ก.พลังงาน เดินหน้า มาตรการเร่งบรรเทาปัญหาราคาน้ำมัน แก่ประชาชน

พุธ ๐๕ มีนาคม ๒๐๐๘ ๑๕:๕๕
กรุงเทพฯ--5 มี.ค.--ก.พลังงาน
ก.พลังงาน เดินหน้า มาตรการเร่งบรรเทาปัญหาราคาน้ำมัน แก่ประชาชน ภายหลังได้ข้อสรุปการประชุมหาแนวทางและตั้งรับน้ำมันแพงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ (5 มี.ค.51) ได้เรียกประชุมผู้บริหารกระทรวงพลังงานประกอบด้วย ปลัดกระทรวงฯ รองปลัดฯ ทั้งสองท่าน อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. และรองฯ ทั้งสองท่าน เพื่อหาแนวทาง และตั้งรับเรื่องน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม ได้มีการพิจารณามาตรการลดผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเบื้องต้น ได้ข้อสรุปมาตรการต่างๆ ที่จะต้องนำไปหารือเพื่อขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ต่อไป ได้แก่
1. มาตรการระยะสั้น จะเป็นมาตรการทางด้านการบริหารจัดการเก็บเงินเข้ากองทุน เบื้องต้น จะชะลอเก็บเงินช่วงสั้นๆ ที่น้ำมันมีราคาสูง เข้ากองทุนฯ อนุรักษ์ 50 สตางค์/ลิตร ที่เกี่ยวข้องกับการทำระบบขนส่งมวลชนออกไปก่อน เนื่องจากการเก็บเงินดังกล่าวเป็นการเก็บไปชำระค่าเงินต้นของเงินกู้รถไฟฟ้า มีการชำระดังกล่าว เมื่อมีปัญหาเท่านั้น ซึ่งยังเป็นเรื่องอีกยาวไกล 5-6 ปี ข้างหน้า ลดหรือเลิกการเก็บเงินกองทุนน้ำมันที่เก็บลิตรละ 10 สตางค์จากดีเซลออกไปก่อน ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระลงไปใช้วิธีการบริหารรายได้รายเดือนเงินกองทุนน้ำมันทีเก็บจาก น้ำมันชนิดอื่น ๆ มาช่วยชดเชยดีเซล อีกประมาณลิตรละ 30 สตางค์ โดยรวมแล้วจะช่วยลดราคาน้ำมันได้เกือบ 1 บาทต่อลิตร ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาราคาน้ำมันไม่ให้ปรับขึ้นโดยเร็ว และที่สำคัญวิธีการดำเนินงานทั้งหมดขั้นต้น จะไม่ส่งผลลบต่อสถานะกองทุนน้ำมันอย่างเด็ดขาด
2. มาตรการระยะยาว จะเร่งส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์หรือเอ็นจีวี โดยเร่งให้สามารถทดแทนการใช้น้ำมันได้ถึงร้อยละ 20 ภายในปี 2554 โดยตั้งเป้าให้ภายใน 4 ปี จะต้องมีรถยนต์ใช้เอ็นจีวีได้ถึง 210,860 คัน รถบรรทุกโดยสารอีก 56,940 คัน และมีสถานีบริการเอ็นจีวีเพิ่มขึ้นเป็น 580 แห่ง โดยในสิ้นปีดังกล่าวจำนวนรถยนต์ที่ใช้เอ็นจีวีจะเพิ่มเป็น 235,000 คัน รถบรรทุกโดยสาร 88,000 คัน และจำนวนปั๊มเพิ่มเป็น 725 ปั๊มทั่วประเทศ
โดยกระทรวงพลังงานจะเร่งดำเนินการ พิจารณาเพิ่มวงเงินจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานในโครงการทุนหมุนเวียนสำหรับยานยนต์จาก 2,000 ล้านบาทเป็น 4,000 ล้านบาท รวมเดิมที่ ปตท. ดำเนินการ 5,000 ล้าน และสนพ. 2,000 ล้านบาท เป็น รวมทั้งสิ้น 9,000 ล้านบาท โดยคิดดอกเบี้ยต่ำเพียงร้อยละ 0.5 ต่อปี ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดอู่ติดตั้งถังเอ็นจีวีมากขึ้นและเกิดปั๊มเอ็นจีวีมากขึ้นทันตามกำหนดเวลาด้วย
เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องการขออนุญาตที่มีขั้นตอนซับซ้อน เช่นการวางท่อก๊าซเข้าสถานีแม่ การตั้งปั๊มเอ็นจีวี ที่ต้องรีบดำเนินการแก้ไขกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการเพิ่มจำนวนปั๊มเอ็นจีวี รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ด้วย
ขอความร่วมมือกระทรวงการคลัง ขยายระยะเวลาในด้านภาษีอากรที่รัฐบาลช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ที่จะหมดอายุลงในสิ้นปีนี้ (31 ธ.ค. 2551) โดยขอขยายระยะเวลายกเว้นต่อไปอีก 3 ปี เช่นการยกเว้นอากรขาเข้าถังบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดและอุปกรณ์ควบคุมการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ และครอบคลุมไปถึงรถบรรทุกด้วย
3. มาตรการการช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้โดยเฉพาะเจาะจง
น้ำมันม่วง จะสามารถกลับมาอุดหนุนได้เหมือนเดิม โดยส่วนต่างจะได้ประมาณ 2 บาท เดิมที่ได้เลิกไปเพราะเงิน 1 บาท ที่ได้จาก คชก.นั้นได้ถูกยกเลิกไป จึงทำให้การอุดหนุนในส่วนนี้ขาดหายไป
น้ำมันเขียว ซึ่งใช้อยู่เดิม เดือนละ 70 ล้านลิตร ก็สามารถช่วยจัดหามาได้เหมือนเดิม ซึ่งส่วนนี้อยู่ในน้ำลึก มีส่วนต่างราคาที่ต่ำกว่าถึง 5 บาท
การส่งเสริมการใช้ก๊าซเอ็นจีวีในภาคการประมง ก็อาจจะต้องสร้าง Plant เพิ่มขึ้นที่สงขลา จากที่มีอยู่แล้วที่จังหวัดระยอง โดยจะส่งเสริมให้ใช้ LNG (Liquefied Natural Gas) ซึ่งได้อัดแน่นพิเศษจนกระทั่งเป็นของเหลว จึงสามารถเติมได้มากกว่าสภาพเป็นก๊าซถึง 6 เท่า
ในส่วนของรถกระบะหรือรถตู้ทั่วไปซึ่งเป็นรถเชิงพาณิชย์ และภาคเกษตรแต่ไม่สามารถดัดแปลงหรือปรับแต่งเครื่องยนต์ไปใช้เอ็นจีวีได้ ก็จะได้รับการดูแลโดยจะทำให้น้ำมัน B5 แตกต่างจากดีเซลทั่วไปเป็นประมาณ 70 สตางค์ต่อลิตร ก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายลงไปได้อีก
4. เรื่องมาตรการประหยัดพลังงาน
ในเรื่องนี้ได้มีการหารือกันอย่างกว้างขวางถึง ประเด็นและมาตรการต่าง ๆ ทั้งที่ได้ทำมาแล้วและเรื่องใหม่ๆ ที่จะดำเนินการ โดยที่ประชุมได้สรุปโดยมอบหมายให้ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานไปดำเนินการในรายละเอียดมาเสนอต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ