เยาวชน “ค่ายเพาเวอร์กรีน” รุ่น 2 ขอ “เดินตามรอยเท้าพ่อ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน”

ศุกร์ ๐๕ ตุลาคม ๒๐๐๗ ๑๐:๒๘
กรุงเทพฯ--5 ต.ค.--บ้านปู
จากกระแสพระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ความตอนหนึ่งว่า “...พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า..." เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ นายจิตติกร พิมลเศรษฐพันธ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จ.ปัตตานี หนึ่งในสมาชิกเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำของโรงเรียนฯ สนใจการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสมัครเข้าร่วมค่ายวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม “เพาเวอร์กรีน” รุ่น 2 ที่จะจัดขึ้นในกลางเดือนตุลาคมนี้
“ถึงแม้ว่าในตอนนี้ เครือข่ายของผมมันยังเป็นแค่จุดเล็ก ๆ จุดหนึ่ง แต่ในอนาคตในไม่ช้า เครือข่ายของผมจะต้องขยายไปสู่ทุกชุมชนตลอดแนวแหล่งน้ำได้อย่างแน่นอน” (นายจิตติกรกล่าวในความตอนหนึ่งของเรียงความเรื่อง “การใช้วิทยาศาสตร์ตามรอยเท้าพ่อเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” ที่เขาเขียนขึ้น) เรียงความของน้องจิตติกรได้เล่าถึงความประทับใจในพระอัจฉริยภาพของในหลวงที่ทรงเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อมในคราวเดียวกัน พระองค์ท่านทรงพระราชทานแนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้จนทำให้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายโครงการ อาทิ โครงการบำบัดน้ำเสีย
บึงพระรามเก้า กังหันน้ำชัยพัฒนาสำหรับเพิ่มปริมาณออกซิเจน และการปลูกผักตบชวาเพื่อดูดสารโลหะหนักในน้ำ เป็นต้น ซึ่งแนวพระราชดำริดังกล่าวทำให้จิตติกรสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและชอบวิชาวิทยาศาสตร์ โดยหนึ่งในกิจกรรมที่น้องจิตติกรรู้สึกภูมิใจคือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกในเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำของโรงเรียนที่ตั้งขึ้นเพื่อคอยตรวจสอบคุณภาพของแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้โรงเรียนนี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของเรียงความที่น่าประทับใจที่เขียนขึ้นโดยน้อง ๆ เยาวชนที่มีใจรักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและส่งเรียงความเรื่อง “การใช้วิทยาศาสตร์ตามรอยเท้าพ่อเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยังยืน” เพื่อสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิก “ค่ายเพาเวอร์กรีน” รุ่น 2 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-21 ตุลาคม นี้ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
“ค่ายเพาเวอร์กรีน” เป็นค่ายวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่เน้นแนวคิดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ จัดขึ้นเพื่อให้เปิดโอกาสให้เยาวชนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมจากนักวิชาการสิ่งแวดล้อมที่มีชื่อเสียงและการปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมอันทันสมัยของมหิดล โดยในปีนี้ “ค่ายเพาเวอร์กรีน” จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 แล้ว และชาว “ค่ายเพาเวอร์กรีน” รุ่น 2 ทั้ง 70 คน ยังจะมีโอกาสได้เรียนรู้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวง เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระองค์ท่านฯ ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา เช่น การบรรยายเรื่อง “ปรัชญาของความพอเพียงกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” โดยพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต การเดินทางไปทัศนศึกษาโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี ทั้งนี้เพื่อให้เยาวชนชาว “ค่ายเพาเวอร์กรีน” ได้นำแนวคิดของพระองค์ท่านไปประยุกต์ใช้กับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ “ค่ายเพาเวอร์กรีน” ยังส่งเสริมให้เยาวชนได้ฝึกทักษะการคิดในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ การทำงานเป็นทีม และการนำเสนอความคิดที่เป็นประโยชน์สู่สาธารณชน ด้วยการจัดนิทรรศการโครงงานกลุ่มวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในหัวข้อ “การใช้วิทยาศาสตร์ตามรอยเท้าพ่อเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” ในวันที่ 20 ตุลาคม นี้ ณ สวนสันติไชยปราการ ถ.พระอาทิตย์ กรุงเทพฯ อีกด้วย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิพงษ์ ดิลกวณิช คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวนอกจากพ่อหลวงของไทยที่ทรงนำหลักการทางด้านวิทยาศาสตร์มาผนวกกับแนวพระราชดำริของพระองค์ท่าน เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ แล้ว เรียงความของนางสาวกฤติยา หารป่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแม่ต๋ำวิทยา จ.เชียงราย สมาชิกอีกคนหนึ่งของ “ค่ายเพาเวอร์กรีน” รุ่น 2 ยังได้กล่าวถึงพ่อของตนเองที่ได้สอนความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงทฤษฎีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของในหลวง ซึ่งเธอยังคงจดจำคำของพ่อคำหนึ่งอยู่เสมอว่า “ถ้าเรารักสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมก็จะรักเรา” และในทุกวันนี้ เธอภูมิใจที่ได้เป็นคนดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและได้ทำสิ่งที่พ่อของเธอเคยสอนมา
“แม้เป็นเพียงดอกหญ้าดอกน้อยน้อย แต่จะคอยเบ่งบานเพื่อโลกสวย
แม้ไม่ใช่คนใหญ่โตที่ร่ำรวย แต่จะช่วยสิ่งแวดล้อมตามพ่อทำ”
(จากเรียงความตอนหนึ่งของนางสาววรรณิสา ประโสรักษ์ นักเรียนโรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม จ.นครราชสีมา)
“หลังจากที่ได้ทราบจากคณะกรรมการค่ายฯ ว่ามีเรียงความกว่า 700 ฉบับของเยาวชนผู้สนใจวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่ส่งเข้ามาเพื่อสมัครเข้า “ค่ายเพาเวอร์กรีน” รุ่น 2 ก็รู้สึกดีใจที่ได้เห็นเยาวชนไทยหันมาให้ความสนใจในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น และยิ่งรู้สึกภาคภูมิใจเมื่อได้ทราบว่าเยาวชนหลายคนได้น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาเป็นต้นแบบในการนำวิทยาศาสตร์มาบูรณาการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนและสังคมของตนเอง ซึ่งแม้จะเป็นเพียงการริเริ่มจากเยาวชนคนหนึ่งก็ตาม แต่สิ่งต่าง ๆ ที่เยาวชนเหล่านี้ได้ทำก็มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนให้สังคมเกิดความสำนึกในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมไปถึงทำให้เกิดการพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนและสังคมของเราให้ยั่งยืนต่อไป” นางอุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้อำนวยการสายอาวุโส - สื่อสารองค์กรและกิจการสัมพันธ์ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้ให้การสนับสนุนโครงการ “ค่ายเพาเวอร์กรีน” กล่าว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
คุณสุมนา วัฒนา บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
โทร: 081-902-4252/02-694-6869
คุณนพรัตน์ เงาอำพันไพฑูรย์ บริษัท เอพิเซ่ จำกัด โทร. 085-385-8609

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ คปภ. เปิดตัวคู่มือการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย แนะแนวทางการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยอย่างเหมาะสม
๑๖:๒๖ SiteMinder เผย โรงแรมไทยเติบโต ก้าวเป็นผู้นำตลาด หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ
๑๗:๕๙ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
๑๖:๐๐ fintips by ttb เผยเคล็ดลับ รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด
๑๖:๐๐ มาแล้ว! เปิดตัว Samsung Galaxy S25 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด มาพร้อม Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย ตอบโจทย์รู้ใจทุกความต้องการเฉพาะคน
๑๖:๐๐ กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
๑๖:๐๐ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนยิ่งใหญ่ Chinese Market 2025 ช้อปสินค้ามงคล เสริมดวงโชคดีมั่งมี
๑๖:๐๐ SNPS ต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักวิจัยสภากาชาดไทย
๑๕:๒๔ BEST Supply Chain ยกระดับจัดการคลังสินค้ายุคใหม่ ชู BEST Fulfillment เพิ่มประสิทธิภาพจัดการสินค้า จบครบในที่เดียว
๑๕:๐๐ เด็กซ์ซอนผนึกกำลังภาคีเครือข่าย TCCA ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero