กรุงเทพฯ--18 มิ.ย.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
การสัมมนาหัวข้อ "How To Get Legal?" จัดโดย
กรมทรัพย์สินทางปัญญาและกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) สมาคมอุตสาห-กรรมซอฟต์แวร์ไทย (เอทีเอสไอ) และสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย (เอทีซีไอ) ร่วมมือกันให้การสนับสนุนการจัดสัมมนาในหัวข้อ "How To Get Legal?" จัดโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาและกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ โดยมุ่งหวังให้องค์กรธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐ ให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ การบริหารซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงผลกระทบของใช้หรือขายซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมายต่อนักพัฒนาไทย งานสัมมนาดังกล่าวได้รับความสนใจตอบรับมากกว่า 2,000 ชื่อ แสดงให้เห็นถึงความสนใจอย่างมากจากแวดวงธุรกิจในการที่จะใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายและปรับใช้แนวการบริหารซอฟต์แวร์ในฐานะสินทรัพย์ขององค์กร
การสัมมนาซึ่งจัดโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาและกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจในครั้งนี้ จะเน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา โดยวิทยากรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ เอทีซีไอ เอทีเอสไอและสมาชิกของบีเอสเอ โดยวิทยากรเหล่านี้จะให้ข้อแนะนำในการจัดซื้อหรือวิเคราะห์ซอฟต์แวร์ที่เป็นของแท้หรือมีลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง การสัมมนาในครั้งนี้นับเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของโครงการ "STOP NOW" ซึ่งผสมผสานกิจกรรมอาทิ ไดเร็กเมล์ให้ความรู้และกระตุ้นเตือน โฆษณา รวมถึงการจัดการสัมมนาและออกร้านในครั้งนี้ด้วย
"เมื่อเดือนที่แล้วบีเอสเอได้จัดส่งไดเร็กเมล์ออกไปยังหน่วยงานธุรกิจ และเราได้รับคำถามและข้อแนะนำจากกลุ่มผู้ใช้ในองค์กรธุรกิจว่าทำอย่างไรถึงจะทราบว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่หรือกำลังจะซื้อนั้นเป็นของถูกกฎหมาย และทำอย่างไรจึงจะแน่ใจว่าซอฟต์แวร์ที่ซื้อเป็นของแท้ การที่มีผู้ให้การตอบรับการเข้าสัมมนาอย่างมากมายขนาดนี้ แสดงให้เห็นถึงความสนใจที่ขยายมากขึ้นของหน่วยงานธุรกิจในการที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมาย" มร. ฮิวอี้ ตัน รองประธาน บีเอสเอ กล่าว
"บีเอสเอมีความมุ่งมั่นที่จะจัดการกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยด้วยนโยบาย 3 ประการ ประการแรกคือการมีส่วนร่วมในการสนทนาและแลกเปลี่ยนข้อมูลในระดับนโยบาย เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าประเทศไทยมีการเตรียมพร้อมในการป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ประการที่สองคือมีความมุ่งมั่นที่จะให้ความรู้ความเข้าใจต่อผู้ใช้ถึงอันตรายของการใช้ของที่ผิดกฎหมาย และประการสุดท้ายคือการประสานงานกับหน่วยงานราชการต่างๆ ในการป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์" มร. ตัน กล่าวเสริม
ข้อมูลเกี่ยวกับบีเอสเอ
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) เป็นตัวแทนของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำของโลกในการปกป้องและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ทั่วโลก บีเอสเอได้จัดกิจกรรมเพื่อให้การอบรมแก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ถึงปัญหาที่เป็นผลกระทบต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ส่งเสริมโอกาสทางการค้าผ่านทางนโยบายของภาครัฐและดำเนินการทางกฏหมายเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ของสมาชิกของบีเอสเอ สมาชิกของบีเอสเอเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในระดับประเทศและทั่วโลก ได้แก่ แอ็คแทร็ก21 (AccTrak21), อะโดบี, แอปเปิล, ออโต้เดสก์, เบนท์เลย์ ซิสเต็มส์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์ อิงค์, คอเรล คอร์ปอเรชั่น, อินไพรส์, โลตัส ดีเวลลอปเมนท์, มาโครมีเดีย, ไมโครซอฟท์, เน็ตเวิร์ค แอสโซเอทส์, โนเวลล์, ไซแมนเท็ค และวิสซิโอเป็นต้น ส่วนที่ปรึกษาทางด้านนโยบายของบีเอสเอประกอบด้วยบริษัทต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นรวมถึง คอมแพค, ไอบีเอ็ม, อินเทล, อินทูวิท และไซเบสด้วย
นอกจากนี้ บีเอสเอยังมีสมาชิกและได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสมาคมซอฟต์แวร์และบริษัทซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคด้วย สำหรับในประเทศไทยบีเอสเอได้ร่วมมือกับสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณปราณี เฉลิมธนศักดิ์
บริษัทพีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัด
โทรศัพท์: 971 3711 โทรสาร: 521 9030
อีเมล์: [email protected]
เยี่ยมชม Website BSA ได้ที่ www.bsa.org-- จบ--
-อน-
- ธ.ค. ๒๕๖๗ "สัมมนา "Buyer Forum I" เน้นพัฒนาระบบเครือข่าย
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ไอทีเทรด 2001 โฉมใหม่ เน้นไอทีเชิงธุรกิจ
- ธ.ค. ๒๕๖๗ นับถอยหลังสู่ ไอที เทรด 2000