รู้ประวัติที่แท้จริงของเสาชิงช้า ในการเสวนา “โล้ชิงช้า พิธีกรรมดึกดำบรรพ์ของสุวรณภูมิ ไม่ใช่พิธีพราหมณ์ชมพูทวีป”

ศุกร์ ๐๗ กันยายน ๒๐๐๗ ๑๐:๒๑
กรุงเทพฯ--7 ก.ย.--กทม.
กรุงเทพมหานครร่วมกับคณะกรรมการกรุงเทพฯ ศึกษา จัดเสวนา “โล้ชิงช้า พิธีกรรมดึกดำบรรพ์ของสุวรณภูมิ ไม่ใช่พิธีพราหมณ์ชมพูทวีป” บอกเล่าประวัติความเป็นมาที่แท้จริงของเสาชิงช้า ให้เยาวชน นักศึกษา และผู้สนใจได้รับรู้และภาคภูมิใจ ก่อนที่มาเที่ยวงานฉลองเสาชิงช้า โดยมีผู้ฟังเสวนาประมาณ 500 คน
นายพิชัย ไชยพจน์พานิช รองปลัดกรุงเทพมหานคร ปิดเผยว่า กรุงเทพมหานครได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีฉลองเสาชิงช้าอย่างเป็นทางการ ในวันพุธที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ เสาชิงช้า ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยกรุงเทพมหานครกำหนดจัด “งานฉลองเสาชิงช้า พ.ศ.๒๕๕๐” เป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่ ๑๑-๑๓ กันยายน ๒๕๕๐ โดยมีการประกอบพิธีตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เน้นให้ความรู้แก่ประชาชนถึงประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง กิจกรรมหลักภายในงานฉลองเสาชิงช้าประกอบด้วย พิธีพุทธ-พราหมณ์ พิธีเปิดงาน นิทรรศการ รถรางชมเมือง การสาธิตและการแสดงลานวิถีไทย การประกวดภาพถ่าย “มหัศจรรย์เสาชิงช้า” และมหรสพเฉลิมฉลอง
รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า นอกเหนือจากการจัดงานฉลองแล้ว กรุงเทพมหานครยังประสงค์ให้ เยาวชน ประชาชนชาวไทย และสื่อมวลชน ได้มีความรู้ความเข้าใจ ในความสำคัญของเสาชิงช้าว่า ต้นกำเนิดของเสาชิงช้า และพิธีโล้ชิงช้าแท้จริงนั้นมาจากไหน สมัยโบราณนั้นมีการโล้ชิงช้ากันอย่างไร โดยกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกับ คณะกรรมการกรุงเทพฯ ศึกษา จัดกิจกรรมเสวนา เรื่อง “โล้ชิงช้า พิธีกรรมดึกดำบรรพ์ของสุวรรณภูมิ ไม่ใช่พิธีพราหมณ์ชมพูทวีป” ในวันที่ ๗ ก.ย.๕๐ เวลา ๐๘.๓๐ — ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องรัตนโกสินทร์ โดยเชิญ ศ.ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา มาเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องเสาชิงช้า
ทั้งนี้ภายในงานมีการแจกสูจิบัตรเรื่องการโล้ชิงช้าในผู้เข้าร่วมเสวนา ในเนื้อหาของสูจิบัตร มีการบอกเล่าประวัติของ “ลานคนเมืองหน้าวัดสุทัศน์ เสาชิงช้าหน้าโบสถ์พราหมณ์” โดย ศรีศักร วิลลิโภดม จากมูลนิธิเล็ก วิริยุพันธุ์ ตำนานพิธีตรียัมปวาย และโล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม เขียนโดย อ. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งมีภาพเก่าแก่ของการโล้ชิงช้าในสมัยรัชกาลที่ ๕ นอกจากนี้ อ. สุจิตต์ วงษ์เทศ ยังเล่าไว้ถึง โล้ชิงช้าในภาษาไทยมาจากคำกระเหรี่ยง-ลาชิงช้า
จากนั้น รองปลัดกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกับ ครูมืด(ประสาท ทองอร่าม) และ อ. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ จากกรมศิลปากร ร่วมเล่าถึงความสำคัญและความน่าสนใจในการชมการแสดงมหรสพ ว่าการแสดงแต่ละชุดที่นำมามีความหมาย ความสำคัญ และความสนุกสนานอย่างไร เหตุใดจึงเป็นการแสดงที่นำมาในงานฉลองเสาชิงช้า และคำแนะนำในการชมนิทรรศการในงานฉลองเสาชิงช้าที่จะบอกเล่าเรื่องของประวัติความเป็นมาของเสาชิงช้า ขั้นตอนการบูรณปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า ตลอดการดำเนินการกับเสาชิงช้าในอนาคต เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๔๒ FWD ประกันชีวิต ครองใจคนรุ่นใหม่ คว้าสองรางวัลองค์กรน่าทำงาน พร้อมเปิดพื้นที่ให้เติบโตในแบบที่เป็นตัวเอง
๑๕:๕๔ ยันม่าร์ฯ คืนกำไรให้กับเกษตรไทย แจกส่วนลดซื้อผลิตภัณฑ์ มูลค่ารวมกว่า 117 ล้านบาท
๑๕:๐๐ กทม. รุกเข้มมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมการระบาดโรคลิชมาเนียในกรุงเทพฯ
๑๕:๕๒ กทม. ขานรับนโยบาย ศธ. ยกเว้นแต่งชุดลูกเสือ-เนตรนารี-ยุวกาชาดโรงเรียนในสังกัด พร้อมจัดสวัสดิการ 20 รายการ
๑๔:๔๓ อิเดมิตสึ ร่วมเปิดฉาก ARRC 2025 ผลักดันนักบิดเอเชียสู่ระดับโลก
๑๔:๐๔ หาดทิพย์ (HTC) จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 อนุมัติจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้ายของปี 2567 ในอัตรา 0.57 บาทต่อหุ้น
๑๔:๒๖ Jeff Satur ชวนทุกคนให้ค้นพบตัวเองในเวอร์ชั่นที่สวยงาม ในซิงเกิลใหม่ ฉันก่อนเจอเธอ (Lost and Found)
๑๔:๐๒ คูลชาแนล ช่องภาพยนตร์ไทยคลาสสิค เปิดภาพยนตร์เก่าครบรส 25 วัน 25 เรื่องตลอดเดือนนี้
๑๔:๒๒ ผถห. FM โหวตหนุนจ่ายปันผลอีก 0.20 บ./หุ้น - รับเงิน 20 พ.ค.นี้
๑๔:๕๒ จังซีลอน เตรียมส่งแคมเปญต้อนรับนักท่องเที่ยว