แอร์เทรนทุ่ม 350 ล้าน บาท ขยายการผลิต และโรงงานในไทย

พุธ ๑๒ มีนาคม ๒๐๐๘ ๑๖:๔๕
กรุงเทพฯ--12 มี.ค.--โฟร์ฮันเดรท
เทรน ผู้นำตลาดเครื่องปรับอากาศของโลก และผู้นำในการให้บริการระบบทำความร้อนแบบเบ็ดเสร็จ, ระบบการระบายอากาศ, ทั้งการบริการและการแก้ไขปัญหาสำหรับอาคารสำนักงาน บ้านพักอาศัย ร่วมกับ บริษัท จาร์ดีน เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ทุ่มงบกว่า 350 ล้านบาท เปิดโรงงานผลิตแห่งใหม่ บนพื้นที่ใช้สอยกว่า 27,200 ตรม. พร้อมเพิ่มกำลังการผลิต ลุยตลาดเต็มรูปแบบ หวังไทยเป็นฐานการผลิต และขยายไปยังทั่วโลก บริษัทฯแม่ ย้ำสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ถึง 2 เท่า ถ้าเต็มกำลังในการผลิตสามารถผลิตได้ถึง 5 แสนยูนิคต่อปี พร้อมเพิ่มเทคโนโลยีที่จะช่วยเรื่องปัญหาลดโลกร้อน และปีที่ผ่านมายอดขายในประเทศไทย และส่งออกมียอดขายมากกว่า 100 ล้านเหรียญ US จึงทำให้เทรนฯในปีที่ผ่านมามีรายได้ทั่วโลกทั้งหมดประมาณ 7.45 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ
มร.เครก คิสเซล ประธานใหญ่ (Global President) เทรน คอมเมอร์เชียล ซิสเทม เปิดเผยว่า เทรน คอมเมอร์เชียล ซิสเทม ได้ร่วมกับบริษัท บริษัท จาร์ดีน เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน ใช้งบประมาณกว่า 350 ล้านบาท หรือ ประมาณ 11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สร้างโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศแห่งใหม่ในเมืองไทย โดยจัดให้เป็นโรงงานที่สุดยอดแห่งการผลิต ด้วยนวัตกรรมที่ล้ำสมัยเพื่อผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดของเทรน สำหรับบ้านพักอาศัย และอุตสาหกรรมขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง ตั้งแต่ ระดับ 6 - 60 ตัน โดยเราหวังจะกำหนดมาตรฐานสำหรับโรงงานผลิตแห่งใหม่ด้วยนวัตกรรม และคุณภาพระดับสูงของเครื่องปรับอากาศ สำหรับบ้านพักอาศัย และการใช้เชิงพาณิชย์ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
และเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการผลิต และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค บริษัทฯ ได้ทุ่มงบกว่า 350 ล้านบาท สร้างโรงงานใหม่ขึ้นบนเนื้อที่ใช้สอยกว่า 27,200 ตารางเมตร โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ออฟฟิศ และสายงานการผลิต ที่มีเทคโนโลยีและประสิทธิภาพสูงในด้านการผลิต โดยมีในส่วนของแล็บ 3 ส่วน เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเครื่อง ทั้งกำลังความเย็น และค่าการใช้พลังงาน, อุโมลมเพื่อทดสอบวัดปริมาณลมของเครื่อง และห้องแล็บสำหรับวัดเสียงของเครื่อง ปรับอากาศด้วย
มร.เครก กล่าวต่อว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุน และขยายกำลังการผลิตเป็นอย่างมาก ซึ่งปีที่ผ่านมาสามารถผลิตเครื่องปรับอากาศได้ประมาณ 170,000 ยูนิค สำหรับโรงงานเก่า และโรงงานใหม่แห่งนี้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากกว่า 2 เท่า และในปีนี้คาดว่าจะมีการเพิ่มการผลิตได้ถึง 250,000 ยูนิค และถ้าผลิตเต็มกำลังจะสามารถผลิตได้ถึง 5 แสนยูนิค
ในปีที่ผ่านมาเทรน (ประเทศไทย) มีการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศในประเทศ และส่งออกไปยังต่างประเทศด้วยสัดส่วน 50 : 50 โดยส่งออกไปยังแถบลาตินอเมริกา 21 %, ตะวันออกกลาง และยุโรป 14 %, เอเชียแปซิฟิก 5 %, ประเทศเวียดนาม 7 % และผลิตส่งภายในประเทศ 53 % ทั้งนี้หลังจากเปิดโรงงานใหม่แล้ว บริษัทฯ จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ถึง 2 เท่า โดยจะสามารถผลิตเครื่องปรับอากาศ ที่อยู่อาศัย 80 % และเชิงธุรกิจพาณิชย์, สถาบันและตลาดอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีก 20 % โดยประมาณ และคาดว่าในปีนี้บริษัทจะเพิ่มการส่งออกไปยังประเทศอเมริกา และประเทศแถบยุโรป รวมแล้วกว่า 40 ประเทศทั่วโลก
ด้าน มร.เจมส์ แกรเฮม ผู้บริหารระดับสูง บริษัท จาร์ดีน เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้ร่วมทุนกับ เทรน (ประเทศไทย) กล่าวว่า “การเปิดตัวของโรงงานนวัตกรรมแห่งใหม่ของเราในวันนี้ ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในการพัฒนาของ เทรน ในประเทศไทย” ”เราภูมิใจที่ได้เป็นพันธมิตรกับ เทรน สินค้าที่ได้รับการยอมรับในด้านคุณภาพ การให้บริการและในเรื่องสมรรถนะทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก”
เทรนได้ก่อตั้งโรงงานขึ้นในประเทศไทย เมื่อปีพ.ศ. 2534 และเป็นบริษัทแรกที่ได้รับรางวัลจาก สภาส่งเสริมคุณภาพอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำหรับผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศที่ได้รับอนุญาต โดยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศไทยสามารถรองรับตลาดในประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ยังรวมถึงในลาตินอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลางและเอซียอีกด้วย โดยโรงงานใหม่มีพนักงานประมาณ 350 คน โดยโรงงานแห่งใหม่นี้ มีประสิทธิภาพในการผลิตมากกว่า 2 เท่า หรือเป็นทวีคูณ
นายฟรานซิส หยวน ประธาน เทรน คอมเมอร์ชียล ซิสเท็ม เอเชีย กล่าวว่า “ในปีที่ผ่านมา โรงงานของเราในประเทศไทยได้กลายเป็น เครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางการผลิตของเทรน ด้วยโรงงานแห่งใหม่ในประเทศไทยนี้ จะทำให้เราสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้กว่าสองเท่า และรองรับความต้องการสินค้าในตลาดไทย และทั่วโลกได้มากขึ้น”
เทรนได้นำนวัตกรรมแบบครบวงจร ในการผลิตเครื่องปรับอากาศ ที่ช่วยให้สามารถประหยัดพลังงาน ด้วยระบบการผลิตแบบซิก ซิกม่า ลีน ในการผลิตผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ของเครื่องปรับอากาศ สำหรับบ้านพักอาศัย, สำนักงานขนาดเล็ก,อาคารพาณิชย์ และโรงงานขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ซึ่งมีผลิตภัณฑ์แบบที่ครบวงจรด้วยรุ่น New Stylus, Genio II, Triple E, Cassette, Illusion และ Insight สำหรับบ้านพักอาศัย ตลอดจนแบบ Odyssey และ RAUP สำหรับใช้เพื่อเชิงพาณิชย์
ทางด้าน นายสุริชัย ภัทรกิจนิรันดร์ กรรมการผู้จัดการ เทรน (ประเทศไทย) ได้กล่าวเน้นว่า “จุดเด่นของผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศของเทรนรุ่น New Stylus, Genio II, และ Triple-E ต่างได้รับการจัดให้เป็นสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การนำเสนอนวัตกรรมระบบปรับอากาศล่าสุดของเทรนทั้งหมดนี้ เพื่อทำให้มีอากาศที่ตอบสนองความต้องการได้ในอาคารทุก ๆ แห่ง และในขณะเดียวกัน “เทรน” ยังช่วยลดค่าใช้จ่าย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย”
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ผู้สื่อข่าวสามารถติดต่อ
คุณมหิธร วิภัติภูมิประเทศ
ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด
เทรน (ประเทศไทย)
โทร: 0-2656-8777 ext. 8300
มือถือ: 081-829-5040
บริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ บริษัท โฟร์ฮันเดรท จำกัด
นายสิทธิกร เสงี่ยมโปร่ง
ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์
โทร: 02-362-4123-4
มือถือ : 081-913-1291

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๐ พี อาร์ จี ร่วมยินดีเปิด สนามพิคเคิลบอล แห่งใหม่ที่ริเวอร์เดล มารีน่า
๑๖:๐๖ วว. คว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 ประเภทวิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช / วิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
๑๖:๓๙ TIME Consulting จับมือ Orbus Software และ Stelligence จัดงาน AI-DATA SYNERGY: CRAFTING A DATA DRIVEN FUTURE
๑๖:๓๔ คณะจากสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดอุดรธานี ศึกษาดูงานโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนอ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย
๑๖:๐๒ จีนโปรโมตกิจกรรม China in Children's Chorus สืบสานศิลปะการแต่งเพลงสำหรับเด็กให้เปล่งประกายโดดเด่นในยุคสมัยใหม่
๑๖:๑๔ คิง เพาเวอร์ เปิดบูติกนาฬิกาแฟรงค์ มุลเลอร์ 2 แห่งใหม่ ณ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ และ คิง เพาเวอร์ ศรีวารี
๑๖:๑๖ WP ประเมินผลงานโค้งสุดท้ายโตแกร่ง! ความต้องการใช้ก๊าซ LPG คึกคัก -เน้นกลยุทธ์คุมต้นทุนอยู่หมัด มั่นใจดันยอดขายเข้าเป้าแตะ 8.2
๑๖:๓๗ โรงพิมพ์กรังด์ปรีซ์ฯ รับรางวัล BRONZE AWARD ใน การประกวดสิ่งพิมพ์แห่งชาติ ครั้งที่ 17 ประเภทระบบการพิมพ์แบบออฟเซ็ต จากสมาคมการพิมพ์ไทย ประจำปี
๑๖:๕๕ เอเชี่ยน เคมิคัล จำกัดเข้าร่วมโครงการระบบการบริหารจัดการความปลอดภัย เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินจากสารเคมีในโรงงาน
๑๖:๐๗ NILA พาออกเดินทางเลียบชายฝั่งประเทศอินเดีย สัมผัสรสชาติอาหารท้องถิ่น กับ 'เทสติ้ง เมนู' ใหม่