“ไซเบอร์ดิคฯ” ส่งสินค้าใหม่รับปีหนูทอง นำร่อง “Advanced Learner 5” เจาะ PDA Dictionary

จันทร์ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๘ ๑๑:๕๗
กรุงเทพฯ--11 ก.พ.--ไซเบอร์ดิค เทคโนโลยี
บ.ไซเบอร์ดิคฯ เปิดศักราชรับปีหนูทอง ประเดิมผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ล่าสุด “CyberDict Besta # Advanced Learner 5” ลุยตลาดดิกชันนารีแบบ PDA เน้นนวัตกรรมการเรียนรู้ มุ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายคนทำงานที่ต้องการฝึกภาษาด้วยตนเอง ตั้งเป้าปี 2551 ชิงส่วนแบ่งทะลุ 65 เปอร์เซ็นต์ ....
นายธัชพล จรูญวรรธนะ รองประธานกรรมการ บริษัทไซเบอร์ดิค เทคโนโลยี จำกัด ผู้นำเข้า และจัดจำหน่ายพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ไซเบอร์ดิค เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯ ได้เปิดตัวพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นใหม่ คือ “CyberDict Besta # Advanced Learner 5” เป็นพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ PDA (Personal Digital Assistant) ซึ่งมีความแตกต่างจากไซเบอร์ดิคในรุ่นอื่นที่วางตลาดก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ นายธัชพล กล่าวว่า ปัจจุบันพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ทั่วไป จะมีรูปแบบที่คล้ายๆ กัน คือ ผู้ใช้จะกดหาคำศัพท์จากคีย์บอร์ด และค้นหาคำศัพท์ตามที่ต้องการ และฟังการออกเสียงจากเจ้าของภาษาเท่านั้น ขณะที่ CyberDict Besta # Advanced Learner 5 จะเป็น PDA ดิกชันนารี ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ ในทันที (Interactive) ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สามารถฝึกทักษะ และเรียนรู้ภาษาจากเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“สินค้าตัวนี้ นอกจากจะรวบรวมคำศัพท์ถึง 11 ภาษาแล้ว ยังมีความพิเศษกว่าพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป คือ เน้นฟังก์ชันมัลติมีเดีย มีการเรียนรู้แบบ 2 ทางหลากหลายรูปแบบ คือผู้ใช้สามารถฝึกการออกเสียงกับเครื่องได้เลย ซึ่งจะมีบทสนทนาแบบสั้นๆ สามารถตอบโต้กัน มีการบันทึกการออกเสียง เพื่อให้ผู้ฝึกเปรียบเทียบการออกเสียงให้เหมือนกับเจ้าของภาษา อีกทั้งยังมีการฝึกเขียนภาษาจีนจากระบบสัมผัสด้วยปากกา Stylus ซึ่งพิเศษกว่าพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ที่วางขายในตลาดทั่วไปนั่นเอง”
สำหรับกลุ่มเป้าหมายของ CyberDict Besta # Advanced Learner 5 นั้น จะเป็นกลุ่มวัยทำงาน และวัยรุ่น ที่เน้นการฝึกฝนทักษะทางด้านภาษาด้วยตนเอง เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ขณะเดียวกันก็สามารถดูหนัง มิวสิควีดีโอ ฟังเพลงได้ด้วย ซึ่งบริษัทฯ ตั้งราคาจำหน่ายเครื่องละ 11,900 บาท
“หลังจากที่เราวางตลาด PDA ดิกชันนารี CyberDict Besta # Advanced Learner 5 เมื่อประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมา ถือว่าได้รับการตอบรับอย่างดี เพราะปัจจุบันกลุ่มคนทำงาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญกับภาษาที่สองเป็นอย่างมากแต่ไม่มีเวลาเรียนภาษาเพิ่มเติม ดังนั้น PDA ดิกชันนารีเครื่องนี้จะช่วยฝึกฝนได้ทุกที่ตามความต้องการของผู้ใช้ สำหรับในปีนี้บริษัทฯ คาดว่าน่าจะมีส่วนแบ่งในตลาดประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่มตลาด PDA ดิกชันนารี ที่มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 24,000 เครื่องต่อปี”
อย่างไรก็ตาม นายธัชพล ยังได้กล่าวถึงแนวโน้มของการแข่งขันในตลาดพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ว่า จะยังคงรุนแรง โดยผู้ประกอบการจะมุ่งเน้นทักษะการเรียนรู้ และพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น โดยมีการแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็น 2 กลุ่มอย่างชัดเจน คือ กลุ่มที่ต้องการเรียนรู้ และกลุ่มที่ต้องการใช้ดิกชันนารีเพื่อค้นหาคำศัพท์เท่านั้น
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถทดลองใช้ PDA ดิกชันนารี CyberDict Besta # Advanced Learner 5 ได้แล้ววันนี้ที่ เคาน์เตอร์ไซเบอร์ดิค ภายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ หรือติดต่อได้ที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท ไซเบอร์ดิค เทคโนโลยี จำกัด โทร. 0-2679 — 8008, www.cyberdict.com
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : ฝ่ายประชาสัมพันธ์
ภัทรวดี ใจผ่อง (เอ) 08 - 5239 - 8400 , 08-6334 — 1894
ศุภชัย ปานพรเจริญ (เต้) 08 — 6356 - 5049 , 08- 6310 - 9859
หรือ บริษัท ไซเบอร์ดิค เทคโนโลยี จำกัด โทร. 0-2679 — 8008 , www.cyberdict.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ