กรุงเทพฯ--14 พ.ย.--อย.
อย.เตือนโฆษณาเครื่องสำอาง แม้ไม่ต้องขออนุญาติก่อนโฆษณา แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบกำหนดตามกฎหมาย เช่น ไม่สื่อสรรพคุณในทางยา หากฝ่าฝืนมีโทษตามกฏหมาย พร้อมขอให้ผู้บริโภคใช้วิจารณญาณ อย่าหลงเชื่อโฆษณาเกินจริง
ภญ.อังกาบ เวสโกสิทธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อความสะอาด และเพื่อความสวยงามของร่างกายเท่านั้น ไม่อาจทำให้เกิดผลต่อโครงสร้าง หรือการกระทำหน้าที่ใดๆ ของร่างกาย แต่ขณะนี้พบว่าผู้ประกอบธุรกิจบางรายนำเครื่องสำอางไปโฆษณาเกินจริง เช่น รักษาสิวได้ เร่งการสลายไขมัน กระตุ้นให้ทรวงอกใหญ่ขึ้น ทำให้ผิวขาวขี้น กระตุ้นเซลรากผมให้สร้างเส้นผมใหม่ ช่วยกระชับช่องคลอด เป็นต้น ซึ่งข้อความดังกล่าวเข้าข่ายเป็นสรรพคุณยาทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลไม่ ถูกต้องหรือเข้าใจผิดในสาระสำคัญ ถือเป็นการโฆษณาเครื่องสำอางทำให้ผู้อนหลงเชื่อหรือเข้าใจผิดในสรรพคุณของเครื่องสำอางนั้น ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง อย.จึงกำหนดแนวทางในการโฆษณาเครื่องสำอาง เพื่อให้ผู้ประกอบการยึดถือปฏิบัติ คือ ต้องไม่โฆษณาเครื่องสำอางด้วยข้อวความเป็นเท็จเกินความจริง, ต้องไม่โฆษณาสรรพคุณในทางยา เช่น บำบัด บรรเทา รักษษโรค หรืออ้างว่าสามารถมีผลต่อโครงสร้าง หรือการทำหน้าที่ต่างๆ ของร่างกาย, ห้ามโฆษณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกับสรรพคุณที่ขึ้นทะเบียน/หรือจดแจ้งสูตรตำรับเครื่งอสำอาง หรือแจ้งไว้กับกองควบคุมเครื่งอสำอาง, ห้ามโฆษณาด้วยข้อความที่กอง ควบคุมเครื่องสำอางไม่อนุญาตให้แสดงบนฉลาก รวมทั้งห้ามนำชื่อหน่วยงานไปรับรองผลิตภัณฑ์โดยไม่ได้รับอนุญาติจากหน่วยงานนั้นๆ เช่น นำรายงานตรวจวิเคราะห์จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไปโฆษณาว่าผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข ทั้งที่ในรายงานระบุไว้ชัดเจนว่า "ห้ามนำ รายงานนี้ไปประกาศโฆษณา" กรณีต่างๆ เหล่านี้ อย.มีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบระงับการโฆษณาข้อความดังกล่าว หรือให้ผู้กระทำการโฆษณาพิสูจน์เพื่อแสดงความจริง หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ตามที่กล่าวอ้างก็จะมีความผิด
รองเลขาธิการฯ กล่าวย้ำว่า ถึงแม้ว่าการโฆษณาเครื่องสำอางจะไม่กำหนดให้ต้องมีใบอนุญาตจาก อย. ก็ตาม แก่หากโฆษณาสรรพคุณเกินกว่าความเป็นเครื่องสำอาง โดยเฉพาะถ้าสื่อสรรพคุณไปทางยา ก็จะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย มีบทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิด ได้แก่ เจ้าของผลิตภัณฑ์ผู้ประอบกิจการโฆษณารวมทั้งเจ้าของสื่อโฆษณาด้วย ในส่วนของผู้บริโภคขอให้พิจารณาให้ดี อย่าหลงเชื่อโฆษณาเกินจริง หากสงสัยว่ามีการโฆษณาเครื่องสำอางที่ไม่ถูกต้อง สามารถร้องเรียนได้ที่โทร. 590-7354-5 หรือทางไปรษณีย์ที่ ตู้ ปณ.52 ปณจ.นนทบุรี 11000 หรือทางสายด่วนผู้บริโภคกับ อย. โทร. 1556 กด ต่อ 1005--จบ--
-อน-