อุตฯ อิเล็กทรอนิกส์ — ยานยนต์และชิ้นส่วนจ่อลงทุนเฉียด 1.5 แสนล้าน ยอดคำขอขยายตัว 36% - บีโอไอมั่นใจหลังเลือกตั้งมีลงทุนเพิ่ม

พฤหัส ๐๖ ธันวาคม ๒๐๐๗ ๑๒:๐๘
กรุงเทพฯ--6 ธ.ค.--บีโอไอ
บีโอไอเผย อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วนช่วง 10 เดือนปี 2550 มีโครงการขอรับส่งเสริมมูลค่ารวม 148.7 แสนล้านบาท พร้อมมั่นใจหลังเลือกตั้งทุนนอกไหล เข้าเพิ่ม ด้านผู้ผลิตชิ้นส่วนจากเยอรมันเตรียมขยายการลงทุน หลังย้ายฐานการผลิตจากสิงคโปร์มาไทย
นางสาวสุดจิตร อินทรไทยวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และ ชิ้นส่วน ถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่จะส่งผลให้ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปี 2550 นี้ ทะลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 5 แสนล้านบาท อีกทั้งมีนักลงทุนต่างชาติจำนวนมาก สนใจเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ โดยในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ต.ค.50) มีมูลค่าการลงทุนรวมของอุตสาหกรรมประมาณ 148,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณ 36% ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 108,800 ล้านบาท
“ในปี 2551 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และชิ้นส่วน จะยังคงเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายสำคัญที่บีโอไอมุ่งเน้นส่งเสริมการลงทุน ซึ่งสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและอากรอยู่ในระดับที่สามารถจูงใจผู้ประกอบการให้เข้ามาลงทุน และภายหลังการเลือกตั้ง คาดว่าจะมีนักลงทุนต่างชาติมายื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น เพราะประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นฐานการผลิต ทั้งในด้านระบบสาธารณูปโภค และแรงงาน” นางสาวสุดจิตรกล่าว
ด้านนายวิบูลย์ จันทรางศุ ผู้จัดการโรงงาน บริษัท แพทเทอเร่อ เทคนิคคอล พาทส์ จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ จากประเทศเยอรมนี กล่าวว่า ในปี 2551 บริษัทจะขยายการลงทุน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และไฟฟ้า อาทิ การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก สำหรับการติดตั้งโทรศัพท์มือถือในรถยนต์ ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าการส่งออกของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 50-60 ล้านบาทต่อปี เป็นกว่า 100 ล้านบาทต่อปี
“บริษัทมีความมั่นใจที่จะลงทุนในประเทศไทยต่อไป แม้ที่ผ่านมาประเทศไทยจะมีความผันผวนทางด้านการเมือง แต่นักลงทุนจากเยอรมันส่วนใหญ่เข้าใจถึงศักยภาพด้านการลงทุน และเชื่อมั่นในนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของเมืองไทย ที่มีความชัดเจนอยู่แล้ว” นายวิบูลย์ กล่าว
บริษัท แพทเทอเร่อ เทคนิคคอล พาทส์ จำกัด ได้ย้ายฐานการผลิตจากประเทศสิงคโปร์เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทยทั้งหมดตั้งแต่ปี 2549 โดยปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และไฟฟ้า สำหรับเป็นชิ้นส่วนในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น กล้องถ่ายรูป ปลั๊กไฟฟ้า เป็นต้น กำลังการผลิตปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 33.9 ล้านชิ้นต่อปี โดยเป็นการผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายในประเทศต่างๆ ได้แก่ เยอรมัน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ