SNC เคาะราคาหุ้นเพิ่มทุน 12.30 บาท เร่งเครื่องขยายกำลังผลิตเต็มสูบ

ศุกร์ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๐๐๗ ๑๗:๓๕
กรุงเทพฯ--30 พ.ย.--เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์
SNC ลงตัวเคาะราคาขายหุ้นเพิ่มทุนที่ระดับ 12.30 บาท เตรียมตั้งโต๊ะเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 30 พ.ย. และวันที่ 3 ธ.ค. -4 ธ.ค. 2550 พร้อมเปิดฤกษ์เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในสัปดาห์ที่ 2 เดือนธค. นี้ ด้านผู้บริหาร “สมชัย ไทยสงวนวรกุล” จะใช้เม็ดเงินระดมทุนครั้งนี้ 1,230 ล้านบาท เร่งสปีดขยายกำลังผลิตรองรับลูกค้า
ตลาดหลักทรัพย์ฯ , 30 พ.ย. 2007 — นายสมชัย ไทยสงวนวรกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNC ผู้ผลิตชิ้นส่วน ท่อโลหะที่ทำจากทองแดง ทองเหลือง และอลูมิเนียมเพื่อใช้ในระบบเครื่องปรับอากาศในรถยนต์และเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร รวมทั้งชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์ เปิดเผยว่า บริษัทได้แต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง เป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทจำนวน 100 ล้านหุ้น โดยมีบริษัท แคปปิตอล แอ๊ดแวนเทจ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน โดยกำหนดราคาขายที่ 12.30 บาทต่อหุ้น ซึ่งจะเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน และวันที่ 3 ธันวาคม 2550 ตั้งแต่เวลา 09:00 น. ถึงเวลา 16:00 น. และวันที่ 4 ธันวาคม 2550 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ถึงเวลา 15.30 น. ทั้งนี้ โดยผู้สนใจสามารถจองซื้อหุ้นผ่านบริษัท หลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ สินเอเซีย จำกัด และบริษัท หลักทรัพย์ไซรัส จำกัด (มหาชน) และคาดว่าจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนธันวาคม ศกนี้
สำหรับเม็ดเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ประมาณ 1,230 ล้านบาทนั้น บริษัทจะนำไปใช้ในการขยายกำลังการผลิตและธุรกิจต้นน้ำประมาณ 500 ล้านบาท เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจในอนาคต 450 ล้านบาท และที่เหลือบริษัทจะนำไปใช้ในการคืนหนี้ไปชำระคืนหนี้สถาบันการเงิน โดยการลงทุนเพิ่มและการขยายการผลิตนั้นจะทำให้โครงสร้างทางการเงินของบริษัทดีขึ้น ความสามารถในการสร้างรายได้ในอนาคตปรับเพิ่มขึ้นและส่งผลให้หนี้สินต่อทุน (D/E) ลดลงมาอยู่ที่ 0.5 เท่า จากปัจจุบันที่มี D/E ที่ระดับ 2 เท่า นายสมชัย คาดว่ารายได้ในปี 2551 น่าจะเติบโต100 % จากปี 2550 ที่คาดว่าจะมีรายได้ 3 พันล้านบาทเนื่องจากการที่บริษัทรุกธุรกิจรับจ้างประกอบเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร (OEM) มากขึ้น รวมทั้งการขยายตัวของธุรกิจเครื่องปรับอากาศที่ได้รับความต้องการมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรยุโรปและอเมริกา เพื่อรับออร์เดอร์การรับจ้างประกอบเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร (OEM)เพิ่ม ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในไตรมาส 1/51 โดยจะทำให้ออร์เดอร์การรับจ้างประกอบเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร (OEM) เพิ่มขึ้นเป็น 8 แสน -1 ล้านชิ้น จากปัจจุบันที่บริษัทมีออร์เดอร์ในมือแล้วประมาณ 7 แสนชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากลูกค้าที่มีความสัมพันธ์กันมานานอย่าง LG และ Fujitsu
สาเหตุที่บริษัทตัดสินใจรุกธุรกิจรับจ้างประกอบเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร (OEM) เนื่องจาก บริษัทต้องการสร้างธุรกิจผลิตเครื่องปรับอากาศภายในอาคารที่ครบวงจร และวางรากฐานที่แข็งแรงในการเติบโตและการแข่งขันธุรกิจในอนาคต ในปัจจุบันบริษัทผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร คอมเพรสเซอร์ และแผ่นโลหะ ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการประกอบเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร ความสามารถในการผลิตที่ครบวงจรส่งผลให้บริษัทมีอำนาจการต่อรองที่สูงกว่าคู่แข่งเนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำกว่า ผู้ผลิตวัตถุดิบเนื่องจากมีออร์เดอร์การผลิตที่มาก และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องคุณภาพและการส่งมอบ ทั้งนี้ ปีหน้า 2551 บริษัทคาดว่าสัดส่วนรายได้ของบริษัทจะมาจากธุรกิจรับจ้างประกอบเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร(OEM) 50% ผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร 30 % ชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศรถยนต์ 10% และอื่น ๆ อีก 10%
ปัจจุบันบริษัทได้มีการจัดตั้งบริษัทย่อย 4 บริษัทเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในแต่ละประเภท ประกอบด้วย (1) บริษัท เอส เอ็น ซี ไพยองซาน อีโวลูชั่น จำกัด เพื่อผลิตชิ้นส่วนเป็นชุดสำหรับเครื่องปรับอากาศรถยนต์และเครื่องปรับอากาศในอาคาร (2) บริษัท เฟรชเทค แมนูแฟกเจอริ่ง จำกัด เพื่อผลิตเครื่องแช่แข็งถนอมอาหารเพื่อการส่งออก (3) บริษัทเอส เอ็นซี แซนเทคจำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนกับพันธมิตรญี่ปุ่น เพื่อทำธุรกิจรับจ้างซ่อมและผลิตแม่พิมพ์ (4) บริษัท เอส เอ็น ซี ซังวู เป็นบริษัทร่วมทุนกับพันธมิตรเกาหลี เพื่อผลิตเครื่องกลและเครื่องจักรอัตโนมัติ ทั้งนี้บริษัทย่อยทั้ง 4 บริษัทได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าอย่าง BOI
นอกจากนี้ เมื่อเดือนกันยายน 2550 บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) ได้ซื้อโรงงานผลิตและประกอบเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร(OEM) ของบริษัท ยอร์ค อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด ในวงเงิน 5.20 ล้านเหรียญ สหรัฐ หรือ 180 ล้านบาทเพื่อใช้รองรับการขยายธุรกิจรับจ้างประกอบเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร(OEM) ทั้งนี้เครื่องปรับอากาศที่ผลิตจากโรงงานแห่งนี้จะผลิตเพื่อการส่งออก 100% เนื่องจากโรงงานตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง หรือเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออก(EPZ) ส่วนเครื่องปรับอากาศที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศจะผลิตจากอีกโรงงานหนึ่งที่ตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตเครื่องปรับอากาศภายในอาคารทั้งสิ้น 2 ล้านเครื่องต่อปี จากเดิมที่มีกำลังการผลิต 8 แสนเครื่องต่อปีเท่านั้น
สื่อมวลชนสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณปิยวรรณ อนันต์เวทยานนท์ (เอ๋) บริษัท บ้านพีอาร์ จำกัด มือถือ 081 944-1972

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025