สวทช. ร่วมกับ GTZ เดินหน้าโครงการจับคู่ธุรกิจนวัตกรรม ดึง 3 สถาบันการศึกษาและเครือข่ายพันธมิตรเข้าร่วมฯ

พฤหัส ๑๓ มีนาคม ๒๐๐๘ ๑๒:๐๒
กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--สวทช.
สวทช. ร่วมกับสำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมัน (GTZ) เร่งเดินหน้าโครงการ Mapping and Matchingนวัตกรรมในสาขาย่อยของอุตสาหกรรมเกษตรเป้าหมาย ผ่านเครือข่าย iTAP ดึง 3 มหาวิทยาลัยเข้าร่วม ม.ศิลปากร,ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.),ม.สงขลานครินทร์(มอ.) และเครือข่ายพันธมิตรเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมเกษตรของไทย ตั้งเป้า 2 ปี จัดทำ‘ดาต้าเบส’พร้อม‘แผนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย’แบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาธุรกิจในอนาคต
ความคืบหน้าภายหลังจากการลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับสำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมัน ประจำประเทศไทย(GTZ) ใน ‘โครงการ Mapping and Matching นวัตกรรมในสาขาย่อยของอุตสาหกรรมเกษตรเป้าหมาย’ ดำเนินการโดยผ่านโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเอสเอ็มอีและส่งเสริมให้มีการนำนวัตกรรมไปใช้ในระดับของอุตสาหกรรมของไทยมากขึ้น
ล่าสุด ได้มีการขยายความร่วมมือดังกล่าวไปยังสถาบันการศึกษา 3 แห่ง ใน “โครงการ Mapping and Matching Innovation in Fruit Industry หรือ โครงการการจัดทำแผนที่ และจับคู่ธุรกิจนวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมผักและผลไม้” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเยอรมันดังกล่าว ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) , มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่(มอ.) และเครือข่ายพันธมิตร
รศ.ดร.สมชาย ฉัตรรัตนา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ความร่วมมือในโครงการดังกล่าว ถือเป็นนวัตกรรมในการทำโครงการร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เพราะเป็นโครงการที่เอกชนจะมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นตั้งแต่เริ่มต้น โดยจะเชื่อมโยงระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย และเอกชนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เกษตรกร ผู้ผลิต โรงงานแปรรูป และผู้ส่งออก รวมถึงเครือข่ายพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อมุ่งหากระบวนการหรือวิธีการทำงานที่เหมาะสมตั้งแต่ต้นน้ำไปสู่ปลายน้ำ
“ GTZ เป็นองค์กรขนาดใหญ่ และเป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลเยอรมันที่มีศักยภาพทางด้านการพัฒนาขีดความสามารถสูง และมีประสบการณ์จากการพัฒนาให้กับประเทศกำลังพัฒนาต่างๆทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ปี ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้จะทำให้ไทยได้รับประสบการณ์ที่สามารถนำมาปรับใช้โดยทาง GTZ จะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำและสนับสนุนด้านต่างๆ ที่ไทยยังขาดอยู่ โดยเฉพาะรูปแบบหรือวิธีการทำงานที่มีระบบที่ดีและประสบผลสำเร็จมาแล้วมากมายหลายโครงการ นำมาเป็นโมเดลสำหรับพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ของไทยแบบครบวงจรต่อไป”
โดยมหาวิทยาลัย 3 แห่งที่เข้าร่วมกับ GTZ ในโครงการนี้ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่เน้นการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมผักและผลไม้ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี และสมุทรสาคร ( demand side ) ซึ่งมีจำนวนเกือบ 200 แห่ง กับสถาบันการศึกษาและวิจัย และหน่วยงานบริการอื่นๆในพื้น อาทิ สภาอุตสาหกรรมจังหวัด กรมวิชาการเกษตร และสถาบันอาหาร เป็นต้น ( demand side ) มีลักษณะโครงการเป็นไปตามรูปแบบในการสร้าง “ระบบนวัตกรรมเฉพาะพื้นที่” (Regional innovation system ) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในกลุ่มประเทศยุโรป
ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ในฐานะเป็นที่ตั้งของเครือข่าย iTAP แห่งที่ 4 ดูแลพื้นที่ในจังหวัดภาคตะวันตก จะเน้นกลุ่มเป้าหมายผลไม้ 2 ชนิด คือ มะม่วง และ มะพร้าวครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี , ฉะเชิงเฉรา , เชียงใหม่ (อ.เชียงดาว) , สมุทรสาคร , สมุทรสงคราม และประจวบคีรีขันธ์ โดยจะดำเนินการร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร อาทิ สำนักงานเทคโนโลยี SMEs มจธ. (UTO) , ศูนย์ส่งเสริมงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญา (RIPPC) , สำนักพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ (PDI) ,ศูนย์วิจัยและบริการชุมชนและสังคม (UCOM) และ ชมรมมะม่วงราชบุรี
ขณะที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (มอ.) ในฐานะเครือข่าย iTAP ที่ดูแลพื้นที่ในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง จะเน้นการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน , ยางพารา และกุ้ง
สำหรับรูปแบบการดำเนินโครงการ มีระยะเวลา 2 ปี แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ในช่วงแรกจะทำสำรวจความต้องการและแหล่งเทคโนโลยีของภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่มีอยู่ พร้อมกับจัดทำฐานข้อมูลเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและความรู้แก่ผู้สนใจที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ต่อไป(ระยะเวลาประมาณ 6-8 เดือน ) จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการจับคู่ (Matching) ระหว่างความต้องการเทคโนโลยีของผู้ผลิต (Demand) กับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม(Supply) ที่มีอยู่ให้เหมาะสมกัน เพื่อจัดทำเป็นแผนการดำเนินงาน ( ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน ) และช่วงสุดท้าย จะเป็นขั้นตอนการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้าไปปรับใช้ในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมตามความต้องการที่แท้จริง(Mapping) ต่อไป ( ระยะเวลาประมาณ 10-12 เดือน )
รศ.ดร.สมชาย กล่าวว่า “ ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการนี้ สามารถมองได้ 2 มิติ คือ หนึ่ง ภาคอุตสาหกรรม จะได้รับการพัฒนาและสร้างความเข้งแข็งในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรเป้าหมายให้สามารถแข่งขันได้ในตลาด พร้อมทั้งได้ ‘ ฐานข้อมูลและแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ’ และสอง มีการเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆ เพื่อร่วมวางแผนในการทำงานร่วมกันที่จะเชื่อมระหว่างงานวิจัยกับตลาดและสามารถให้บริการและช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมได้อย่างครบวงจรมากยิ่งขึ้น ซึ่งแผนที่ได้นี้จะเป็นแนวทางในพัฒนาธุรกิจของอุตสาหกรรมในอนาคต”
นายวรรณภพ กล่อมเกลี้ยง ผู้จัดการเครือข่าย iTAP (มจธ.) กล่าวถึงการเข้าร่วมครั้งนี้ว่า มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความสามารถและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมมะม่วงและมะพร้าวในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก โดยผลสำรวจความต้องการของเกษตรกรเบื้องต้นพบว่า ผู้ปลูกมะม่วงส่วนใหญ่มีความต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงานคน โดยเฉพาะเครื่องคัดขนาดมะม่วง เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และได้ขนาดที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น
ทั้งนี้ จากข้อมูลที่สำรวจยังพบว่า มะม่วง และมะพร้าว เป็นพืชเศรษฐกิจของไทยที่มีมูลค่าการส่งออกสูงและมีผู้เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก เฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงใน 3 พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ มีจำนวนกว่า 1,000 ราย มีผู้เกี่ยวข้องที่เป็นโรงงานแปรรูป 300 ราย และผู้ส่งออกอีกกว่า 500 ราย มีปริมาณผลผลิตรวมประมาณ 1.-1.9 ล้านตันต่อปี โดยในปี2549 มีปริมาณการส่งออก 23,600 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 690 ล้านบาท ขณะที่ทุกส่วนของผลิตภัณฑ์มะพร้าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้มากมายและยังสามารถผลิตเป็นน้ำมันมะพร้าวได้อีก โดยปริมาณผลผลิตมะพร้าวของไทยเมื่อเทียบกับตลาดโลกตั้งแต่ปี 2542 — 2547 พบว่า ประเทศไทยมีผลผลิตมะพร้าวผลเป็นอันดับที่ 6 ของโลก หรือประมาณ 1.38 — 1.45 ล้านตันต่อปี โดยในปี 2547 มีปริมาณการส่งออกกว่า 22.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกกว่า 160 ล้านบาท

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ