ผู้ส่งออกไทยตื่นตัวร่วมสัมมนา U.S. Trade Polic เพื่อปรับกลยุทธ์การค้า

ศุกร์ ๒๘ กันยายน ๒๐๐๗ ๑๑:๓๖
กรุงเทพฯ--28 ก.ย.--กรมการค้าต่างประเทศ
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า
ตามที่กรมการค้าต่างประเทศ ได้ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ
กรุงวอชิงตัน จัดสัมมนาเรื่อง “U.S. Trade Policy : Implications for Thai
Exports ” ระหว่างวันที่ 18 -19 กันยายน 2550 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชั่น
เซ็นเตอร์ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์
โดยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา (DOC)
มาเป็นวิทยากรร่วมบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ฉบับใหม่
เช่นการให้สิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (IPR) มาตรการ
AD และ CVD แก่ผู้ส่งออกไทยที่สนใจและมีการเปิดคลินิกให้คำแนะนำในการทำธุรกิจกับสหรัฐฯ
สรุปผลการสัมมนาได้ ดังนี้
1. ภาพรวมของการค้าสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับหนึ่งของไทย
มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน ในปี 2549 สูงถึง 30.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
โดยไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าป้อนสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ 18
สินค้าที่มีศักยภาพของไทยเป็นสินค้าเกษตร ได้แก่ กุ้งแช่เย็น/แช่แข็ง
อาหารทะเล ข้าว เป็นต้น ปัจจุบันสหรัฐฯ ได้ให้สิทธิพิเศษฯทางการค้า (GSP)
แก่ไทย ซึ่งได้ต่ออายุไปจนถึง 31 ธันวาคม 2551 ไทยใช้สิทธิ GSP เป็นอันดับ 3
รองจากแองโกล่า และอินเดีย โดยในปี 2549 สหรัฐฯ ตัดสิทธิ GSP สินค้าของไทย 3
รายการ คือ อัญมณีและเครื่องประดับที่ทำด้วยโลหะมีค่า เม็ดพลาสติก
และโทรทัศน์สี ซึ่งสหรัฐฯ จะเปิดโอกาสให้ยื่นคำร้องขอคืนสิทธิได้ภายในวันที่
16 พฤศจิกายน 2550
สำหรับนโยบายการค้าสหรัฐฯ ฉบับใหม่ เน้นให้ความสำคัญกับการจัดทำเขตการค้าเสรี
(FTA) ซึ่งปัจจุบันได้ทำแล้วเสร็จจำนวน 15 ฉบับ กับ 20 ประเทศ
และล่าสุดได้ลงนามกับเกาหลีใต้ และอยู่ระหว่างรอผลการอนุมัติจากสภาอีก 2 ฉบับ
คือเปรู และปานามา ในส่วนของไทยได้เริ่มจัดทำเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ
มาตั้งแต่ปี 2547 และได้หยุดชะงักการเจรจาไปเมื่อต้นปี 2549 ซึ่งสหรัฐฯ
คาดว่าน่าจะเจรจาต่อได้ เมื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่แล้วเสร็จ
ส่วนประเด็นการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (U.S. Intellectual Property
Rights (IPR) Policy) สหรัฐฯ
ถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
และมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของทุกประเทศ
การปลอมแปลงและละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ปีละ 200 -250 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สหรัฐฯ
จึงดำเนินนโยบายการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเคร่งครัด
2. ระบบมาตรฐานของสหรัฐฯ เป็นระบบมาตรฐานสมัครใจโดยจะพัฒนาตามเงื่อนไข
ของตลาด ซึ่งสหรัฐฯ
มีหน่วยงานกำหนดมาตรฐานอยู่หลายแห่งและยังได้ร่วมมือกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของไทยด้วย
การกำหนดมาตรฐานสินค้าเป็นการให้ความคุ้มครอง และสร้างความมั่นใจแก่ประชาชน
และอาจเป็นการกีดกันทางการค้าได้อีกทางหนึ่งด้วย
3. พิธีการศุลกากรของสหรัฐฯ ปัจจุบันได้พัฒนาโครงการ Custom —Trade
Partnership Against Terrorism ขึ้น เพื่อป้องกันภัยจากการก่อการร้าย
ที่อาจมาพร้อมกับการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากคู่ค้ากว่า 6,000
แห่ง ส่งผลให้จำนวนการสุ่มตรวจ ณ ด่านนำเข้าลดลง
และได้จัดตั้งศูนย์กลยุทธ์การค้า โดยแบ่งตามประเด็นการค้าและสินค้าหลักที่สำคัญ
คือ Chicago ดูแลด้านภาษี , Dallas ดูแลด้านโควต้า สาธารณสุขความปลอดภัยอาหาร
การติดฉลากสินค้าและแหล่งกำเนิดสินค้า , Los Angeles ดูแลด้านทรัพย์สินทางปัญญา
, New York ดูแลด้านสิ่งทอ , Florida ดูแลด้านมาตรการ AD/CVD นอกจากนี้
ได้จัดตั้งคณะทำงานด้านการตรวจสอบสินค้าเกษตร ณ
ด่านนำเข้าเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของศัตรูพืชที่อาจติดมากับสินค้านำเข้าด้วย
4. U.S. Antidumping, Countervailing Duty and Safeguard Measures
ได้ชี้แจงกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินมาตรการ AD , CVD และ Safeguard
ของสหรัฐฯ รวมถึงการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ การประเมินความเสียหาย การคำนวณอากร
การไต่สวนและการเตรียมหลักฐานเมื่อมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นพร้อมยกตัวอย่างกรณีปัญหาการค้าไทยในขณะนี้
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่าผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ได้รับประโยชน์จากการสัมมนาเป็นอย่างมาก
นอกจากจะได้รับทราบถึงแนวนโยบายการค้าใหม่ของสหรัฐฯ
กระบวนการขั้นตอนในการดำเนินมาตรการ AD , CVD และsafeguard
รวมถึงพิธีการศุลกากรของสหรัฐฯแล้ว ยังได้ทราบถึงขั้นตอนการดำเนินธุรกิจการค้ากับสหรัฐฯ
อย่างถ่องแท้จากคณะวิทยากรดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตามหาก ผู้ส่งออก ผู้สนใจ
ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถค้นหาได้จาก http://www.ustr.gov/
www.usitc.gov/
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสำนักส่งเสริมและพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า
โทรสายด่วน 1385 โทร. 0 2547 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.go.thnb
e-mail : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๓ LE โชว์ผลงาน Q3/67 กำไรทะยาน 312% รายได้อยู่ที่ 720 ลบ. ส่งซิก Q4 โตต่อเนื่อง ล่าสุดกอด Backlog แน่น 1,300
๑๗:๕๐ แม็คโคร พัทยา ปรับโฉมใหม่ รองรับกำลังซื้อช่วงไฮซีซั่น พร้อมจัดแคมเปญขอบคุณลูกค้าส่งท้ายปี ส่งมอบความคุ้มค่าทั่วเมืองพัทยา
๑๗:๒๑ ยันม่าร์ โชว์นวัตกรรมการเกษตร ในงานประชุมใหญ่ชาวไร่อ้อยสามัญประจำปี พร้อมฉลองครบรอบ 45 ปี สนับสนุนเงินดาวน์แทรกเตอร์ถึง 3
๑๗:๕๒ CHAYO งบ Q3/67 สุดปังทั้งรายได้และกำไร งวด 9 เดือนรายได้พุ่ง 38.85% มั่นใจรายได้ปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 20%
๑๗:๔๘ TNP เข้ารับเกียรติบัตร CAC ในฐานะบริษัทฯ ที่ได้รับการต่ออายุรับรองครั้งที่ 2 มุ่งมั่นเป็นองค์กรที่ร่วมต่อต้านคอร์รัปชันในภาคเอกชนไทย
๑๗:๕๙ คริสตัล โฮม ร่วมกับ AXOR จัดเวิร์กชอป The Power of Colors เผยเคล็ดลับดีไซน์ห้องน้ำหรูด้วยสีสันที่โดดเด่น
๑๗:๓๕ ทีเอ็มบีธนชาต ชวนซื้อสลากกาชาดทีทีบี ได้บุญ พร้อมลุ้นโชค 716 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 7 ล้านบาท ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ การให้ บำรุงสภากาชาดไทย
๑๗:๒๕ PRTR ประกาศงบ Q3/67 กำไรนิวไฮอีกครั้ง โตกว่า 14% ธุรกิจ Outsource ดาวเด่น คาด Q4/67 ดีมานด์พุ่ง
๑๗:๔๔ PLUS ส่ง Coco Royal ลุยช่องทางการขายชั้นนำในจีน ดันยอดขายพุ่ง รับออเดอร์ลูกค้ารายใหญ่ พร้อมเดินหน้าเต็มกำลังการผลิต
๑๗:๓๘ PRAPAT ฟอร์มแกร่ง! กวาดกำไร Q3/67 โต 77% แตะ 17.49 ล้านบาท รับปัจจัยหนุนจากรายได้กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านครัว