กรุงเทพฯ--8 ต.ค.--ก.ล.ต.
นางณัฐญา นิยมานุสร ผู้อำนวยการ ฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล ก.ล.ต. ในฐานะเลขานุการคณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน กล่าวถึงร่าง “เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม” ซึ่งเป็นเอกสารที่คณะทำงานชุดดังกล่าวได้จัดทำขึ้นว่า “คณะทำงานหวังว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับบริษัทจดทะเบียนที่สนใจในเรื่องการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นในเรื่องดังกล่าวได้ รวมทั้งอาจศึกษาแนวปฏิบัติอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อขยายผลการดำเนินการของ บริษัทออกไปอีกก็จะเป็นผลให้บริษัทมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป”
เนื้อหาในคู่มือฉบับนี้ประกอบด้วยความหมาย หลักการ และแนวปฏิบัติในเรื่อง CSR 8 หัวข้อหลัก
เริ่มจากเรื่องใกล้ตัว ขยายต่อไปยังสังคมและสิ่งแวดล้อมวงกว้าง ซึ่งได้แก่ การกำกับดูแลกิจการที่ดี การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม การเคารพสิทธิและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การเผยแพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม และการจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
นางณัฐญา กล่าวต่อว่า “ขณะนี้ “เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม” ยังเป็นฉบับร่างที่รอให้บริษัทจดทะเบียนและผู้ที่สนใจร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ก่อนที่จะปรับปรุง ให้สมบูรณ์มากขึ้น และเผยแพร่ต่อไป”
ในการนี้ คณะทำงานฯ ได้เผยแพร่ร่าง “เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม” ไว้ที่ www.sec.or.th ผู้สนใจสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะได้ที่ เลขานุการ คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน ฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ชั้น 13 อาคารจีพีเอฟ วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หรือทางโทรสารหมายเลข 0-2263-6099 หรือ [email protected] ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2550
อนึ่ง คณะทำงานดังกล่าวมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธาน โดยมีผู้แทนจากองค์กรภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกว่า 20 แห่งร่วมเป็นคณะทำงาน
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: ก.ล.ต. ร่วมกับสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเปิดตัวโครงการประกวดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีเด่น ปีที่ 7
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนรวมไทยไม่ได้รับผลกระทบจากการอ่อนตัวของค่าเงินตุรกี
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ก.ล.ต. หนุนให้มีผู้ให้บริการวางแผนทางการเงิน ใช้ฟินเทคตอบโจทย์การลงทุนที่ประชาชนเข้าถึงได้ พร้อมเผยแนวทางการกำกับดูแลไอซีโอที่เป็นหลักทรัพย์