กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับไมโครซอฟท์ พัฒนาศักยภาพไอซีทีสำหรับนักเรียนพิการ ส่งเสริมศักยภาพการศึกษาอย่างเท่าเทียม

พุธ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๘ ๑๕:๒๓
กรุงเทพฯ--13 ก.พ.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน
กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับไมโครซอฟท์ ประเทศไทย พัฒนาหลักสูตร “ส่งเสริมศักยภาพและการใช้ ICT สำหรับนักเรียนพิการ” นำร่องจัดอบรมครูผู้แทนเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม ICT Accessibility 50 คน ก่อนขยายผลสู่โรงเรียนเรียนร่วม 5,000 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเสริมศักยภาพการศึกษาอย่างเท่าเทียมสู่นักเรียนพิการ
ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายใน การพัฒนาการศึกษาของไทยให้ก้าวไกลทัดเทียมนานาประเทศ โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมศักยภาพของบุคลากร ซึ่งในโลกปัจจุบันที่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกๆ ด้านนั้น จำเป็นต้องพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและมีการนำไปใช้งาน อย่างกว้างขวางเพื่อให้ทักษะดังกล่าวแพร่ขยายออกไปและให้เกิดการพัฒนาที่มากยิ่งขึ้น ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ร่วมกับบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในการพัฒนาหลักสูตร “ส่งเสริมศักยภาพและการใช้ ICT สำหรับนักเรียนพิการ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมหลักสูตรนี้ให้กับครู และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเรียนร่วม (โรงเรียนที่มีคนพิการเรียนร่วม) เพื่อจะได้มีความรู้ในการประยุกต์ใช้ไอซีที สำหรับการเรียนการสอนและอำนวยความสะดวกนักเรียนพิการในโรงเรียนและนอกโรงเรียน อันจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพด้าน ICT และเสริมสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างนักเรียนพิการและนักเรียนปกติ ให้มีการเข้าถึงสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
นางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ไมโครซอฟท์ให้ความสำคัญในการส่งเสริมศักยภาพของคนทุกคน โดยเฉพาะในด้านของการ Transform Education ซึ่งจะเป็นการนำเอาเทคโนโลยีมาเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งไมโครซอฟท์ให้การสนับสนุนทั้งในด้านให้ความรู้ และการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะให้ การสนับสนุนการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันและการทำงาน ซึ่งการพัฒนาโปรแกรมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้นี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ “Unlimited Potential” ของไมโครซอฟท์ ที่มุ่งส่งเสริมการศึกษา รวมทั้งขยายช่องทางในการเรียนรู้ กระตุ้นการสร้างงานสร้างโอกาสขยายการเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของประชากรทั่วโลก 5 พันล้านคน และ 1 พันล้านคนที่ไม่ตระหนักความสำคัญของเทคโนโลยี ภายในปี พ.ศ. 2558 อีกทั้งลดช่องว่างทางการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเท่าเทียมกัน ไมโครซอฟท์จึงริเริ่มกิจกรรมและโครงการต่างๆ ที่สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาของกระทรวงศึกษาธิการ และให้ความใส่ใจกับบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับการนำไอซีทีไปใช้กับการเรียนการสอนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นปรกติหรือมีลักษณะพิเศษใดๆ ก็ตาม โดยเปิดโอกาสให้ผู้พิการที่มีปัญหาทางสายตาหรือผู้พิการทางการเคลื่อนไหวได้มีโอกาสใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป โดยการนำโปรแกรม ICT Accessibility ซึ่งเป็นโปรแกรมสนับสนุนการใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับผู้มีปัญหาในการเคลื่อนไหว หรือมองเห็นมาสนับสนุนการทำงานของพวกเขาเหล่านั้น ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะว่าต้องเป็นผู้พิการทางสายตา หรือร่างกายเท่านั้น สำหรับผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ หรือบกพร่องทางด้านสายตา หรืออาจจะแขนหักก็สามารถเรียนรู้ที่จะใช้โปรแกรมนี้ช่วยในการทำงาน หรือสื่อสาร กับผู้อื่นได้ ไมโครซอฟท์เชื่อว่าคนเราทุกคนมีศักยภาพซึ่งไร้ขีดจำกัดซ่อนอยู่ แต่ด้วยโอกาสที่มีจำกัด จึงทำให้แสดงความสามารถออกมาได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งเชื่อว่าเทคโนโลยีจะช่วยให้ผู้คนสามารถปลดปล่อยศักยภาพไร้ขีดจำกัดเหล่านั้นของตนได้
สำหรับเนื้อหาของหลักสูตร “ส่งเสริมศักยภาพและการใช้ ICT สำหรับนักเรียนพิการ” ประกอบไปด้วย
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคนพิการจำแนกตามประเภทความพิการ
2. เครื่องมือ (Tools) ในโปรแกรมปฏิบัติการ Microsoft Windows ที่ช่วยคนพิการ
3. เครื่องมือ (Tools) ในโปรแกรมประยุกต์ (Application software) ของไมโครซอฟท์ที่ช่วย คนพิการ
4. เทคโนโลยีอำนวยความสะดวก (Assistive Technology) และแหล่งเรียนรู้บน Internet สำหรับคนพิการ
ในปัจจุบันสถานศึกษาส่วนใหญ่มีการนำฟังก์ชั่นที่สนับสนุนการใช้งานสำหรับคนพิการน้อยมาก ดังนั้น การเรียนรู้ในหลักสูตรนี้จะช่วยให้สถานศึกษาสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน ขณะนี้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้มอบให้ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการอบรมวิทยากรแกนนำของหลักสูตรดังกล่าวให้กับตัวแทนครูจากสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) และสำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) โดยวิทยากรที่ให้ความรู้ในการอบรมครั้งนี้คือผู้ทรงคุณวุฒิจากวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้ ได้จัดอบรมครูแกนนำจำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 25 คน ซึ่งรุ่นแรกได้อบรมไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม — 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และรุ่นที่ 2 อบรมในวันที่ 12-14 กุมภาพันธ์นี้
“การอบรมครูในหลักสูตร “ส่งเสริมศักยภาพและการใช้ ICT สำหรับนักเรียนพิการ” จำนวน 50 ท่านในครั้งนี้ ถือเป็นโครงการนำร่อง เพื่อให้ครูเหล่านี้ได้นำความรู้ที่ได้ไปขยายผลต่อเพื่อนครู และนักเรียนใน โรงเรียนเรียนร่วมอีก 5,000 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกันระหว่างนักเรียนปรกติกับนักเรียนพิการ ถือเป็นการลดช่องว่างทางการศึกษา และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีการพัฒนาศักยภาพทางการเรียนรู้ได้อย่างกว้างไกล” ดร.จรวยพร กล่าวปิดท้าย
บรรยายภาพ
ซ้ายสุด อาจารย์วราพรณ์ ปัญญาประโชติ โรงเรียนศรีสังวาลย์ จังหวัดนนทบุรี
ที่ 2 จากซ้าย คุณปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด
ที่ 3 จากซ้าย ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ขวาสุด อาจารย์เสถียร อุสาหะ จากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณศุภาดา ใจดี
ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทย
โทรศัพท์: 0-2627 3501 ต่อ 209
โทรสาร: 0-2627 3545
Email: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ