TCELSจับมือสมาคมนักวิจัยระดับโลกสอบมาตรฐานนักวิจัยไทย

พุธ ๑๒ มีนาคม ๒๐๐๘ ๑๖:๓๖
กรุงเทพฯ--12 มี.ค.--TCELS
TCELS ร่วมกับสมาคมวิชาชีพนักวิจัยทางคลินิก เป็นเจ้าภาพจัดสอบมาตรฐานนักวิจัยทางคลินิกระดับสากล หวังติดอาวุธมาตรฐานให้นักวิจัยไทย รองรับการพัฒนายาใหม่ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจประเทศไทยที่มีนักวิจัยทางคลินิกที่มีฝีมือและการตรวจสอบจริยธรรมที่เข้มแข็ง เผยผลดีจะสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศและทำให้คนไทยเข้าถึงการรักษาก่อนใคร ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) ร่วมกับ สมาคมวิชาชีพนักวิจัยทางคลินิก(Association of Clinical Professionals : ACRP) ซึ่งตั้งอยู่ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา จัดสอบมาตรฐานการวิจัยทางคลินิกระดับนานาชาติขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทย โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมสอบในครั้งนี้จำนวน 9 คน และจะประกาศผลอย่างเป็นทางการสิ้นเดือนมีนาคม นายแพทย์ธงชัย ทวิชาชาติ ผู้อำนวยการ TCELS กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ TCELS ได้รับเลือกให้จัดการสอบมาตรฐานนักวิจัยทางคลินิกระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี เนื่องจากขณะนี้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับมาตรฐานการวิจัยมาก ดังนั้นการที่สมาคมวิชาชีพนักวิจัยทางคลินิกให้ความไว้วางใจเลือกประเทศไทย จึงถือเป็นการโอกาสที่ดีของนักวิจัยทางคลินิกทางคลินิกของไทยจะยกระดับตัวเองให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สามารถร่วมทำการวิจัยกับสถาบันชั้นนำทั่วโลกได้ ถือเป็นการดึงดูดนักลงทุนนำงานวิจัยระดับโลกสู่ประเทศไทย เป็นการสร้างงานและสร้างเงินให้กับประเทศชาติ ผอ.TCELS กล่าวต่อว่า ประเทศไทยมีนักวิจัยทางคลินิกอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ต่างคนต่างทำงานไม่มีการรวมศูนย์และผลักดันให้นักวิจัยเหล่านี้ยกระดับตัวเองให้เป็นนักวิจัยในระดับสากลคือการสอบมาตรฐานนักวิจัยนานาชาติ เพื่อรองรับการพัฒนายาใหม่ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจประเทศไทย ซึ่งจะทำให้คนไทยมีสิทธิเข้าถึงการรักษาพยาบาลก่อน แต่หากนักวิจัยไทยไม่ได้ติดอาวุธด้วยมาตรฐานที่ได้รับการรับรองระดับนานาชาติขณะที่ประเทศอื่น ๆ ให้ความสำคัญในประเด็นนี้ ทุนที่มีจำกัดจากสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลกที่ต้องการพัฒนายาใหม่ก็มีสิทธิ์เลือกนักวิจัยจากประเทศอื่น ๆ ประเทศไทยก็จะเสียโอกาสไป ส่วนที่หลายฝ่ายเป็นห่วงว่าการนำงานวิจัยระดับโลกเข้าสู่ประเทศไทยจะติดปัญหาเรื่องจริยธรรมนั้น นายแพทย์ธงชัย กล่าวว่า ประเทศไทยมีกระบวนการตรวจสอบจริยธรรมที่เข้มแข็ง โดยมีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการร่วมพิจารณาจริยธรรมการวิจัยทางคลินิกของประเทศไทย ที่สามารถเป็นแหล่งสำหรับโครงการวิจัยขนาดใหญ่ได้ ซึ่งทำให้คนไทยจะได้ใช้ประโยชน์จากยาหรือผลวิจัยนั้นได้ก่อนใคร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ