ก.พลังงาน ร่วมสัมมนาทบวงพลังงานโลก (IEA) ชื่นมื่น หวังปลุกกระแสประเทศในภูมิภาคอาเซียน

จันทร์ ๑๗ กันยายน ๒๐๐๗ ๑๕:๓๑
กรุงเทพฯ--17 ก.ย.--กระทรวงพลังงาน
ก.พลังงาน ร่วมสัมมนาทบวงพลังงานโลก (IEA) ชื่นมื่น หวังปลุกกระแสประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน เพื่อรองรับการบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง ในภาวะวิกฤตระดับภูมิภาค ในอนาคต
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้ร่วมกับทบวงพลังงานโลก (International Energy Agency —IEA) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องการบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง ในภาวะวิกฤตในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างวันที่ 17 - 18 กันยายน 2550 ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ้นส์เซส กรุงเทพฯ ซึ่งการจัดสัมมนาในครั้งนี้ นับว่ามีความสำคัญต่อการจัดการพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่างยิ่ง เนื่องจากจะมีการให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจาก IEA ช่วยสร้างความร่วมมือด้านพลังงาน ระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนให้เกิดขึ้น ส่งเสริมการพึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างประเทศผู้ผลิตและผู้ใช้พลังงานในอนาคต รวมทั้งจะเป็นการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้เกิดขึ้นในภูมิภาค และเพิ่มการลงทุนที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้าน พลังงาน โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา
ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบไปด้วยบุคคลสำคัญด้านพลังงานในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้รับเกียรติจาก นายวิลเลี่ยม แลมเซ่ รองประธานทบวงพลังงานโลก (IEA Excutive Vice President) เจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศสมาชิก IEA และเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านพลังงานของกลุ่ม ASEAN ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดี ในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีโลก และเป็นการแสดงศักยภาพ และความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่จะช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์พลังงานของไทยที่จะผลักดันสู่การเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค
“การที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดสัมมนา ร่วมกับ IEA ในครั้งนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาการด้านพลังงานที่มีความชัดเจนอย่างต่อเนื่อง มีนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านพลังงานที่เป็นรูปธรรม เพื่อรองรับวิกฤตราคาน้ำมันโดยเฉพาะ ได้แก่ การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน อาทิ แก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซล และการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์หรือ NGV เป็นต้น”นายปิยสวัสดิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ความสำคัญของทบวงพลังงานโลก จะมุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน เพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมัน เช่นการรักษาระดับน้ำมันสำรองสำหรับภาวะฉุกเฉิน ร่วมกันนำน้ำมันสำรองออกมาใช้ มาตรการปันส่วนน้ำมันเมื่อมีความจำเป็น ซึ่งประเทศสมาชิกจะมีประมาณน้ำมันสำรองรวมกันประมาณ 4000 ล้านบาเรล คิดเป็นประมาณ 114 วัน ของการนำเข้าสุทธิ จึงมีศักยภาพที่จะรับมือกับวิกฤตด้านพลังงานที่รุนแรงได้ ซึ่งองค์กรนี้จะมีอิทธิพลพลต่อตลาดน้ำมันโลกอย่างมาก สามารถถ่วงดุลย์กับประเทศในกลุ่มโอเปกได้ นอกจากนี้ยังมีฐานข้อมูลที่ดีที่สุดด้านพลังงานทุกประเภท ได้แก่ ปิโตรเลียม ไฟฟ้า ถ่านหิน พลังงานทดแทน และ ข้อมูลด้านเทคโนโลยีด้านพลังงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ