สสว. เพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่ให้สมาชิก เปิดช่องทางเข้าถึง SMEsโดยตรง

พฤหัส ๐๔ ตุลาคม ๒๐๐๗ ๑๓:๕๐
กรุงเทพฯ--4 ต.ค.--คอร์ แอนด์ พีค
สสว. เพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่แก่ผู้สมัครสมาชิก หวังใช้ฐานข้อมูลพัฒนาบริการและกิจกรรมสนับสนุน พร้อมใช้ช่องทางเข้าถึงผู้ประกอบการ SMEs โดยตรง เพื่อตอบสนองความต้องการการพัฒนาธุรกิจและการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการใหม่
นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวถึง โครงการสมาชิก สสว. และกิจกรรมสิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิก สสว. ว่า ในการรับสมัครสมาชิกนั้น สสว.ได้มีแผนเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับมากมายในอนาคต ได้แก่ การจัดทำบัตรสมาชิก สสว. เพื่อรับสิทธิพิเศษในการใช้บริการของ สสว. และหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ และการจัดฝึกอบรมการสร้าง Webpage เพื่อการโฆษณาสินค้าผ่าน Website ของ สสว. รวมถึงกระจายกิจกรรมหรือการฝึกอบรมสัมมนาสู่ต่างจังหวัดให้มากขึ้นอีกด้วย
ผอ. สสว. กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา สสว. ได้ดำเนินการสนับสนุนผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกโดยการจัดกิจกรรมสิทธิประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม เช่น จัดส่งจุลสารวิเคราะห์สถานการณ์ SMEs โดยเฉลี่ยเดือนละ 1 ฉบับ และ ดำเนินการจัดส่งข้อมูลสมาชิก สสว. ให้แก่ธนาคารหรือหน่วยงานที่สนับสนุน SMEs ต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น SMEs Bank, สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น นอกจากนั้นยังเชิญชวนสมาชิกเข้าร่วมการฝึกอบรม/สัมมนาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น การจัดสัมมนาเพื่อรายงานสถานการณ์และเตือนภัย SMEs รวมถึงการแจ้งข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวการจัดกิจกรรม พร้อมใช้บริการ SMEs@Click เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจหรือการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการใหม่ ตลอดจนเชิญสมาชิกร่วมงานแสดงและจำหน่ายสินค้า โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น งานมหกรรมของกินของใช้ไทยแลนด์ 2007 และงานมหกรรมการเงิน ปี 2550 เป็นต้น
“ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการ SMEs และประชาชนทั่วไปให้ความสนใจและร่วมสมัครเป็นสมาชิก สสว. กว่า 30,000 ราย โดยการสมัครเป็นสมาชิกและกิจกรรมสิทธิประโยชน์ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด นอกจากนั้นการสมัครสมาชิกยังเป็นการช่วยให้ สสว. มีฐานข้อมูลผู้ประกอบการเพิ่มเติม และเป็นช่องทางให้ สสว. ได้เข้าถึงผู้ประกอบการได้โดยตรง ตลอดจนทำให้การพัฒนาการดำเนินธุรกิจสามารถดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย” ผอ. สสว. กล่าว
อย่างไรก็ตาม สสว. ได้เปิดช่องทางการสมัครเป็นสมาชิกจำนวน 5 ช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์ www.sme.go.th , สสว. Call Center หมายเลขโทรศัพท์ 0-2686-9111 กด 0 หรือ ติดต่อที่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เลขที่ 21 อาคาร TST Tower ชั้น G ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2278-8800 ต่อ 400, ศูนย์บริการร่วมลงทุนและพี่เลี้ยง SMEs ประจำภูมิภาค และศูนย์บริการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ iSMEs
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) คือหน่วยงานของรัฐที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543 เริ่มดำเนินกิจการครั้งแรกในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 มีวิสัยทัศน์เป็นองค์กรผู้นำในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์การส่งเสริม SMEs และเป็นศูนย์กลางประสานระบบการทำงานของภาครัฐและเอกชน เพื่อผลักดันให้ SMEs เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
คุณคริษฐา ม่วงเลี่ยม
ส่วนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
โทร 0-2278-8800 ต่อ 512
คุณชุติมันต์ เหลืองทองคำ และ คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด โทร 0-2439-4600 ต่อ 8204, 8300
โทรศัพท์มือถือ: 085-199-0226, 081-694-7807
อีเมล์ : [email protected] , [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ