ไมโครซอฟท์เผยโผเยาวชนคนเก่งครองความเป็นเลิศด้านไอที ในโครงการ “Microsoft IT Youth Challenge 2007”

พฤหัส ๒๐ ธันวาคม ๒๐๐๗ ๑๖:๑๓
กรุงเทพฯ--20 ธ.ค.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน
ไมโครซอฟท์เผยโผเยาวชนคนเก่งครองความเป็นเลิศด้านไอที ในโครงการ “Microsoft IT Youth Challenge 2007” พร้อมมอบทุนสนับสนุนการเรียนรู้ 240,000 บาท
กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศผลรางวัลชนะเลิศโครงการ “ไมโครซอฟท์ ไอที ยูธ แชลเลนจ์ 2007 - Microsoft IT Youth Challenge 2007” โครงการประลองทักษะความรู้ด้านไอทีสำหรับเยาวชนในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาได้ โดยได้สุดยอด 12 ผลงานเด่นจาก 464 ผลงานทั่วประเทศ พร้อมมอบทุนการศึกษารวมมูลค่า 240,000 บาท
โครงการ “ไมโครซอฟท์ ไอที ยูธ แชลเลนจ์ 2007 - Microsoft IT Youth Challenge 2007” ถือเป็น ความร่วมมืออย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 ระหว่างบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนไทยมีความสนใจและใฝ่รู้ทาง ด้านเทคโนโลยี ส่งเสริมทักษะพื้นฐานด้านไอทีแก่เยาวชนไทยให้ได้พัฒนาศักยภาพของตนทั้งด้าน พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย โดยนำความรู้จาก 3 สาระวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ผนวกกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาก่อให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษา ที่มีคุณค่าและเกิดจิตสำนึกที่ดีต่อการพัฒนาประเทศชาติ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากเยาวชนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศที่ส่งผลงานเข้าร่วมถึง 464 ชิ้น จากนักเรียน 1,241 คน ล่าสุด คณะกรรมการได้ประกาศผลรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1-3 ในแต่ละระดับชั้นจำนวน 12 ผลงาน
ซึ่งในปีนี้มีการจัดแบ่งหัวข้อในการแข่งขันสำหรับ 4 ระดับชั้น ดังนี้
- ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 โปรแกรม Microsoft Paint ในหัวข้อ “ภาวะโลกร้อน...เราจะทำอย่างไรกันดี”
- ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 โปรแกรม Microsoft Movie Maker ในหัวข้อ “วิธีการลดภาวะโลกร้อน”
- ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โปรแกรม Microsoft Front Page ในหัวข้อ “e-learning … Earth Warming”
- ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โปรแกรม Microsoft Front Page ในหัวข้อ “e-learning … สื่อการเรียนรู้ Online” ในสาระวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
นางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “โครงการ Microsoft IT Youth Challenge 2007 เป็นกิจกรรมที่ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย เล็งเห็นถึงการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับโรงเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียน ผ่านการประยุกต์ใช้และบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนนวัตกรรมใหม่เพื่อการศึกษา เพื่อก่อให้เกิดการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ การลดช่องว่างทางการเรียนรู้ รวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียนตระหนักถึงศักยภาพของตนเองที่แท้จริง การพัฒนาการศึกษาให้กับคุณครูและเยาวชน นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยเฉพาะปัจจุบันที่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งไมโครซอฟท์เล็งเห็นถึงการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ และพร้อมที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดความก้าวหน้าและการพัฒนาเพื่อการเรียนการสอน โดยการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นเครื่องมือส่งเสริมการสร้างทักษะ ด้านไอทีให้แก่คุณครูและเยาวชนไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นและผลักดันให้เยาวชนไทยได้แสดงความสามารถ แสดงความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ และนำผลงานไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้จริง ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพของครูและนักเรียนในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีจะช่วย ลดช่องว่างทางการเรียนรู้และส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้ตระหนักถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง อันจะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดและการเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุด”
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า “ตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ.2542 ได้บัญญัติให้มีคำว่า “เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา” เพื่อช่วยส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต การให้เยาวชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งที่ควรสนับสนุน โดยเฉพาะการให้เยาวชนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำด้วยตนเอง ได้ฝึกคิด ฝึกใช้ชีวิตและทำงานเป็นกลุ่ม กระทรวงศึกษาธิการขอขอบคุณบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนและจัดกิจกรรม Microsoft IT Youth Challenge 2007 ซึ่งการที่กิจกรรมดังกล่าวสามารถดำเนินมาด้วยดีและ ประสบความสำเร็จยิ่ง เพราะมีปัจจัยที่สำคัญคือการเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกระดับชั้น พร้อมครูที่ปรึกษาได้ทำงานร่วมกัน รวมทั้งการเข้ามาสนับสนุนของภาคเอกชน ซึ่งถือเป็นการดี อันจะก่อให้เกิดแบบอย่างของสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนสืบไป”
ทั้งนี้ ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในโครงการ “ไมโครซอฟท์ ไอที ยูธ แชลเลนจ์ 2007 - Microsoft IT Youth Challenge 2007” จะได้รับโล่ห์เกียรติยศจากกระทรวงศึกษาธิการพร้อมทุนการศึกษา ทีมละ 30,000 บาท สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จะได้รับโล่ห์เกียรติยศจากกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทุนการศึกษาทีมละ 20,000 บาท และทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จะโล่ห์เกียรติยศจากกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทุนการศึกษาทีมละ 10,000บาท
บรรยายภาพ
1 รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ซ้าย)
และนางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด (กลาง) ชมผลงาน Microsoft Paint หัวข้อ “ภาวะโลกร้อน...เราจะทำอย่างไรกันดี” ของเด็กหญิงวิภารัตน์ จันทร์เพชร และเด็กหญิงอลิสา นูหว้า นักเรียน จากโรงเรียนบ้านโนน จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ชนะเลิศในโครงการ Microsoft IT Youth Challenge 2007 ระดับประถมศึกษาตอนต้น
2 นักเรียนจากโรงเรียนวัดดอนทอง จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้ชนะเลิศในระดับประถมศึกษาตอนปลายโชว์ผลงาน “วิธีการลดภาวะโลกร้อน...” โดยโปรแกรม Microsoft Movie Maker
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณศุภาดา ใจดี
ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทย
โทรศัพท์: 0-2627 3501 ต่อ 209 โทรสาร: 0-2627 3545
Email: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ