระบบเริ่มทำงานแล้ว เกษตรกรก็จะได้ก๊าซชีวภาพใช้อย่างต่อเนื่องในครัวเรือนโดยเฉพาะสำหรับการหุงต้มอาหาร โดยไม่ต้องซื้อก๊าซหุงต้มใช้ รวมทั้งการนำไปใช้ให้ความร้อนกกลูกสุกรในฟาร์มได้ ใช้กับเครื่องยนต์ผสมอาหารสัตว์ในฟาร์ม ใช้กับตะเกียงให้แสงสว่างได้ด้วย บางรายนำไปสร้างอาชีพเสริม เช่น เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตขนมจีน ขนมหวานลอดช่อง หรืออบผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น
"ตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปัจจุบัน ได้ส่งเสริมให้เกษตรผู้เลี้ยงสัตว์ ก่อสร้างบ่อ ก๊าซชีวภาพไปแล้วจำนวน 1,054 บ่อ รวมปริมาตรบ่อ 31,880 ลบ.ม. คิดเป็นจำนวนสุกรที่ระบบรองรับได้ทั้งหมดประมาณ 2 แสนตัว ทำให้ได้ก๊าซชีวภาพปีละ 2.9 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) ได้ประมาณ 1.25 ล้านกิโลกรัม หรือเทียบเท่าก๊าซหุงต้มถังขนาด 15 กิโลกรัม ประมาณ 83,000 ถัง/ปี นอกจากนี้การทำบ่อก๊าซชีวภาพ ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก และเป็นการควบคุมน้ำเสียและกลิ่นที่ปล่อยออกจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งยังได้ปุ๋ยอินทรีย์อีกมาก" ดร.พงษ์พิสิฏฐ์ กล่าว
เกษตรกรรายย่อยที่มีฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดเล็ก เช่น สุกร ไก่ วัว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือขอคำแนะนำได้ที่ เกษตรตำบล สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านท่าน หรือที่ สถาบันพัฒนาและส่งเสริมปัจจัยการผลิต กรมส่งเสริมการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0 2579 3664
ศูนย์ประชาสัมพันธ์รวมพลังหาร 2 โทรศัพท์ 0 2612 1555 ต่อ 201-5 โทรสาร 0 2612 1368
121/1-2 ถ.เพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 www.nepo.go.th-- จบ--
-นห-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ