Science Show พระอภัยมณี “น้ำมหัศจรรย์” โรงเรียนแกนนำของ สสวท. จับศิลปวัฒนธรรมไทยมาใส่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

จันทร์ ๐๘ ตุลาคม ๒๐๐๗ ๑๖:๔๗
กรุงเทพฯ--8 ต.ค.--สสวท.
ทำไมน้ำผสมน้ำปลา มารวมกับกับน้ำผสมเกลือถึงไม่รวมตัวกัน ? ลูกเหม็น เต้นระบำได้ ? สบู่ติดไฟ ? เป็นเพราะอะไร วิทยาศาสตร์มีคำตอบเสมอ ....พระฤาษีจะมาช่วยอธิบายให้ฟัง พระอภัยมณี วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่เลยที่มีเนื้อเรื่องมหัศจรรย์อลังการ ถูกนำมาแสดง เป็น SCIENCE SHOW “น้ำมหัศจรรย์” การทดลองวิทยาศาสตร์ที่สนุกและตื่นเต้นดั่งเล่นกล แต่อธิบายได้ ด้วยหลักการวิทยาศาสตร์ โดยนักเรียนชั้น ป. 6 โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ซึ่งเป็นโรงเรียนแกนนำ วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) คว้ารางวัลชนะเลิศ เหรียญทองการแสดงวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประจำปี 2540
เด็กชายวิศเวศ ปิยะมงคล (เบสต์) เด็กชายวิชัยเกียรติ แสงรัตนทองคำ (กาย) และเด็กหญิงจุฑามณี ภู่พรายงาม (ดรีม) ผนึกกำลังสามประสาน แสดงเป็นฤาษี นางเงือก และพระอภัยมณี ให้ฤาษีซึ่งเป็นนักปราชญ์ช่วยประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ พร้อมกับดนตรีไทยวงใหญ่ที่เพื่อน ๆ ร่วมตัวกันมาเล่นประกอบเป็นแบ็คอัพเพิ่มบรรยากาศให้กับโชว์
คุณครูมยุรี แสงรัตนทองคำ อาจารย์ที่ปรึกษาการแสดงทางวิทยาศาสตร์ชุดนี้ กล่าวถึงที่มาของ การใช้บทละครพระอภัยมณีมานำเสนอว่า พระอภัยมณีเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้น ป. 5 และ ป. 6 จึงนำมาบูรณาการเป็นละครร้องประกอบกับการทดลองวิทยาศาสตร์ เป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบซึ่งตั้งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งผูกพันแนบแน่น อยู่กับศิลปวัฒนธรรมไทย
การคัดเลือกกิจกรรมที่ใช้ใน Science Show เกิดจากการที่เด็ก ๆ ค้นคว้าหาการทดลองที่ตนเองมีความสนใจ เช่น น้องกาย ที่ชอบอ่านหนังสือการ์ตูนเกี่ยวกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ก็จะนำการทดลองที่สนใจมาทำเป็นแผนการทดลองแล้วนำเสนอคุณครูที่ปรึกษา เมื่อได้รับความเห็นชอบจึงได้ทดลองซ้ำเพื่อให้เกิดความชำนาญ สุดท้ายจึงนำมาประกอบกับบทละครร้องและการแต่งกายที่สวยงามตามท้องเรื่องพระอภัยมณี
น้องเบสต์ น้องกาย และน้องดรีม ช่วยกันเล่าถึงสาเหตุที่เลือกเนื้อหาเรื่อง “น้ำมหัศจรรย์” มาแสดงว่าเนื่องจากเคยได้เรียนเกี่ยวข้องกับของเหลว และการเปลี่ยนสถานะของของเหลว จึงเกิดความคิด จะทดลองเกี่ยวกับสสาร ของเหลวว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรกับวิทยาศาสตร์
การแสดงนี้แบ่งเป็น 3 เรื่อง เรื่องที่ 1 คือ น้ำไม่ผสมกัน เป็นการทดลองเกี่ยวกับการแยกตัวของของเหลว เรื่องที่ 2 ลูกเหม็นเต้นระบำ ทดลองเกี่ยวกับการทำปฏิกิริยากับสสารโดยใช้สารเคมีเพื่อให้สสารนันเกิดการเคลื่อนไหว และเรื่องที่ 3 เชื้อเพลิงสบู่ ทดลองเพื่อให้ได้สสารใหม่ที่ติดไฟได้เพียงแค่ใช้สบู่ผสมแอลกอฮอล์
การทดลองน้ำไม่ผสมกัน เด็ก ๆ ช่วยกันเทน้ำใส่แก้วในปริมาณที่เท่ากัน จากนั้นเติมน้ำปลาลงในแก้ว ส่วนอีกแก้วทำเช่นเดียวกันแต่เติมเกลือแล้วคนให้ละลาย จากนั้นนำกระดาษแข็งมาปิดแก้วที่เติมน้ำปลา ค่อย ๆ คว่ำแก้วประกบกับแก้วที่เติมเกลือ แล้วค่อย ๆ ดึงกระดาษที่คั่นอยู่ระหว่างแก้วทั้งสองออกอย่างช้า ๆ จะพบว่าน้ำทั้งสองชนิดจะไม่รวมตัวกัน งานนี้ฤาษีอธิบายว่าที่เป็นอย่างนั้นเพราะ “เกลือมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำปลา ซึ่งหลักการนี้เองที่คนลอยตัวในทะเลสาปเดดซีได้เพราะน้ำหนักคนหนาแน่น น้อยกว่าน้ำทะเลสาปที่มีเกลือผสมอยู่มาก”
การทดลองลูกเหม็นเต้นระบำ รินน้ำใส่แก้วขนาดใหญ่ แล้วเติมผงฟูลงไปประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ใส่น้ำส้มสายชู 2 ช้อนชา หยดสีน้ำลงไปเล็กน้อย จากนั้นใส่ลุกเหม็นลงไปในน้ำ เมื่อลูกเหม็นจมลงในน้ำแล้วจะเห็นว่าลูกเหม็นเริ่มเคลื่อนไหวช้า ๆ แต่ถ้าลูกเหม็นไม่เคลื่อนไหวก็เติมผงฟูกับน้ำส้มสายชูลงไป “การใช้สารเคมีที่มีอยู่ในของใกล้ตัวที่นำมาทดลองทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงเกิดแรงดันให้ ลูกเหม็นลอยตัว” ฤษีบอก
การทดลองเชื้อเพลิงสบู่ ฝนสบู่ให้เป็นผงแล้วผสมแอลกอฮอล์เข้ากับผงสบู่ในถ้วยกระดาษ แล้วนำผงสบู่ที่อยู่ในถ้วยไปแช่ในน้ำร้อนสักครู่ จากนั้นค่อย ๆ คนจนเข้ากัน เมื่อส่วนผสมสบู่กับแอลกอฮอล์เป็นเนื้อเดียวกันแล้วเทใส่กระป๋องเปล่า ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีจนแข็งตัว แล้วใช้เชื้อเพลิงจุดลงในกระป๋อง จะเกิดการติดไฟขึ้น “ผงสบู่ทำหน้าที่เป็นเชื้อเพลิงเหมือนฟืนทำให้จุดไฟได้ง่ายขึ้น” ฤาษีเล่า
การทดลองทั้งสามอย่างนี้ล้วนแต่เป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีในบทเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ทำการทดลองได้ง่าย ไม่อันตราย เพียงแต่มีผู้ใหญ่คอยดูแลระหว่างที่ทดลอง “ประโยชน์ที่เด็ก ๆ ได้รับจากการแสดงวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้ก็คือนักรียนสามารถบูรณาการความรู้มาประยุกต์ใช้นำเสนอ และนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีเหตุผล นอกจากนั้นยังเป็นพื้นฐานสร้างความเชื่อมั่น กล้าแสดงออก และรู้จัก การทำงานเป็นกลุ่มด้วย” คุณครูมยุรีกล่าว
รางวัลที่ได้นี้ เป็นความสำเร็จที่เกิดจากแนวทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของโรงเรียน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชประสงค์ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงและนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งการดำเนินการการเรียนการสอน ผนวกกับที่ สสวท. ได้ส่งเสริมให้โรงเรียนถ่ายทอดความรู้ไปสู่เด็ก ๆ ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย ให้นักเรียนรู้จักสังเกต คิด วิเคราะห์และแก้ปัญหาเป็น เรียนรู้อย่างมีความสุขด้วยความเข้าใจ
รวมทั้งส่งเสริมให้เด็ก ๆ ตระหนักถึงคุณค่าของวิชาวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต นอกจาก สสวท. จะเผยแพร่แนวทางดังกล่าวให้โรงเรียนแกนนำแล้ว ยังส่งเสริมไปสู่โรงเรียน ทั่วประเทศ และปรากฏชัดเจนในแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดทำเผยแพร่ให้ครูนำไปใช้เป็นตัวอย่างในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ