กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--เจดับบลิวที พับบลิค รีเลชั่นส์
วันนี้ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะ “วิกฤติทางการศึกษาแล้ว” เช่นนั้นหรือ? เพราะที่ผ่านมามีหลายประเด็นส่อเข้าข่ายให้เกิดคำถามเบื้องต้น รศ.สุมาลี เหลืองสกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ในฐานะประธานการจัดตั้งศูนย์วิจัยและความรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์ และประธานในโครงการเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะในนิสิตเพื่อเป็นบัณฑิตในอุดมศึกษา บอกว่า มีปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้รู้สึกว่าการศึกษาเกิดวิกฤตขึ้นมาแล้ว
จากการสำรวจคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และยังมีปัญหาในเรื่องความประพฤติในสังคม มีการบริโภคนิยมมากเกินไป ทำให้เกิดเป็นปัญหาหนี้สิน ปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์ ซึ่งต้องช่วยกันแก้ไขไปพร้อมๆกัน และเรื่องของงบประมาณในการสนับสนุนการศึกษาก็ต้องพอเพียง สิ่งที่สะท้อนออกมาก็คือ สังคมกำลังวิกฤตและขาดคนที่เป็นต้นแบบแก่เด็กๆและ เยาวชน
“ดำริ ตันชีววงศ์” ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ซีเมนต์ไทย โฮลดิ้ง จำกัด มีมุมมองว่า การศึกษาไทยกำลังมีปัญหา แต่ไม่ถึงขั้นวิกฤติ เพราะระบบการศึกษาของประเทศไทยไม่ได้เอื้อต่อการพัฒนาคนระยะยาว ส่วนใหญ่การเรียนการสอนยังมุ่งเน้นในเรื่องของเนื้อหาวิชาการ ท่องจำมากเกินไป ไม่ได้ปลูกฝังให้เกิดการรู้จักคิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถใช้พัฒนาในการทำงานต่อไปได้ แต่โรงเรียนที่เขาทำดีๆ ก็มี อย่างเช่นโรงเรียนสาธิตต่างๆ
ปัญหาการศึกษาของประเทศไทยในภาพรวม คือ มีการสอนให้รู้จักกระบวนการ คิดแต่ยังไม่สามรถกระจายสิ่งต่างๆเหล่านี้ไปยังสถานการศึกษาทั้งหมด และยังขาดเรื่องความสมดุลในการใช้ชีวิตของนักเรียน เพราะนอกจากที่โรงเรียนแล้วยังต้องใช้เวลาไปกับการศึกษานอกระบบ การกวดวิชาต่างๆ ค่อนข้างมาก ทำให้ขาดเวลาในการสร้างสมดุลในการใช้ชีวิต เช่น ออกกำลังกายหรือทำในสิ่งที่เขาชอบ ทำให้ขาดความสุขในชีวิต ซึ่งก็เป็นปัญหาในระดับหนึ่งแต่ไม่ถึงกับวิกฤต ซึ่งเราสามาถนำตัวอย่างการปฏิบัติของโรงเรียนที่ดี ไปปรับใช้กับโรงเรียนอื่นๆได้
“มนตรี ศรไพศาล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กิมเอง และเป็นศิษย์เก่าโรงเรียน มศว. ปทุมวัน กล่าวว่า การศึกษาคงยังไม่ถึงกับวิกฤต โดยสิ่งที่เราต้องการไม่ใช่เด็กที่เรียนตามผู้ใหญ่ แต่เป็น เด็กที่พร้อมจะเอาพรสวรรค์ข้างในออกมาให้ได้มากกว่าคนรุ่นเก่า
“ปรัชญาการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ แทนที่จะใช้หลักจับผิดให้ใช้หลักจับถูก คือเขาอยู่ตรงไหนก็ตามพยายามส่งเสริมเขาขึ้นไปเชื่อในคุณค่าของเขาผมเชื่อว่ามันจะมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาอยู่มาก”
ในหลายมุมมองที่สะท้อนถึงรูปแบบการศึกษาของประเทศไทยบ้างก็บอกว่าคือปัญหาที่ร้ายแรง แต่ความเห็นอีกส่วนหนึ่ง เชื่อว่าปัญหานี้มีทางออก แต่ที่จะทำให้เกิดความชัดเจน กระจ่างได้ทุกคำถาม สามารถหาคำตอบได้ ในงานสาธิต วิชาการ ครั้งที่ 2 และงาน Educa 2007 ที่จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคมนี้ ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา รองศร.ดร.สมชาย ชูชาติ ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และรักษาการคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ในฐานะประธานจัดงานสาธิตวิชาการ กล่าวว่า ในงานสาธิตวิชาการนี้ ได้นำนวัตกรรมหรือความคิด ผลจากการปฏิบัติที่โดดเด่นของบรรดาโรงเรียนสาธิตทั้ง 16 แห่ง มานำเสนอต่อสาธารณะชน อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยน และเรียนรู้ซึ่งกันและกับของโรงเรียนสาธิต รวมไปถึงโรงเรียนอื่นๆ ด้วย
“เราต้องการนำนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นการเรียนการสอนในแบบโรงเรียนสาธิต เผยแพร่ออกไปสู่สาธารณะชน และโรงเรียนแห่งอื่น ดังนั้นจึงมีนโยบายในการสร้างเครือข่ายนำระบบ การเรียนการสอน ก็คือ คงความเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนสาธิตไว้ แต่จะไปเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ อย่างเช่น โครงการที่โรงเรียนสาธิตของเราทั้งประถมและมัธยมจะทำอยู่ตอนนี้ก็คือไปทำที่เทศบาล จังหวัดเชียงราย เพราะว่าโรงเรียนที่นั่นเขาพร้อมอยากให้เราไปเป็นต้นแบบ คือ ต้องไปทำความเข้าใจกับการเรียนการสอนของเขาก่อนแล้วจึงนำวิธีคิดแบบสาธิตไปแนะนำ แล้วดูว่าเขาสามารถนำไปใช้ได้แค่ไหน ซึ่งเขาก็จะเป็นคนเลือกที่นำไปใช้เอง และต่อไปในอนาคตจะเป็นโรงเรียนต้นแบบในอีก 76 จังหวัดทั่วประเทศ”
“ศีลชัย เกียรติภาพันธ์” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญและจำเป็นของภาคเอกชนในการมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาวงการการศึกษาของประเทศไทย จึงได้จัดงาน EDUCA 2007 ขึ้น ไทย เป็นการดำเนินงานภายใต้แนวคิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership) ด้วยการประสานความเชี่ยวชาญทางธุรกิจของภาคเอกชนบูรณาการร่วมกับการกำหนดนโยบายและความสามารถในการดำเนินงานของภาครัฐ
การจัดงาน EDUCA 2007 นี้ เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการศึกษาแนวใหม่ของชุมชนการศึกษาไทย ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครูอาจารย์ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมถึงผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปที่สนใจในการศึกษา โดยเปิดเป็นเวทีเสวนา และประชุมวิชาการ ทั้งยังจัดเป็นพื้นที่แสดงผลงานที่เป็นศูนย์กลางการจัดแสดงนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา เทคโนโลยี พร้อมอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนอีกด้วย โดยความพิเศษที่จะเกิดขึ้นในงาน EDUCA 2007
การนำเสนอความรู้ภายในงาน จะนำเสนอภายใต้รูปแบบ ศาสตร์ของการศึกษาและการศึกษาวิทยาศาสตร์” ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน ของการศึกษาทั้งในมิติปัจจุบันจนถึงอนาคต อันได้แก่ 1. นโยบายและยุทธศาสตร์ 2. บุคลากรและกระบวนการ 3. เครื่องมือ 4. สถานที่ และเทคโนโลยี
ภายในงานจะนำเสนอในส่วนของนิทรรศการ ส่วนสาธิตผลงาน (Demonstration Showcase) หรือส่วนนวัตกรรมสาธิต ซึ่งถือเป็น Hi-Light ของงาน โดยจะมุ่งสร้างประสบการณ์ของผู้เข้าชมให้ได้สัมผัส และเข้าถึงมิติใหม่ๆ ของกระบวนการ ตลอดจนเทคโนโลยีที่ใช้ในการสอน การสร้างและพัฒนาบุคลากร อาทิ ห้องฝึกคิด ค้นหาคำตอบ พร้อมฝึกสมองกับอุปกรณ์คิดสนุกแบบไร้ขีดจำกัด ยังมีแหล่งการเรียนรู้ ที่เปิดมุมมองใหม่นอกตำรา ในนิทรรศการห้องสมุดสุดประทับใจจากสิงคโปร์ พร้อมนวัตกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย
ส่วนการประชุมและเสวนาทางวิชาการ “Forum” โดยเป็นการเปิดประเด็นทางการศึกษาที่น่าสนใจในมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย จากผู้เชี่ยวชาญในวงการศึกษาทั้งจากภาครัฐและเอกชน อาทิ การเตรียมความพร้อมของบุคลากร แนวคิดการสร้างอัจฉริยะ การพัฒนาสมองจากคุณวาเนสซา เรซ และแนวคิดของการเน้นการเรียนรู้มากกว่าการสอน การปลูกฝังและเพิ่มผลผลิตในสถานศึกษา ความเป็นอยู่และมาตรฐานของครู สอนลูกให้คิด สอนศิษย์ให้แก้ปัญหา และแนวคิดของการเน้นการเรียนรู้มากกว่าการสอน
ส่วนสุดท้าย คือการแสดงสินค้า “Trade Exhibition” ที่จะเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งระบบกับผู้ซื้อและผู้รับบริการ มุ่งเน้นให้เอกชนเข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาการศึกษาผ่านการนำเสนอนวัตกรรมที่น่าสนใจของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สื่อการเรียนการสอน เฟอร์นิเจอร์ คอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ เป็นต้น
“ความคาดหวังในการจัดงาน EDUCA 2007” ในครั้งนี้ คือการสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทางการศึกษา โดยนำความรู้ที่ได้จากการเยี่ยมชมงาน การดู Showcase แบบต่างๆ จะสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุง ดัดแปลง และพัฒนาการศึกษาของตนเอง จนสามารถขยายผลไปถึงที่บุคคลที่บ้าน ชุมชนและสังคมโดยรอบ อันจะนำประโยชน์ไปสู่การพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยในที่สุด”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
เจดับบลิวที พับบลิค รีเลชั่นส์
วิลาสินี โฆษจันทร / ศริญญา แสนมีมา โทร 081-734-2756,02-204-8218
โทรสาร 02-259-9246