ฮิตาชิประกาศความสำเร็จการพัฒนาหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขนาดเล็กที่สุดในโลก เพื่อผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขนาด 4 เทราไบท์

พุธ ๒๔ ตุลาคม ๒๐๐๗ ๑๑:๐๓
กรุงเทพฯ--24 ต.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค
การย่อส่วนของเทคโนโลยีการบันทึกลง 2 เท่า ช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์สำหรับโน้ตบุ๊คมีความจุ 1 เทราไบท์ และ 4 เทราไบท์สำหรับเดสก์ทอป เป็นความจริงได้ในปี 2545
บริษัท ฮิตาชิ จำกัด และฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ฮิตาชิ จีเอสที) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในวันนี้ว่า บริษัทได้พัฒนาเทคโนโลยีหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถความจุในการบันทึกข้อมูลได้ถึง 4 เท่าตัว จากเดิมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของเดสก์ทอปมีความจุ 1 เทราไบท์ให้สูงขึ้นเป็น 4 เทราไบท์ และเพิ่มความจุเป็น 1 เทราไบท์สำหรับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของโน้ตบุ๊ค
นักวิจัยของฮิตาชิประสบความสำเร็จในการลดขนาดหัวอ่านให้มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมกว่าครึ่ง จนได้หัวอ่านที่มีขนาดระหว่าง 30 — 50 นาโนมิเตอร์ (หนึ่งส่วนล้านของหนึ่งมิลลิเมตร) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าความกว้างของเส้นผมมนุษย์โดยเฉลี่ยกว่า 2,000 พันเท่า (ความกว้างของเส้นผมมนุษย์มีขนาด 70-100 ไมครอน โดยประมาณ) ซึ่งเรียกหัวอ่านรุ่นใหม่นี้ว่า ซีพีพี-จีเอ็มอาร์ (CPP-GMR = current perpendicular-to-the-plane giant magneto-resistive1) โดยคาดว่าเทคโนโลยีหัวอ่านใหม่จะเริ่มนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ภายในปี พ.ศ. 2552 และสามารถพัฒนาจนเต็มศักยภาพได้ในปี 2554
บริษัทฮิตาชิจะแถลงความสำเร็จครั้งนี้ในงานประชุมการบันทึกข้อมูลแถบแม่เหล็กในแนวดิ่งครั้งที่ 8 (Perpendicular Magnetic Recording Conference -- PMRC 2007) ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 15-17 ตุลาคม 2550 ณ โตเกียว อินเตอร์เนชั่นแนล ฟอรั่ม ประเทศญี่ปุ่น
มร. ฮิโรอากิ โอดะวาระ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ของศูนย์วิจัยเทคโนโลยีความจุ ซึ่งเป็นห้องวิจัยกลางของฮิตาชิ กล่าวว่า “บริษัทฯ ลงทุนอย่างต่อเนื่องในงานวิจัยเชิงลึกเพื่อพัฒนาฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เพราะเราเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ คงไม่มีเทคโนโลยีอื่นที่จะสามารถเพิ่มความจุของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ได้มากขึ้นและราคาลดลงได้ ซึ่งความสำเร็จของการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่นี้ ก็เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อฮิตาชิเองและผู้บริโภคอีกด้วย โดยจะช่วยเร่งการเติบโตของการจัดเก็บข้อมูล “ยุคเทราไบท์” ที่ฮิตาชิได้เป็นผู้ริเริ่ม และหยิบยื่นโอกาสในการจัดเก็บข้อมูลดิจิตอลอย่างไร้ขีดจำกัดแก่ผู้บริโภคอีกทางหนึ่ง”
ฮิตาชิเชื่อว่าหัวอ่านแบบซีพีพี-จีเอ็มอาร์นี้ จะช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์สามารถเพิ่มความจุในการบันทึกข้อมูลต่อพื้นที่ได้ถึง 500 กิกะบิทต่อตารางนิ้ว ถึง 1 เทราบิทต่อตารางนิ้ว ซึ่งมากกว่าความจุต่อพื้นที่ในปัจจุบันถึง 4 เท่า โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาฮิตาชิ จีเอสทีได้เปิดตัวฮาร์ดไดรฟ์ 1 เทราไบท์ตัวแรกของวงการ ด้วยความจุ 148 กิกะบิทต่อตารางนิ้ว ในขณะนี้ผลิตภัณฑ์ของทางบริษัทฮิตาชิ จีเอสที มีค่าความจุต่อพื้นที่สูงสุดอยู่ที่ราว 200 กิกะบิทต่อตารางนิ้ว และใช้เทคโนโลยีหัวอ่านที่เรียกว่า หัวอ่านทีเอ็มอาร์ 2 (tunnel-magneto-resistive) ซึ่งทั้งเทคโนโลยีหัวอ่านและสื่อบันทึกนับเป็นสองปัจจัยหลักที่ควบคุมวิวัฒนาการลดขนาดหัวอ่านและเพิ่มขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
การตัดเสียงรบกวน — เทคโนโลยีการกรองเสียงรบกวน (SNR)
ในการพัฒนาฮาร์ดไดรฟ์ที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องนี้ จำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพในการบีบอัดข้อมูล เพื่อทำให้ข้อมูลมีขนาดเล็กลงและสามารถบันทึกลงสื่อบันทึกได้ในปริมาณที่มากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาหัวอ่านให้มีขนาดเล็กลงเพื่ออ่านข้อมูลขนาดเล็กที่ถูกบีบอัดเหล่านั้นด้วย เมื่อหัวอ่านมีขนาดเล็กลง ความต้านทานไฟฟ้าก็จะมีมากขึ้น ก็จะทำให้เกิดเสียงดังมากขึ้นขณะฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ทำงาน และความแม่นยำในการอ่านสัญญานข้อมูลของหัวอ่านลดลง
ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ทำงานอยู่นั้น การส่งสัญญาณขาออกควรอยู่ในระดับที่สูง และไม่ส่งเสียงดังในขณะทำงาน ดังนั้นเหล่านักวิจัยจึงมุ่งที่จะพัฒนาเทคโนโลยีการกรองเสียงรบกวน (SNR) ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้เหล่านักวิจัยต่างเกรงว่า การใช้หัวอ่านแบบทีเอ็มอาร์ (TMR) จะให้ความแม่นยำในการอ่านข้อมูลลดลง โดยเฉพาะกรณีที่ข้อมูลถูกบีบอัดจนมีความหนาแน่นเกินกว่า 500 กิกะบิทต่อตารางนิ้วขึ้นไป
หากเปรียบกับหัวอ่านทีเอ็มอาร์ (TMR) แล้วหัวอ่านแบบซีพีพี-จีเอ็มอาร์ (CPP-GMR) มีแรงต้านทานไฟฟ้าต่ำกว่า เป็นผลทำให้เกิดเสียงระหว่างทำงานเบากว่า แต่ข้อเสียก็คือการส่งสัญญาณขาออกต่ำกว่า ดังนั้นปัญหาเกี่ยวกับการส่งสัญญาณขาออกที่ต่ำเกินไปจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขก่อนที่จะมีการนำเทคโนโลยีซีพีพี-จีเอ็มอาร์ มาใช้จริง
จากปัญหาดังกล่าว บริษัท ฮิตาชิ จำกัด และฮิตาชิ จีเอสที ได้ร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีการส่งสัญญานขาออกสูงและเทคโนโลยีการลดเสียงเพื่อใช้กับหัวอ่านแบบ ซีพีพี-จีเอ็มอาร์ ซึ่งฟิล์มแม่เหล็กที่มีการหมุนของอิเล็กตรอนแบบกระจาย ได้ถูกใช้ในเลเยอร์ของซีพีพี-จีเอ็มอาร์ เพื่อเพิ่มสัญญาณขาออกจากหัวอ่าน โดยเทคโนโลยีใหม่สำหรับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่มีรูปแบบการทำงานแบบไม่ทำลายรายละเอียดบนแผ่น และการกดเสียงให้ดังน้อยลงได้รับการพัฒนาขึ้น ก่อให้เกิดเทคโนโลยีการกรองเสียงรบกวน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดผลการปฏิบัติงานของหัวอ่านที่ควรได้รับการปรับปรุงอย่างมาก ซึ่งศูนย์วิจัยฮิตาชิ จีเอสที ที่เมืองซาน โฮเซ่ และศูนย์วิจัยกลางที่บริษัท ฮิตาชิ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมมือกันในการพัฒนาหัวอ่านที่มีความกว้างที่ 30 นาโนเมตรและ 50 นาโนเมตร ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีการกรองเสียงรบกวนที่ดีที่สุดโดยมีระดับความดังเพียง 30 และ 40 เดซิเบลตามลำดับ
หัวอ่านแบบทีเอ็มอาร์ที่วางจำหน่ายในปัจจุบันมีความกว้างที่ 70 นาโนเมตร คาดว่าหัวอ่านที่มีความกว้าง 50 นาโนเมตร จะสามารถวางจำหน่ายในปี 2552 และหัวอ่านที่มีความกว้าง 30 นาโนเมตร จะมีวางจำหน่ายในปี 2554
หัวอ่านที่มีขนาดเล็กอย่างไม่น่าเชื่อ
การค้นพบปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงความต้านทานแม่เหล็กขนาดใหญ่ (GMR - Giant magneto resistive effect) เกิดขึ้นในปี 2531 การค้นพบดังกล่าวกลายเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธาณชนหลังจากที่ผู้คิดค้นได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกซ์เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเวลาเกือบสองทศวรรษหลังการค้นพบ และในปัจจุบันเทคโนโลยี GMR จะกลายเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นจากการเปิดตัวเทคโนโลยีหัวอ่านแบบซีพีพี-จีเอ็มอาร์ (CPP-GMR) ของฮิตาชิ
ในปี พ.ศ. 2540 เก้าปีหลังการค้นพบเทคโนโลยีจีเอ็มอาร์ บริษัทไอบีเอ็มได้นำหัวอ่าน GMR มาใช้ในอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกในฮาร์ดไดรฟ์รุ่น Deskstar 16GXP ซึ่งหัวอ่านจีเอ็มอาร์ช่วยให้ความจุฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ อันเห็นได้จากการที่ความจุของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆปีในช่วงตอนต้นของศตวรรษที่ 21 ถึงแม้ในปัจจุบันนี้การพัฒนาด้านความหนาแน่นของการบันทึกข้อมูลจะชะลอลง การพัฒนาของเทคโนโลยีหัวอ่านและนวัตกรรมของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์อื่นๆ ที่เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ยังผลให้ความจุของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆ สองปี
ตลอดระยะเวลากว่า 15 ปีที่ผ่านมา ขนาดของหัวอ่านในอุตสาหกรรมฮาร์ดไดรฟ์มีขนาดเล็กลงอย่างมาก เนื่องจากความจุต่อพื้นที่และความสามารถในการจัดเก็บพิ่มมากขึ้น ซึ่งหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ตัวแรกถูกเรียกว่า หัวอ่านแบบเหนี่ยวนำ (inductive head) ได้เปิดตัวขึ้นในปี 2499 เพื่อการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์รุ่นแรกชื่อ RAMAC โดยมีความกว้าง 1:20 นิ้ว หรือ 1.2 ล้านนาโนเมตร และในปัจจุบันหัวอ่านแบบซีพีพี-จีเอ็มอาร์ (CPP-GMR) มีความกว้างของหัวอ่านเพียง 1 ในล้านของ 1 นิ้ว หรือ 30 นาโนเมตร หรืออีกนัยหนึ่งก็คือหัวอ่านแบบซีพีพี-จีเอ็มอาร์ (CPP-GMR) ในปัจจุบันมีขนาดที่เล็กมาก หรือคิดเป็น 1 ใน 40,000 ส่วนเท่านั้น เมื่อเทียบกับหัวอ่านแบบเหนี่ยวนำในฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์รุ่น RAMAC ในปี 2499
หมายเหตุ
1. ซีพีพี-จีเอ็มอาร์ (CPP-GMR) เป็นทางเลือกจากหัวอ่านทีเอ็มอาร์เดิม โดยเทคโนโลยีซีพีพี-จีเอ็มอาร์มีระดับแรงต้านทางไฟฟ้าที่ต่ำกว่าเนื่องจากใช้ตัวนำโลหะแทนตัวนำที่เป็นโพรง และเหมาะสำหรับการทำงานความเร็วสูงและแบบขั้นบันได ในมิติที่เล็กลง
2. หัวอ่านทีเอ็มอาร์ (TMR) หรือเรียกว่าเครื่องมือทีเอ็มอาร์ ประกอบด้วย เลเยอร์ 3 ชั้น ซึ่งมีฟิล์มสนามแม่เหล็ก ประกบกับฟิล์มกันความร้อน การเปลี่ยนแปลงในแรงต้านทานเกิดขึ้นเมื่อทิศทางกระแสแม่เหล็กของเลเยอร์สนามแม่เหล็กทั้งบนและล่างเปลี่ยนแปลง (ขนานกันหรือผลักกันออก) ซึ่งเรียกกันว่า ปรากฏการณ์ทีเอ็มอาร์ และอัตราส่วนแรงต้านทานไฟฟ้าระหว่างสองขั้วซึ่งถูกเรียกว่าสัดส่วนแรงต้านทานแม่เหล็ก
เกี่ยวกับ ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ฮิตาชิ จีเอสที(
ฮิตาชิ จีเอสที ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2546 ในฐานะที่เป็นบริษัทร่วมระหว่าง ฮิตาชิ และ ไอบีเอ็ม โดยมีเป้าหมายในการประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยีการเก็บข้อมูล จุดมุ่งหมายหลักของบริษัทฯ คือการอำนวยความสะดวกด้านการเข้าถึงข้อมูลดิจิตอลปริมาณมากๆ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลได้อย่างสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมการใช้งานทั้งในสำนักงาน บนท้องถนนหรือที่บ้านพักอาศัยทั่วไป ทำให้ผู้บริโภคสามารถดำเนินชีวิตในโลกดิจิตอล ด้วยการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์คุณภาพสูง
จากประวัติอันยาวนานในการประดิษฐ์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ฮิตาชิ จีเอสที เป็นผู้นำตลาดด้วยการฉลองปีทองของเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล ในปี 2549 ที่ผ่านมา ฮาร์ดไดรฟ์มีอิทธิพลอย่างมากต่ออุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และคอนซูมเมอร์อิเล็กทรอนิคส์นับตั้งแต่มีการคิดค้นนวัตกรรมนี้เมื่อ50 ปีที่แล้ว และสิ่งนี้คือมรดกของฮิตาชิ จีเอสที ในวันนี้สู่นิยามของ
ฮาร์ดไดรฟ์ขนาดเล็กที่ได้มาตรฐาน ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล ประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ
ฮิตาชิ จีเอสที บริษัทฯ ผลิตและจำหน่ายฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เพื่อการเก็บข้อมูลหลากหลายประเภท รวมถึงฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์สำหรับเดสก์ท็อปคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ประสิทธิภาพสูง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คอนซูเมอร์ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฮิตาชิ จีเอสที สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.hitachigst.com
เกี่ยวกับ Hitachi, Ltd.
Hitachi, Ltd. (NYSE: HIT / TSE: 6501) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิคส์ชั้นนำระดับโลก ที่มีพนักงานประมาณ 356,000 คนทั่วโลก ในปีพ.ศ. 2548 บริษัทมียอดจำหน่ายสินค้าโดยรวมปีงบประมาณสิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549 จำนวน 9,464 พันล้านเยน (80.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ) บริษัทฯนำเสนอผลิตภัณฑ์ ระบบต่างๆ และบริการทางธุรกิจที่ครอบคลุมตลาดมากมาย อาทิ ตลาดระบบสารสนเทศ อุปกรณ์อิเล็กโทรนิคส์ ตลาดระบบพลังงานและอุตสาหกรรม ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค และตลาดบริการทางการเงินและวัสดุภัณฑ์ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Hitachi สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ http://www.hitachi.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
รุ่งนภา ชาญวิเศษ/ ชัญญณัฐ วิทย์วโรปกรณ์
เวเบอร์ แชนด์วิค (ประเทศไทย)
โทร. 0-2343-6000 ต่อ 061 หรือ 062
อีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version