ผู้จัดการกองทุนชี้หุ้นทั่วโลกผันผวน แนะลงทุนโดยเน้นปัจจัยพื้นฐาน

อังคาร ๒๙ มกราคม ๒๐๐๘ ๐๘:๕๕
กรุงเทพฯ--29 ม.ค.--บลจ.แอสเซท พลัส
ผู้จัดการกองทุนแอสเซส พลัส เผยความกังวลซับไพร์มอาจกลับมาอีกรอบจากการประกาศผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินยุโรปในเดือนกุมภาพันธ์ และจะส่งผลกระทบต่อภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกอีกครั้ง ชี้เป็นจังหวะการเข้าลงทุนที่ดีสำหรับการลงทุนระยะยาวในหุ้นปัจจัยพื้นฐาน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และบริค
นางลดาวรรณ เจริญรัชต์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด ให้ความเห็นว่า ในเดือนมกราคม ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงอย่างมากหลังการประกาศตัวเลขขาดทุนของซิตี้กรุ๊ป ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาดเกี่ยวกับการขาดทุนของสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ทั้งนี้ คาดว่าจะมีสถาบันการเงินอีกหลายแห่งจะประกาศตัวเลขการขาดทุนออกมาอย่างต่อเนื่อง และอาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกอีกครั้ง ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ได้ปรับลดตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของสหรัฐ ในปี 2551 ลงจาก 2% เป็น 1%
ทั้งนี้ ในมุมมองของแอสเซทพลัส คาดว่า ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐจะเป็นเพียงการชะลอตัวลงของภาวะเศรษฐกิจ ยังไม่ใช่การเกิดภาวะถดถอยของเศรษฐกิจ (Recession) ที่ตัวเลข GDP จะต้องติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน เนื่องจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่ากําลังชะลอตัวลงอย?างชัดเจนจากผลกระทบของป?ญหาในภาคอสังหาริมทรัพย? และปัญหาสินเชื่อตึงตัวที่เริ่มขยายวงกว้างขึ้นไปยังภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ หลายหน่วยงานของสหรัฐ ทั้งธนาคารกลางและภาครัฐได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งการใช้นโยบายการเงินด?วยการลดดอกเบี้ย ซึ่งเฟดได้ประกาศลดดอกเบี้ยก่อนการประชุมวาระปกติสูงถึง 0.75% จาก 4.25% ลงเหลือ 3.50% เมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา และคาดว่าจะต้องปรับลดลงต่อไปจนถึงประมาณ 2.5-3.0% รวมทั้ง การใช้นโยบายการคลังเพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงของปัญหาลง
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกในระยะสั้น 1-3 เดือน จะยังคงผันผวนโดยถูกกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และความกังวลต่อปัญหาของซับไพร์มที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องตั้งสำรองหนี้เสียในจำนวนที่สูงขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติขายทำกำไรในตลาดที่ยังคงมีกำไรและมีสภาพคล่องอยู่ เพื่อถือเงินสดไว้เป็นสภาพคล่อง
“อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวหากพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ นักวิเคราะห์ยังให้ความสนใจลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศแถบเอเชีย โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศบริค (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน) ที่มีการเติบโตของกำไรต่อหุ้นค่อนข้างสูง การประเมินมูลค่าหุ้น (Valuation) ให้ผลตอบแทนที่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศตลาดเกิดใหม่ด้วยกัน เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่ใหญ่และได้รับผลดีจากการอ่อนค่าของดอลล่าร์และกำไรจากการค้าสินค้าเกษตรและโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มพลังงานและวัสดุภัณฑ์ที่ซื้อขายกันในราคาที่ต่ำกว่าในตลาดของประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ โครงสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวเกิดจากความต้องการอุปโภคบริโภคภายในประเทศของตนเอง และความแข็งแกร่งทางด้านโครงสร้างการเงินของประเทศต่างๆ เหล่านี้มีมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก จึงทำให้สามารถต้านทานผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐได้ การปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นก็เป็นจังหวะที่ดีในการลงทุนด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า” นางลดาวรรณ กล่าว
ส่วนประชาสัมพันธ์ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
นิตยา เลิศแสงเพชร โทร. 02-672-1000 ต่อ 3314 อีเมล์: [email protected]
มุกพิม จุลพงศธร โทร. 02-672-1000 ต่อ 3308 อีเมล์: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ