กรุงเทพฯ--27 ก.ย.--เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์
บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ระดมเจ้าหน้าที่ศึกษาดูงานด้านยางพารา ต่อยอดธุรกิจแบบครบวงจร โอกาสความต้องการยางในตลาดโลกยังเพิ่มขึ้น เน้นนำเทคโนโลยีการผลิตสู่เกษตรกร แปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกไปยังต่างประเทศ
เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายขุนศรี ทองย้อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เปิดเผยถึงการนำทีมงานยางพารา เดินทางไปเยี่ยมชมและศึกษาดูงานกิจการขององค์การสวนยาง และเยี่ยมชมสหกรณ์สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง หรือ สกย. จ. นครศรีธรรมราช กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ ว่า การเดินทางไปศึกษาในครั้งได้ศึกษาการดำเนินธุรกิจยางพาราขององค์การสวนยางที่ดำเนินในรูปแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การปลูก การดูแล การปลูกซ่อม การตัดแต่งกิ่ง การกรีดที่ถูกต้อง กระบวนการผลิตยางแท่งเพื่อนำไปสู่การทำผลิตภัณฑ์ยางต่าง ๆ การบวนการผลิตยางเครป กระบวนการผลิตน้ำยางข้น และโรงงานยางแผ่นรมควัน นอกจากนี้ได้เยี่ยมชมการสาธิตเทคโนโลยีการผลของการเพิ่มผลผลิตน้ำยางให้แก่เกษตรกรที่เรียกว่า “ริมโฟลว์” ของประเทศมาเลเซีย ที่นำมาทดลองกับเกษตรกรชาวยางในประเทศไทยจนประสบความสำเร็จสามารถเพิ่มน้ำยางได้ถึง 3 เท่า หากเกษตรกรนำไปใช้ นอกจากจะได้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มแล้วยังสามารถช่วยแก้ปัญหาไม่ต้องกรีดยางในเวลากลางคืน สามารถกรีดได้น้ำยางมากขึ้นแม้จะเป็นช่วงของฤดูฝน และยังช่วยลดปัญหาการเสี่ยงภัยในกรณี 3 จังหวัดชายแดนใต้ การลักลอบยางในช่วงเวลากลางคืน และช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้อีกด้วย แต่เทคโนโลยีดังกล่าวกลับยังไม่ได้มีการส่งเสริมในเกษตรกรชาวสวนยางในประเทศไทย ของประเทศไทยมากนัก
ทั้งนี้การศึกษาดูงานดังกล่าวนับว่าเป็นประโยชน์เป็นอย่างมากซึ่งจะได้นำกลับมาวางแผนต่อยอดธุรกิจยางพาราของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ ในการพัฒนาธุรกิจยางพาราของประเทศไทยทั้งในเรื่องของ “ต้นน้ำ” ที่เริ่มจาก การพัฒนาสายพันธุ์ การปลูก การดูแล การกรีดที่ต้องนำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยเกษตรกรผู้ปลูก เรื่องของ “กลางน้ำ” ที่ประเทศไทยคงต้องมุ่งเน้นการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกเพิ่มากขึ้น และ “ปลายน้ำ” ที่ต้องมาพัฒนาในเรื่องของการตัดต้นยางพาราเมื่องครบอายุการส่งออกเนื้อไม้ยาง รวมถึงการแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์เพื่อการส่งออกต่อไปในอนาคต
ศิริลักษณ์ :ข่าวและประชาสัมพันธ์ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร 02-6759378
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ซีพีแรม จับมือ คู่ค้า(ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ) ผลิตข้าวกล่องพร้อมรับประทาน ราคา 20 บาท หวังช่วยคนไทยลดภาระค่าครองชีพในวิกฤตโควิด-19
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) จับมือกับ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด (CPS) วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบพื้นที่สีเขียว 'urbanical’ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนเมือง
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ปฏิทินข่าวหน่วยงานราชการประจำวันนี้(30 พฤศจิกายน 2554)