บุญชูและสายฝน 2 นักวิ่งไทย เข้าสู่เส้นชัยรองแชมป์ฮาล์ฟ มาราธอน ในแบลคมอร์ส ซิดนีย์ รันนิ่ง เฟสติวัล 2007

พุธ ๒๖ กันยายน ๒๐๐๗ ๑๖:๕๓
กรุงเทพฯ--26 ก.ย.--เบรนเอเซีย
บุญชู จันทร์เดชะ และสายฝน บุญแจ้ง 2 นักวิ่งตัวแทนประเทศไทย คว้ารองแชมป์ฮาล์ฟ มาราธอน เข้าเส้นชัยอันดับ 2 ทั้งคู่ ท่ามกลางนักวิ่งกว่า 25,000 คนจาก 40 ประเทศที่มาร่วมงานมหกรรมแบลคมอร์ส ซิดนีย์ รันนิ่ง เฟสติวัล 2007 ที่จัดอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2550 ซึ่งได้กลายเป็นมหกรรมระดับโลกที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง โอกาสครั้งเดียวในหนึ่งปีที่รัฐบาลออสเตรเลียจะปิดสะพานซิดนีย์ ฮาร์เบอร์ บริดจ์ ซึ่งเป็นสะพานระนาบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ให้นักวิ่งร่วมเดิน วิ่ง เพื่อข้ามสะพานซิดนีย์ ฮาร์เบอร์ บริดจ์ ไปสู่เส้นชัยที่ซิดนีย์ โอเปร่า เฮ้าส์
บรรยากาศงานแบลคมอร์ส ซิดนีย์ รันนิ่ง เฟสติวัล ปีนี้คับคั่งด้วยนักวิ่งกว่า 25,000 คน บนเส้นทางวิ่งยาวกว่า 42 กิโลเมตร ที่มีการเตรียมการอย่างดีและรักษาความปลอดภัยโดยตำรวจ, อาสาสมัคร, หน่วยแพทย์ และเฮลิคอปเตอร์ บินสังเกตการณ์ตลอดการแข่งขัน นับจากเช้าตรู่เวลาปล่อยตัว 6 โมงเช้า ณ มิลสัน พอยท์ ไปจนถึงเที่ยงวัน ณ เส้นชัยซิดนีย์ โอเปร่า เฮ้าส์ ริมอ่าวซิดนีย์
นางวรพรรณ ยรรยง ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท แบลคมอร์ส จำกัด เปิดเผยว่า มหกรรมการแข่งขันครั้งยิ่งใหญ่ แบลคมอร์ส ซิดนีย์ รันนิ่ง เฟสติวัล นี้ แบลคมอร์สได้แต่งตั้งเกลน แมคกราธ (Glenn McGrath) นักกีฬาคริกเก็ตชื่อดังระดับตำนานของออสเตรเลียเป็นทูตของมหกรรม การแข่งขันครั้งนี้เจาะกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมนักวิ่งมืออาชีพชั้นแนวหน้าจากนานาประเทศ, ครอบครัว, คนรุ่นใหม่ และเยาวชน นักเรียน นักศึกษา การแข่งขันแบลคมอร์ส ซิดนีย์ รันนิ่ง เฟสติวัล มีการแข่งขันทั้งหมด 4 ประเภท คือ ? ประเภทมาราธอน (Marathon) 42.2 กม. ? ประเภทฮาล์ฟ มาราธอน (Half Marathon) 21.1 กม. ? ประเภทบริดจ์รัน (Bridge Run) 9 กม. „ ประเภทแฟมิลี่ ฟัน รัน (Family Fun Run) 4 กม. สำหรับสองนักวิ่งของไทยที่ลงแข่งในประเภทฮาล์ฟ มาราธอน โดยเส้นทางวิ่งฮาล์ฟมาราธอน ระยะ 21.1 กม. เริ่มจากมิลสัน พอยต์ (Milson Point) ถนนอัลเฟรดใต้ (South Alfred) ที่มุมด้านใต้ถนนไดน์ (Dind Street) เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนลาเวนเดอร์ (Lavender Street) ผ่านสะพานซิดนีย์ ฮาร์เบอร์ บริดจ์ (Sydney Harbour Bridge) ่ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนสะพานพายมอนต์ (Pyrmont Bridge Road) ่เลี้ยวซ้ายเข้าซิตี้ เวสท์ ลิ้งค์ (City West Link) ข้ามสู่ถนนแคทเธอรีน (Catherine Street) ่ วิ่งตามทางสู่ถนนบัลแมง (Balmain Road) ผ่านถนนนอร์ตัน (Norton Street) ่ เลี้ยวยูเทิร์นที่ดอบรอยด์ เพด (Dobroyd Pde) ผ่านถนนบูมเมอแรง (Boomerang Street) ่ วิ่งตามทางสู่ถนนบัลแมง (Balmain Road) ่ ข้ามสู่ถนนแคทเธอรีน (Catherine Street) ่ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนสะพานพายมอนต์ (Pyrmont Bridge Road) ่ เลี้ยวขวาเข้าถนนฮิคสัน (Hickson Road) ใต้สะพานซิดนีย์ ฮาร์เบอร์ บริดจ์ ่ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอัลเบิร์ต (Albert Street) ่ สู่เส้นชัยที่ซิดนีย์ โอเปร่า เฮ้าส์ (Sydney Opera House)
เส้นทางวิ่งในซิดนีย์ท้าทายมาก บางช่วงลดเลี้ยวเป็นเนินขึ้น - ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงกิโลเมตรท้าย ๆ ที่เคยปราบเซียนนักวิ่งมานับไม่ถ้วน ซึ่งในปีนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางวิ่งของการแข่งขันช่วง 3 กม.สุดท้ายของเส้นทางฮาล์ฟมาราธอนและมาราธอน มีการตัดเส้นทางชัน ช่วง 1 กม. จากปลายถนนฮิคสัน (Hickson Road) ถึงยอดเนินออบเซอร์วาเทอรี่ ฮิลล์ (Observatory Hill) โดยนักวิ่งจะข้ามกลับมาที่ทางด่วนคาฮิลล์ (Cahill Expressway) ซึ่งเป็นแนวราบมากขึ้น เลียบเลาะอ่าวซิดนีย์ และวกกลับมาสู่เส้นชัยที่โอเปร่า เฮ้าส์ ทำให้นักวิ่งปีนี้ทำเวลาเข้าสู่เส้นชัยได้รวดเร็วขึ้น สถิติเวลาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับนักวิ่งเพราะงานนี้เราจัดก่อนการแข่งขันโอลิมปิคปี 2008 นานเกือบ 12 เดือน ที่จะมีขึ้นในนครปักกิ่ง
ผลการแข่งขันประเภทฮาล์ฟ มาราธอน ชาย 21.1 กม. ผู้ชนะเลิศอันดับ 1 คือ โธมัส ดู แคนโต จากออสเตรเลีย ในเวลา 1.07.29 ชม., อันดับ 2 คือ บุญชู จันทร์เดชะ ตัวแทนจากประเทศไทย ในเวลา 1.09.05 ชม., อันดับ 3 คือ ชาร์ลี โลว์ จากพายมอนต์ ออสเตรเลีย ในเวลา 1.10.13 ชม. ส่วนผลการแข่งขันประเภทฮาล์ฟ มาราธอน หญิง ผู้ชนะเลิศอันดับ 1 คือ เจนนี่ วิคแฮม จากออสเตรเลีย ในเวลา 1.18.20 ชม., อันดับ 2 คือ สายฝน บุญแจ้ง ตัวแทนจากประเทศไทย ในเวลา 1.19.19 ชม., อันดับ 3 คือ บิลลินดา สคิฟ จากออสเตรเลีย ในเวลา 1.19.35 ชม., ผู้ชนะเลิศวีลแชร์ ฮาล์ฟ มาราธอน คือ จีออง ซู บียอน จากประเทศเกาหลี ในเวลา 1.30.40 ชม.
ส่วนผลการแข่งขันประเภทมาราธอน (ชาย) 3 นักวิ่งจากเคนย่ากวาดรางวัลเรียบ 1-3 คือ จูเลียส มาราทิม (Julius Maratim) ชาวเคนย่า คว้าแชมป์ชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทมาราธอน ชาย ล่าสุด จากการแข่งขันมหกรรม แบลคมอร์ส ซิดนีย์ รันนิ่ง เฟสติวัล 2007 ซึ่งชนะติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ด้วยเวลา 2.14.38 ชม. มาราทิมวิ่งนำช่วง 12 กม. ของการแข่งขันและเมื่อถึงจุดครึ่งทาง เขาสามารถเข้าสู่เส้นชัยเร็วกว่าผู้เข้าแข่งขันลำดับรองถึง 6 นาที, ตามด้วยอันดับ 2 มาราธอน ได้แก่ ฟิลิป มูเอีย ชาวเคนย่า ในเวลา 2.21.54 ชม. และอันดับ 3 คือ นิโคลัส เมอริก้า ชาวเคนย่า ในเวลา 2.24.22 ชม. ส่วนผลการแข่งขันประเภทมาราธอน (หญิง) อันดับ 1 ได้แก่ นาโอโกะ ซูชิยะ จากประเทศญี่ปุ่น ในเวลา 2.43.10 ชม. ตามมาด้วยอันดับสอง อลิซ่า เมย์เจอร์ จากออสเตรเลีย ในเวลา 2.46.34 ชม., และอันดับสาม เวริตี้ ทอลฮัสท์ จากโครนูลล่า ออสเตรเลีย ในเวลา 2.52.13 ชม., ผลการแข่งขันประเภทมาราธอน วีลแชร์ ผู้ชนะเลิศอันดับ 1 พาราลิมเปี้ยน คือ เคิร์ท เฟิร์นเลย์ ชาวออสเตรเลีย ในเวลา 1.43.01 ชม., ตามด้วยอันดับ 2 คือ ซุง ฮัน จัน จากประเทศเกาหลี ในเวลา 2.15.07 ชม. และอันดับ 3 คือ เอียน โรด์ส จากออสเตรเลีย ในเวลา 2.26.52 ชม.
ผลการแข่งขันประเภทบริดจ์ รัน 9 กม. มีฝูงชนกว่า 10,000 คน ผู้ชนะเลิศชาย อันดับ 1 คือ เดสเสซ ชิน จากนอร์ธ วอลลองกอง รุสเซลล์ออสเตรเลีย ในเวลา 26.33 นาที, ตามมาด้วยอันดับ 2 โรวัน วอล์คเกอร์ จาก เพจ ออสเตรเลีย ในเวลา 26.51 นาที, และอันดับ 3 ไรอัน เกรกสัน ออสเตรเลีย ในเวลา 27.24 นาที สำหรับผู้ชนะเลิศหญิงบริดจ์ รัน คนแรกที่เข้าสู่เส้นชัย คือ อลิซ่า สตีเวิร์ด จากมาร์ฟิลด์ ออสเตรเลีย ในเวลา 30.36 นาที, ตามด้วยอันดับ 2 คือ อลิซาเบธ มิลเลอร์ จากแรนด์วิค ออสเตรเลียในเวลา 31.38 นาที และอันดับ 3 คือ แอนนิต้า คีน จากวอลลองกอง ออสเตรเลีย ในเวลา 32.31 นาที
นายบุญชู จันทร์เดชะ รองแชมป์ฮาล์ฟ มาราธอน ชาย จากงาน แบลคมอร์ส ซิดนีย์ รันนิ่ง เฟสติวัล 2007 กล่าวว่า “ผมได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุด ในฐานะตัวแทนประเทศไทยที่ร่วมแข่งขันมหกรรมแบลคมอร์ส ซิดนีย์ รันนิ่ง เฟสติวัล 2007 (BLACKMORES SYDNEY RUNNING FESTIVAL 2007) ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ผมต้องขอบคุณแบลคมอร์สที่ผลักดันให้วงการวิ่งและนักวิ่งไทยได้ยกระดับสู่มาตรฐานและการแข่งขันระดับอินเตอร์”
นางสายฝน บุญแจ้ง รองแชมป์ฮาล์ฟ มาราธอน หญิง จากงาน แบลคมอร์ส ซิดนีย์ รันนิ่ง เฟสติวัล 2007 กล่าวว่า “รู้สึกดีใจที่ได้เข้าร่วมมหกรรมแบลคมอร์ส ซิดนีย์ รันนิ่ง เฟสติวัล 2007 (BLACKMORES SYDNEY RUNNING FESTIVAL 2007) เพราะนับเป็นงานที่มีชื่อเสียงคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของนักวิ่ง ตลอดจนเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมที่เสริมสร้างมิตรภาพของ 2 มหานคร คือ กรุงเทพมหานครและนครซิดนีย์ ระหว่างคนไทยและชาวออสเตรเลียและยังเชื่อมโยงจากประเทศไทยสู่อินเตอร์เนชั่นแนลอีเว้นท์ การเข้าร่วมแข่งขันในครั้งนี้ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและสันติสุขแก่นานาประเทศด้วย”
มร.มาร์คัส แบลคมอร์ ประธานบริหารบริษัท แบลคมอร์ส จำกัด กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ได้รับผลสำเร็จอย่างดียิ่งจากจำนวนนักวิ่งที่มาร่วมงานมากที่สุดในรอบ 7 ปี และรณรงค์หารายได้เงินสมทบทุนกว่าครึ่งล้านดอลล่าร์ออสเตรเลีย เพื่อช่วยเหลือองค์กรการกุศล ได้แก่ มูลนิธิโรคหัวใจ, ภาวะกระดูกพรุน, องค์กรการรักษาโรคมะเร็งของออสเตรเลีย, มูลนิธิสตาร์ไลท์, องค์กรวิชั่นออสเตรเลีย และอื่น ๆ นับเป็นมหกรรมที่เป็นความร่วมมือร่วมใจเพื่อยกระดับกิจกรรมงานวิ่งระดับนานาชาติและเสริมสร้างมิตรภาพ ตลอดจนสังคมสุขภาพดี
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เบรนเอเซีย จำกัด
โทร 02-655-3131 แฟกซ์ 02-655-3124
รัตติยา 086-973-9863, อภิสรา 081-422-2178

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๑๐ มูลนิธิเคเอฟซี จับมือศิลปิน K-POP แบมแบม จัดประมูลไอเทมสุด เอกซ์คลูซิฟ ระดมทุนช่วยเหลือเด็กหลุดจากระบบการศึกษาในโครงการ KFC Bucket
๐๙:๓๕ LINE เผยอินไซต์การใช้งานแพลตฟอร์มของหน่วยงานภาครัฐไทย แนะโซลูชั่นยกระดับการสื่อสาร บริการประชาชนได้ฉับไว
๐๘:๓๗ YLG ชี้ปีนี้ทองมาไกลแล้ว แต่ยังมีลุ้นไปต่อได้ถึง 2,850 ดอลลาร์ แนะเทรดด้วยความระมัดระวัง แบ่งขายทำกำไรเมื่อถึงเป้าหมาย
๐๘:๐๑ ยังขายดีต่อเนื่อง! ธอส. เผยผลประมูลบ้านมือสองออนไลน์ สามารถจำหน่ายได้ 159 รายการ มูลค่ารวมกว่า 196 ล้านบาท
๐๘:๒๒ Trip.com คว้ารางวัล การบริการลูกค้ายอดเยี่ยมสำหรับนักเดินทาง ด้วยกลยุทธ์บริการลูกค้า แบบ Customer Centric
๐๘:๓๔ เซ็นทรัลพัฒนา ทุ่ม 700 ล้านบาท ปลุกเศรษฐกิจไทยในแคมเปญ 'The World's Great Celebration 2025' ผนึก ททท. และพันธมิตร สร้างอภิมหาความสุขทั่วประเทศ
๐๘:๔๗ IND สุดฮอต! คว้า 2 โปรเจคใหญ่มูลค่า 647.90 ลบ. หนุน Backlog พุ่งแตะ 1,831.10 ลบ. ดันผลงานโตแกร่ง!
๐๘:๐๐ Boonlapo และ Pasticceria Cova Montenapoleone จัดพิธีลงนามสัญญา ร่วมสร้างสรรค์ประสบการณ์ขนมหวานอิตาลีสุดพรีเมียมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๐๘:๐๓ คิทโด้ วิตามินเม็ดเคี้ยว มีประโยชน์ 2 สูตร 2 รสชาติ มากคุณค่าสารอาหาร โปรลดสุดคุ้ม รับลมหนาว 1 แถม 1 ซอง ที่เซเว่น อีเลฟเว่น
๐๘:๕๘ อ.อ.ป. - มก. ลงนาม MOU ประสานความร่วมมือ ส่งเสริมงานวิชาการฯ มุ่งแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ของ 2